Smoking: screening and treatment
Cigarette smoking เพิ่มความเสี่ยงต่อ atherosclerotic
CVD แต่ใน non-cigarette smoking (cigar,
pipe, smokeless tobacco, secondhand smoke) ผลการศึกษายังขัดแย้งกัน
แต่โดยรวมแล้วแนวโน้มปลอดภัยกว่าบุหรี่ รวมถึง electronic cigarettes
ความเสี่ยงต่อ CVD เริ่มลดลงหลังหยุดสูบ
2-3 ปี และลดลงจนเท่ากับคนที่ไม่เคยสูบใน 10-15 ปี
การรักษา อาจสรุปเป็นขั้นๆ
คือ ‘ถาม’ ‘แนะนำ’ ‘ประเมิน’ ‘ช่วยเหลือ’ ‘ติดตาม’
- ‘ถาม’ ว่าสูบไหม กี่ชนิด
วันละกี่มวน ตื่นต้องสูบเลยหรือไม่ ถ้าสูบเกิน 15 มวนและสูบภายใน
30 นาทีหลังตื่นเป็นกลุ่มที่เลิกยาก
- ‘แนะนำ’ ให้เลิก พบว่าถ้าบอกเรื่อง
‘อายุปอด’ (วัด FEV1)
เทียบกับค่าเฉลี่ย จะมีแนวโน้มที่จะเลิกสูบมากกว่า
- ‘ประเมิน’ ว่าพร้อมไหมที่จะเลิก
- ‘ช่วยเหลือ’ กำหนดวันหยุดสูบภายใน
2-4 สัปดาห์ แนะนำว่าจะเกิดอาการ nicotine withdrawal
มากสุดใน 3 วันหลังหยุดสูบ และหายไปใน 3-4
สัปดาห์ (ได้แก่ อาการอยากอาหาร น้ำหนักขึ้น
อารมณ์ไม่ดี ซึมเศร้า นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ)
- รักษาโดยให้ varenicline, bupropion, หรือ nicotine replacement therapy (nicotine patch + nicotine
gum/lozenges) นานอย่างน้อย 3 เดือน
- ให้คำปรึกษา หรือลงทะเบียนศูนย์บริการเลิกบุหรี่เพื่อโทรติดตาม
ให้กำลังใจ (สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600)
- ‘ติดตาม’ อาการ 1-2 สัปดาห์ เพื่อดูผลข้างเคียงยา และให้กำลังใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น