Comprehensive geriatric assessment
แนะนำให้ทำประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม
โดยเฉพาะในคนที่อายุมาก (> 85 ปี)
มาด้วยปัญหาทางกาย (เช่น สะโพกหัก)
ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน
ยกเว้นในคนที่อาจไม่ได้ประโยชน์แล้ว เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้าย สมองเสื่อมรุนแรง
หรือ คนที่สูงอายุที่ไม่มีโรคเรื้อรังและยังสามารถทำกิจกรรมที่ซับซ้อนได้
สิ่งที่ควรได้รับการประเมิน ได้แก่
·
Functional capacity ประเมิน
o BADL คือ
การดูแลตัวเองได้ (เช่น ลุกจากที่นอน อาบน้ำ แต่งตัว กินข้าว
เข้าห้องน้ำ เดินในบ้าน ขึ้นบันได กลั้นปัสสาวะ กลั้นอุจจาระ)
o IADL คือ
สามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ (ขึ้นรถโดยสาร ซื้อของจ่ายตลาด
ใช้โทรศัพท์ ทำงานบ้าน เตรียมอาหาร ซักรีดผ้า กินยา)
o Gait speed ช่วยบอกถึง
frailty และอาจบอกว่ารายไหนไม่มีประโยชน์ในการรักษา เช่น HT
ในคนสูงอายุที่เดินได้ช้า (< 0.8 เมตรต่อวินาที
ในการเดิน 6 เมตร)
·
Fall risk (ดูเรื่อง falls in older persons)
·
Cognition (ดูเรื่อง cognitive impairment and
dementia)
·
Mood (ดูเรื่อง late-life unipolar
depression)
·
Polypharmacy (ดูเรื่อง drug prescribing for older
adults)
·
Nutrition/weight change
·
Urinary incontinence
·
Vision/hearing
·
Dentition
·
Living situation
·
Social support การประเมินจะช่วยบอกล่วงหน้าว่าเมื่อป่วยจะมีคนคอยช่วยหรือไม่
สุดท้ายจะสามารถอยู่บ้านได้หรือต้องไปอยู่ศูนย์ดูแล
รวมถึงประเมินคนดูแลว่ามีปัญหาเครียด ซึมเศร้าด้วยหรือไม่ และการประเมินเรื่อง abuse
เมื่อสงสัย (ดูเรื่อง elderly abuse)
·
Financial concerns ประเมินด้านการเงิน
อาจได้สิทธิบางอย่างจากรัฐ ประกัน
·
Goals of care คุยถึงเป้าหมายในปัจจุบัน เช่น
การกลับมามีสุขภาพเทียบเท่ากับก่อนป่วย การที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
สามารถกลับไปอยู่บ้านได้ การกลับเข้าสังคมได้ อาจแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น
และระยะยาว
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายเรื่องอาการเหนื่อย อ่อนแรง
· Spirituality
·
Advance care preferences คุยในกรณีในอนาคตที่สุขภาพแย่ลง เมื่อการรับรู้ลดลงจนไม่สามารถตัดสินใจเองได้
ได้แก่ ให้ใครเป็นผู้แทน (health care proxy) อาจใช้แบบฟอร์มมาช่วยในการตัดสินใจ
ได้แก่ the Physician Orders for
Life Sustaining Treatment (POLST), ดูตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนาของไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น