วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567

Peritonsillar abscess

Peritonsillar abscess

คือ การติดเชื้อที่ peritonsillar space ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อหลวมๆที่อยู่บนทอนซิล โดย abscess มักเกิดตรง superior pole ของ tonsil และมักจะมี tonsillitis หรือ pharyngitis นำมาก่อน แต่บางครั้งเกิดจากการอุดตันของต่อมน้ำลาย (Weber glands) การติดเชื้อสามารถลามไปบริเวณข้างเคียง ได้แก่ masseter และ pterygoid muscle และ carotid sheath

 

เชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ Streptococcus pyogenes (GAS), Streptococcus anginosus, Staphylococcus aureus, และ respiratory anaerobes

 

อาการ มาด้วยเจ็บคอรุนแรง มักจะเป็นข้างเดียว มีไข้ เสียงอู้อี้ อาจจะมีน้ำลายสอ พบ trismus ได้ประมาณ 2 ใน 3 และมักจะมีคอบวมเจ็บ และอาจจะมีปวดหูข้างเดียว

ตรวจร่างกาย

  • Peritonsillar abscess พบ extremely swollen + fluctuant tonsil with uvula deviation หรือพบ bulging of the posterior soft palate ใกล้กับ tonsil; bilateral PTA พบได้น้อย อาจจะมีอาการกลืนเจ็บ อ้าปากไม่ได้ ตรวจพบ uvula displaced anteriorly
  • Peritonsillar cellulitis จะไม่มี uvula deviation และไม่มี trismus

Lab: CBC, electrolytes, rapid antigen test for GAS; abscess for G/S, C/S, susceptibility test แต่ไม่จำเป็นในคนไข้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Imaging ตรวจ intraoral US หรือ submandibular US ในรายที่แยก PTA กับ cellulitis ไม่ได้ หรือทำ CT with contrast กรณีสงสัย deep neck infection อื่นๆ หรือภาวะแทรกซ้อน

 

การวินิจฉัย จากการตรวจร่างกาย และอาจใช้ imaging ช่วย แต่บางครั้งยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนอาจจะต้องลองให้ antibiotic 24 ชม. ชั่วโมง ถ้าอาการไข้, เจ็บคอ, trismus, หรือ tonsillar bulge ดีอย่างน้อย 1 อย่างจะเป็นแค่ cellulitis

 

วินิจฉัยแยกโรค เช่น epiglottitis (UAO, respiratory distress), retropharyngeal abscess (neck stiffness, worse on neck extension), parapharyngeal space abscess (bulging หลัง posterior tonsillar pillar), severe tonsillopharyngitis (มักไม่มี severe trismus)

 

การรักษา

ถ้ามี airway compromise หรือ respiratory distress ให้ emergency consult ENT และไป OR เพื่อใส่ ETT ตามด้วย drainage

  • PTA ที่ abscess < 1 cm มักจะมีอาการน้อย ไม่จำเป็นต้อง drainage สามารถให้ single dose IV ATB และรักษาแบบ OPD case และนัด F/U 24-36 ชม.
  • PTA ที่ abscess > 1 cm มักจะดูป่วยและมี trismus รุนแรง ควรให้ยาแก้ปวด (IV NSAID), IVF rehydration, abscess drainage (US guide), และ IV ATB อย่างน้อย 1 dose อาจรักษาเป็น OPD case ถ้าหลัง drainage แล้วกินได้ ยกเว้นในรายที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ tonsillectomy ให้ consult ENT

 

ATB

  • IV ATB
    • อาการไม่รุนแรงให้ ampicillin-sulbactam 3 g (50 mg/kg) IV q 6 h หรือ (linezolid 600 mg (10 mg/kg) IV q 12 h + metronidazole 500 mg (10 mg/kg) IV q 8 h); **ไม่แนะนำให้ clindamycin เพราะเสี่ยงต่อ C. difficile และอาจไม่ไวต่อ MRSA และ GAS)
    • อาการรุนแรงให้ cover MRSA คือ ampicillin-sulbactam + (vancomycin หรือ linezolid)
    • ไม่ตอบสนองต่อ ampicillin-sulbactam ให้ (vancomycin หรือ linezolid) + metronidazole
  • PO ATB แนะนำ amoxicillin-clavulanate 1 g PO BID หรือ linezolid 600 mg PO BID (ถ้าสงสัย MRSA) ให้ยารวมนาน 14 วัน
  • MRSA coverage ในรายที่อาการรุนแรง สงสัย colonization (prior admit, comorbidity, recent board-spectrum ATB, frequent skin abscess, nose swab result)
  • ไม่แนะนำ dexamethasone เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น