วันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

Preventive care

Preventive care

สร้างภูมิ + คัดกรอง + ป้องกัน

สร้างภูมิ

 

คัดกรอง

เป้าหมายหลักในการคัดกรอง คือ สุขภาพใจ หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และ โรคติดเชื้อ

แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 3 ปีในคนอายุ < 49 ปี (ถ้าไม่มีโรคประจำตัว) และตรวจทุกปีในคนอายุ > 50 ปี

 

สุขภาพชีวิตและจิตใจ

  • Depression อาจทำการคัดกรองทุก 5 ปี หรือเพื่อความสะดวกอาจทำทุกปี คัดกรองด้วย 2 คำถาม หมออยากถามเรื่องความรู้สึกหน่อย ช่วงนี้ (> 2 สัปดาห์) อารมณ์ความรู้สึกเป็นยังไง 1) มีความรู้สึกหดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวังหรือเปล่า หรือ 2) รู้สึกเบื่อ ทำอะไรก็ไม่สนุกหรือเปล่า
  • Intimate partner violence แนะนำให้คัดกรองทุกครั้ง ปกติจะถามคำถามเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวกับผู้หญิงทุกคน เคยรู้สึกกลัวแฟนหรือเปล่า ในช่วงปีที่ผ่านมา เคยถูกแฟนทำร้าย ตี ชก เตะ ต่อยหรือไม่ เคยถูกแฟนทำให้อาย หรือยายามควบคุมว่าคุณทำอะไรได้บ้างไม่ได้บ้างหรือไม่ หรือ เคยถูกแฟนขู่จะทำร้ายหรือไม่

 

 

หัวใจและหลอดเลือด

  • Coronary heart disease อายุ > 20 ปี ประเมินความเสี่ยง (DM, HT, smoking, premature family ASCVD, CKD, obesity) และตรวจ lipid profile เป็น baseline และในคนอายุ 40-75 ปี ให้ประเมิน ASCVD risk ร่วมด้วย ทุก 3-5 ปี (ถ้า ASCVD < 7.5%) หรือถี่กว่านี้ และหยุดเมื่ออายุ > 75 ปี หรือมี ASCVD (+ equivalent)
    • Exercise stress test ในกลุ่มพิเศษ (นักกีฬา หรือ บางอาชีพ) หรือพิจารณาทำในคนที่มี ASCVD risk ระดับปานกลาง-สูง (10-year ASCVD risk > 7.5 – 20%) ที่ต้องการยืนยันว่าสามารถออกกำลังได้ ถ้า positive at low workload ให้ทำ invasive coronary angiography หรือถ้า positive at high workload ให้ทำ CT angiography
    • Coronary artery calcium ไม่ได้แนะนำทั่วไป อาจทำในคนที่ไม่มีอาการที่อายุ 40-70 ปี ที่มี 10-year ASCVD risk > 7.5 – 20%
  • LV dysfunction ในคนที่มี cardiac disease (เช่น MVD), มีปัจจัยเสี่ยง เช่น HIV, cardiotoxic exposure (เช่น anthracycline-based CMT), ตรวจร่างกายพบ HF, ECG - Q wave, LVH (cardiac injury); CXR – cardiomegaly (cardiac dysfunction)
  • Diabetes (อายุ 35-70 ปี + BMI > 25) หรือมี HT, DLP แนะนำตรวจ FBS, HbA1C และถ้า FBS < 100 (HbA1C < 5.7) ให้ตรวจซ้ำทุก 3 ปี ถ้า FBS 100-125 (A1C 5.7-6.4) ตรวจซ้ำทุก 1-2 ปี
  • HT อายุ > 18 ปี ทุก 3-5 ปี และอายุ > 40 ปี หรือมีความเสี่ยง (pre-HT, overweight) ทุก 1 ปี
  • Hyperlipidemia อายุ 17-21 ปีตรวจ non-fasting TC, HDL 1 ครั้ง ถ้าปกติให้ตรวจอีกครั้งที่อายุ 35 ปี (ผู้หญิง 45 ปี) แต่ยกเว้นมีความเสี่ยง (DM, HT, smoking, family history) ให้ตรวจที่อายุ 25 ปี ทุก 5 ปี หยุดตรวจเมื่ออายุ 65 ปี
  • Obesity
  • Physical activity
  • Aspirin ในคนที่ไม่มีข้อบ่งชี้อื่น อาจพิจารณาให้ aspirin 75-100 mg/d ในคนอายุ > 40 ปี (ไม่เกิน 70 ปี) ที่ไม่ได้รู้สึกไม่ชอบการกินยา กังวลเรื่อง ASCVD แต่ไม่กังวลเรื่อง bleeding และอาจมีส่วนช่วยป้องกัน colorectal cancer
  • ECG ไม่แนะนำ
  • AAA ในคนอายุ 65-75 ปีที่มีญาติสายตรงเคยผ่าตัด AAA หรือเสียชีวิตจาก AAA rupture และผู้ชายอายุ 65-75 ปีที่เคยสูบบุหรี่ แนะนำให้ทำ abdominal US หนึ่งครั้ง
  • Asymptomatic carotid stenosis ไม่แนะนำ
  • Asymptomatic intracranial aneurysms ในคนที่มีญาติสายตรง > 2 คนที่มี intracranial aneurysm ให้ทำ MRI/MRA ปีละครั้ง 3 ปี แล้วทำทุก 5 ปี แต่ยังไม่แนะนำให้ทำในคนที่มีความเสี่ยงจาก genetic syndrome (เช่น ADPKD, Ehlers-Danlos)
  • Lower extremity PAD ไม่แนะนำ
  • Inherited thrombophilia อาจตรวจในรายที่มีญาติสายตรงหลายคนมี thrombotic event ก่อนอายุ 50 ปี หรือก่อนให้ estrogen ในรายที่มีญาติสายตรงเป็น inherited thrombophilia

