วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Alzheimer disease

Alzheimer disease

พบอุบัติการณ์หลังอายุ 65 ปี (ถ้าเป็นก่อน 65 มักเป็น familial)

อาการ

  • Cognitive deficits ระยะแรกจะมี ความจำระยะสั้นเสื่อม เสียความสามารถในการบริหารจัดการ การรับรู้ทิศทาง ต่อมาจะเสียด้านภาษาและพฤติกรรม
  • Neuropsychiatric symptoms มักเป็นระยะกลางและท้าย เช่น ก้าวร้าว หงุดหงิด โกรธง่าย หูแว่ว ภาพหลอน หวาดระแวง เดินเตร็ดเตร่ ซึมเศร้า เฉยเมย
  • Other neurologic deficits เช่น apraxia, olfactory dysfunction, sleep disturbances, pyramidal/extrapyramidal motor signs, myoclonus, seizure
  • Atypical presentations (มักพบในคนที่เป็นก่อนอายุ 65 ปี) ได้แก่ visual variant (posterior cortical atrophy), progressive aphasia, progressive executive dysfunction

การประเมิน

  • ตรวจ MMSE และทำ neuropsychologic testing และทำ MRI brain (hippocampal atrophy หรือ medial temporal lobe atrophy)
  • Lab test ตรวจคัดกรอง serum vitamin B12 level, CBC, TSH, +/- VDRL/RPR, anti-HIV (เฉพาะในรายที่มีประวัติเสี่ยง)

 วินิจฉัยแยกประเภท

  • Alzheimer’s disease 
  • Frontotemporal dementia 
    • Behavioral variant FTD มีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป ได้แก่ disinhibition (จับ/จูบคนที่ไม่รู้จัก ลักขโมย พูดเรื่องตลก/เรื่องเพศในที่สาธารณะ ตด/ฉี่ในที่สาธารณะ), apathy/loss of empathy, compulsive (พูดซ้ำๆ ทำซ้ำๆ), hyperorality (กินคาร์โบไฮเดรตหรือของหวานมากผิดปกติ กินของที่ไม่ใช่อาหาร)
    • Primary progressive aphasia แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ได้แก่ nonfluent variant PPA (พูดออกมายาก), semantic PPA (พูดคล่อง แต่ไม่รู้เรื่อง), logopenic variant PPA (พูดช้า นึกคำพูดยาก)
    • Motor syndrome
  • Dementia with Lewy bodies มี fluctuating ของ attention และ concentration เห็นภาพหลอน (visual hallucination) และมีการเคลื่อนไหวแบบ parkinsonism ร่วมกับมีปัญหาด้านความจำภายใน 1 ปี
  • Vascular dementia มีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนหลังเป็น stroke และมี cognition แย่ลงทันทีหรือมีอาการขึ้นๆลงๆหรือมีอาการแย่ลงแบบเป็นขั้นบันได ตรวจพบ focal neurological deficit,
  • Dementia in Parkinson's disease

การรักษา

Cognitive function

  • Cholinesterase inhibitors เป็นยารักษาตามอาการ ไม่เปลี่ยนการดำเนินโรค ทดลองใช้ใน dementia ที่มีความรุนแรงน้อย-ปานกลาง (MMSE 10-26) ได้แก่ donepezil, galantamine, rivastigmine ซึ่งมักได้ผลดีปานกลาง ควรเปรียบเทียบกับผลข้างเคียงขอยา (cholinergic toxidrome ห้ามให้ใน bradycardia, conduction disease) ถ้าต้องการหยุดให้ค่อยๆลดขนาดลง 50% ใน 2-3 สัปดาห์
  • Memantine ใช้ใน dementia ที่มีอาการมาก (MMSE < 10) แนะนำให้กินตลอดเพราะเชื่อว่าเปลี่ยนการดำเนินโรคได้
  • Vitamin E 1000 IU BID อาจใช้เพื่อชะลอการดำเนินโรค แต่ได้ประโยชน์น้อย

Neuropsychiatric symptoms

  • หาสาเหตุกระตุ้นเช่นเดียวกับใน delirium
  • Agitation ให้มีกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้โมโห ไม่โต้แย้งแม้ว่าจะไม่ถูกต้อง สบตาในระดับเดียวกัน พูดช้าๆด้วยน้ำเสียงที่สงบ ไม่ชี้นิ้ว ดุ หรือ ขู่ ให้อาหารหรือทำกิจกรรมที่ชอบ เมื่อโกรธให้ปลอบใจว่าต้องการมาช่วย ไม่ถามผู้ป่วยว่าอะไรทำให้โกรธ วิธีอื่นๆที่ได้ผล เช่น aromatherapy (lemon balm, lavender oil), exercise therapy (30 min/d), music therapy, pet therapy, massage therapy, touch therapy
    • ในรายที่จำเป็นต้องให้ยา แนะนำ olanzapine หรือ quetiapine


  • Depression ใช้ยา SSRI แนะนำ citalopram หรือ sertraline
  • Apathy ให้ Cholinesterase inhibitors, ลองให้ antidepressant, หรือ low-dose methylphenidate
  • Sleep disturbance ดูเรื่อง circadian sleep-wake cycle disorders
  • Wandering มีคนดูแล ป้ายชื่อ และอาจมีระบบลงทะเบียนคนที่อาจหลงทาง

  การป้องกัน

  • การมีกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย มีงานอดิเรกฝึกความคิด (เช่น inductive reasoning) การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • รักษา HT ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อ AD และ VaD
  • กินอาหารเน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช
  • Vitamin E ในคนที่เริ่มเป็น AD ระยะแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น