Falls in older persons
อุบัติการณ์
คนสูงอายุล้มถึง 30-50% ในแต่ละปี
และมีโอกาสบาดเจ็บรุนแรงได้ 5-10%
การล้มเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สมองเสื่อม
ทรงตัวได้ไม่ดี ขาไม่มีแรง ข้ออักเสบ ความดันต่ำตอนเปลี่ยนท่า ซีด เป็นต้น แต่
ปัจจัยที่แก้ไขได้ทันที คือ เรื่องยา
โดยเฉพาะยากลุ่ม BZD, antidepressant, anticholinergic แต่ narcotic และยา anti-HT ไม่เพิ่มความเสี่ยง
แนะนำให้ถามผู้สูงอายุว่ามีการล้มหรือไม่ หรือมีปัญหาในการทรงตัวหรือเดินหรือไม่
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และถ้ามีให้ประเมินต่อ
การประเมิน
- วัด postural V/S, visual acuity, hearing (whisper test หรือ hand-held audiometer)
- ตรวจ musculoskeletal function ได้แก่
- Performance Oriented Mobility Assessment tool (POMA, Tinetti Assessment Tool)
- ‘Get Up and Go’ โดยเทียบกับเวลาอ้างอิงในแต่ละช่วงอายุ
- Functional reach test
- แนะนำตรวจ CBC, BUN, Cr, glucose,
vitamin D
- ส่วนการตรวจอื่นๆขึ้นกับประวัติที่ได้ เช่น Holter monitoring,
echocardiograms, imaging
การป้องกัน
- พิจารณาหยุดยาที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการล้ม
- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 ชม.ต่อสัปดาห์ ฝึกการทรงตัวและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ
เช่น ไทชี่
- Vitamin D 800-1000 IU/d ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการล้ม
หรือมีความเสี่ยง vitamin D ต่ำ (จากประวัติอาหาร
การโดนแดด ปัญหารการดูดซึม)
- รักษาการมองเห็น ช่วงแรกอาจเพิ่มโอกาสล้มเพราะยังปรับตัวไม่ได้ แนะนำเป็น
multifocal
glasses ตอนเดินออกกำลัง
- ปรับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ราวบันได ราวจับในห้องน้ำ แสงสว่าง พื้นกันลื่น
- รักษาโรคร่วม เช่น carotid sinus hypersensitivity, cataracts,
malnutrition, postural hypotension, disabling foot pain, osteoporosis
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า walker จะช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดีขึ้น
แต่ในบางการศึกษาพบว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงในการล้ม
- สายรัดสะโพก (Hip protector) ในรายที่เสี่ยงต่อการล้มสูงมากและยินดีที่จะใส่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น