 

 

มะเร็ง

  • CA breast อายุ 50-74 ปี (หรือ > 75 ปี ถ้าอายุขัยคาดว่า > 10 ปี) หรือเริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปีก็ได้ถ้ากังวลและเข้าใจความเสี่ยงที่เป็นผลจาก false-positive แนะนำให้ทำ mammogram ทุก 1-2 ปี
    • กลุ่ม high risk จะมีความเสี่ยง > 20% คือ มีญาติหรือเคยเป็น ovarian, peritoneal, tubal, breast cancer หรือมี BRCA1/2 mutation หรือเคยทำ chest RT แนะนำให้ทำ MRI screening ร่วมด้วย (+/- genetic test, chemoprevention, prophylactic surgery)
  • CA cervix อายุ > 21 ปี ให้ทำ Pap ทุก 3 ปี เมื่ออายุ > 30 ปีอาจเปลี่ยนมาทำ Pap + HPV testing ทุก 5 ปี และเมื่ออายุ > 65 ปี ถ้าเคยตรวจปกติมาแล้วในช่วง 10 ปีไม่ต้องคัดกรองต่อ ถ้าไม่ ให้ตรวจ Pap + HPV ทุก 3 ปีจนอายุ 70-75 ปี
    • กลุ่ม high risk ได้แก่ HIV, immunosuppression, in utero exposure to DES ให้ดูในรายละเอียดเพิ่มเติม
    • ถ้าทำ hysterectomy + cervical removal ไปแล้วด้วยสาเหตุอื่นๆ ไม่ต้องทำการคัดกรอง
  • CA ovary ไม่แนะนำคัดกรอง ยกเว้นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็น hereditary cancer syndrome (เช่น BRCA 1/2, Lynch syndrome) ให้ส่งตัวไปทำ genetic counselling และอาจทำ genetic testing
  • CA colorectum อายุ 45-75 ปี (ไม่เกิน 85 ปี) ทำ colonoscopy ทุก 10 ปี หรือทำ FIT ทุก 1-3 ปี หรือ CT colonoscopy ทุก 5 ปี
    • กลุ่ม high risk ได้แก่ มีประวัติครอบครัว เป็น familial adenomatous polyposis, Lynch syndrome, Peutz-Jeghers syndrome, IBD ให้ดูในรายละเอียดเพิ่มเติม
  • CA lung อายุ 50-80 ปี + สูบบุหรี่ > 20 pack-year (รวมถึงรายที่หยุดมา < 15 ปี) ให้ทำ low-dose helical CT ปีละครั้ง
  • CA prostate อายุ 50-70 ปี (ใน hereditary cancer syndrome เริ่มทำอายุ > 40 ปี) พิจารณาตรวจ PSA ทุก 1-2 ปี เฉพาะในรายที่ต้องการตรวจ หลังจากคุยประโยชน์และโทษในการตรวจ (เช่น false-positive แล้วนำไปสู่การ biopsy ที่อาจมีผลแทรกซ้อนทำให้เกิด incontinence, หรือ erectile dysfunction)
    • ถ้า PSA > 7 หรือ PSA > 4 หลังจากตรวจซ้ำในอีก 6-8 สัปดาห์ หรือ ใช้ alpha reductase inhibitor อยู่แล้ว PSA เพิ่มขึ้น > 0.5 ให้ส่งตัวพบ urologist
  • Melanoma ในรายที่มีความเสี่ยง คือ ผิวขาวอายุ > 50 ปี, มี nevus > 50 ตำแหน่ง, ประวัติครอบครัวหรือเคยเป็น melanoma, immunosuppression, หรือกลุ่ม very sun-sensitive (ผิวขาว ผมแดง ตาสีอ่อน) ให้ตรวจผิวหนังทั้งตัว
  • HCC ในรายที่มีความเสี่ยง คือ chronic HBV + (ที่มีประวัติครอบครัวเป็น HCC หรือ ผู้ชาย > 40 ปี (ผู้หญิง > 50 ปี)) หรือ active hepatitis B + high VL (> 20,000 IU/mL) หรือ cirrhosis ให้ทำ abdominal US ทุก 6 เดือน
    • ถ้าพบ lesion > 1 cm ให้ทำ CT with contrast
  • Cholangiocarcinoma ชายอีสานโดยกำเนิดอายุ > 40 ปี + (ญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับให้ทำ abdominal US ทุก 6 เดือน หรือ มีอาการอืดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย และรักษาด้วยยาลดกรด 1 เดือนแล้วไม่ดีขึ้น ควรทำ abdominal US 1 ครั้ง)

 

โรคติดเชื้อ

  • STI แนะนำตรวจ HCV Ab, HIV Ab อย่างน้อย 1 ครั้ง ถ้า HCV Ab positive ให้ตรวจยืนยันด้วย HCV RNA
    • ใน high risk เช่น ผู้หญิง < 25 ปี ให้ตรวจ genital chlamydia, genital gonorrhea ทุกปี +/- syphilis, trichomoniasis, HBV เพิ่มเติม
  • Tuberculosis (Thai 2018) กลุ่มเสี่ยง (เช่น HIV, DM, immunocompromised, COPD, silicosis, CKD, stomach/bowel surgery, malnutrition, alcoholism, contact TB/Hx TB, old age, prisoners, HCW เป็นต้นให้ทำ CXR อาจทำครั้งเดียวถ้าไม่มีความเสี่ยงต่อเนื่องในอนาคต

 

 

อื่นๆ

  • Iron deficiency anemia ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ประจำเดือนมามาก หรือ ก่อนตั้งครรภ์ ให้ตรวจ CBC +/- iron studies ปีละครั้ง
  • Hypothyroidism ในรายที่มีอาการ หรือ lab ผิดปกติ (hyperlipidemia, hyponatremia, high CPK, macrocytic anemia, pericardial/pleural effusion) หรือมีความเสี่ยง (thyroid injury จาก RT, surgery, radioiodine; autoimmune, pituitary/hypothalamic disease) ให้ตรวจ TSH
  • Vitamin D deficiency ไม่แนะนำทั่วไป ยกเว้น high risk (เช่น ไม่โดนแดด, obesity, osteoporosis, malabsorption) ให้ตรวจ 25(OH)D
  • Open-angle glaucoma แนะนำให้ทำ comprehensive eye examination (fundus, IOP, VF) ในคนอายุ > 40 ปี
  • Osteoporosis ผู้หญิง > 65 ปี และ post-menopausal หรือผู้ชายที่มีความเสี่ยง ให้ตรวจ BMD
  • Smoking แนะนำถามคัดกรอง ดูเรื่อง smoking screening andtreatment
  • Unhealthy alcohol use แนะนำถามคัดกรอง ดื่มแอลกอฮอล์มั้ยครับ ใน 1 ปีที่ผ่านมาเคยดื่มหนักซักกี่ครั้ง (> 5 drink ในผู้ชาย หรือ > 4 drink ในผุ้หญิง) หรือประเมินด้วย AUDIT
  • Folic acid เพื่อป้องกัน neural tube defect ในผู้หญิงที่วางแผนหรืออาจตั้งครรภ์
  • Falling in older persons แนะนำให้ถามผู้สูงอายุว่ามีการล้มหรือไม่ หรือมีปัญหาในการทรงตัวหรือเดินหรือไม่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และถ้ามีให้ประเมินต่อ ดูเรื่อง falling in older persons

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น