สาเหตุ
- GI loss
ในแต่ละวันมีน้ำ 3-6
ลิตรหลั่งออกมาในทางเดินอาหาร
ถ้ามีปัญหาเรื่องการดูดซึมกลับหรือปัญหาเกิดการหลั่งมากขึ้นกว่าปกติก็ทำให้เสียน้ำได้มาก
หรือจากเลือดออกในทางเดินอาหาร
- Renal loss
ในแต่ละวันมีน้ำ > 100 ลิตรกรองผ่านไต
ถ้ามีปัญหาเรื่องการดูดซึมน้ำกลับ แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เสียน้ำได้เป็นปริมาณมาก
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ diuretic และ osmotic
diuresis (glycosuria) อีกกลุ่มหนึ่ง คือ มีปัญหาเรื่องการดูดโซเดียมกลับ
เช่น salt-wasting nephropathy
- Skin loss
สามารถเสียน้ำทางเหงื่อได้มากถึง 1-2
ลิตรต่อชั่วโมง หรือมีปัญหาเรื่อง skin barrier เช่น burn
หรือ ในแผลเบิร์นหรือ exudative skin lesions
- Third space loss
เช่น hip fracture เสียน้ำได้ 1.5-2 ลิตร หรือ bowel obstruction, severe pancreatitis, crush injuries
เป็นต้น
อาการ
- จากการเสียน้ำ ได้แก่ อ่อนเพลีย หิวน้ำ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า
หรือ อาการจากที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่เพียงพอ เช่น ปวดท้อง แน่นหน้าอก สับสน
ปัสสาวะออกน้อย ในรายที่เสียน้ำมากกว่าโซเดียมจะมี hypovolemia โดยที่ลักษณะของ dehydration ไม่ชัดได้
- จากสาเหตุ เช่น อาเจียน ถ่ายเหลว ปัสสาวะมาก
- จากเกลือแร่ผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงจาก hypo/hyperkalemia, ปัสสาวะมากจาก severe hypokalemia, หายใจเร็วจาก acidosis,
สับสนจาก metabolic alkalosis, hypo/hypernatremia; ความรู้สึกอยากกินเกลือมากๆพบได้ใน primary adrenal insufficiency
การตรวจร่างกาย
- มีความไวและความจำเพาะค่อนข้างน้อย
จะตรวจพบ ปากและลิ้นแห้ง รักแร้แห้ง ตรวจ skin turgor จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุและปริมาณ fat ซึ่งในคนทั่วไปอาจจะตรวจที่ต้นขา
น่อง หรือปลายแขน แต่ในคนอายุมากแนะนำให้ตรวจที่ด้านในของต้นขาหรือที่ผิวหนังตรงกลางอก
ซึ่งเป็นบริเวณที่ผิวหนังยังมีความยืดหยุ่นอยู่
- ตรวจ BP,
postural hypotension, และการดู JVP จะช่วยบอกได้
- คนสูงอายุลักษณะที่มีความจำเพาะสูงที่สุด
คือ น้ำหนักลดลง ส่วนการตรวจที่ไม่จำเพาะ ได้แก่ postural hypotension, ปากแห้ง ลิ้นแห้ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง สับสน พูดลำบาก หรือ sunken
eyeball
Lab: ตรวจ CBC, BUN, Cr,
electrolytes, albumin
- พบ BUN
: Cr > 20 : 1 และถ้าอาการรุนแรงจะพบจะมี Cr rising แต่ผลจะผิดพลาดได้ในบางกรณี เช่น มีการสร้าง
urea เพิ่มขึ้นจากการใช้สเตียรอยด์ หรือน้อยลงในคนที่กินโปรตีนน้อย
หรือค่า Cr ซึ่งสัมพันธ์กับมวลกล้ามเนื้อ หรือสัดส่วน BUN:Cr
เพิ่มขึ้นจากเลือดออกในทางเดินอาหาร
- พบ Hct
และ albumin เพิ่มขึ้นจากการเสียน้ำทำให้ concentration
เพิ่มขึ้น
การวินิจฉัย
การตรวจยืนยันภาวะ hypovolemia คือการที่มี low urine sodium concentration < 20 mEq/L แต่อาจจะเกิดจาก true volume depletion หรือ effective
arterial blood volume ลดลง เช่น heart failure, cirrhosis
with ascites, nephrotic syndrome ยกเว้นว่ามี
- Salt-wasting state (diuretic,
kidney disease), kidney ischemia (AGN, bilateral RAS), หรือ very
low-sodium diet)
- Urine concentration สูงๆ จาก urine ออกน้อย
- Metabolic alkalosis จาก vomit หรือ NG suction ร่างกายจะขับ
bicarbonate จาก urine ซึ่งไปพร้อมกับ Na
แต่จะตรวจพบ urine chloride < 20 mEq/L
การตรวจอื่นๆที่จำเพาะน้อยกว่า เช่น FENa
< 1% (ถ้า GFR ลดลง) หรือ
< 0.1% (ถ้า GFR ปกติ), urine osmolality > 450 mosmol/kg, urine sp.gr > 1.015, UA
normal (ตรวจในรายที่ BUN, Cr ผิดปกติ เพื่อแยกจาก
kidney disease ที่จะมี protein, cells, casts), CVP
(บอก Rt atrial pressure แต่ไม่ได้บอก LVEDP
เช่น Lt-side HF อาจพบ CVP ปกติ ในขณะที่ Rt-side HF พบ CVP สูงแต่เป็น hypovolemia), US ดู IVC collapsibility (เชื่อถือไม่ได้)
การวินิจฉัยกรณีมีโรคร่วม
- Heart failure
พบ high BUN/Cr ratio และ low urine Na
concentration ได้ แต่มักตรวจร่างกายแยกจาก hypovolemia ได้ง่าย ในกรณีที่รักษาด้วย diuretic แล้ว BUN
เพิ่มขึ้น อาจแยกยากว่ามี hypovolemia หรือไม่
อาจทดลองให้ NSS infusion หรือใส่ pulmonary artery catheter
- Cirrhosis
ที่มี true volume depletion อาจมี peripheral
edema และพบ low urine Na concentration จาก renal
vasoconstriction อาจนำไปสู่ hepatorenal syndrome
- Kidney disease
ที่มี hypovolemia อาจพบ urine Na >
20 mEq/L และ urine osmolality < 350 mosmol/kg อาจต้องวินิจฉัยจากประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจทดลองให้ NSS
infusion
- Nephrotic syndrome
จะบอกยากว่ามี hypovolemia หรือไม่ มักพบ underfill
edema ในรายที่ GFR > 75% + (minimal change หรือ albumin < 1 g/dL)
- Older adult
ที่มี hypovolemia จะพบว่า น้ำหนักลด หรือมี hypernatremia
และอาจพบ BUN/Cr ratio เพิ่มขึ้น, low
urine Na concentration
การรักษา นอกจากรักษาสาเหตุ
การเลือกชนิดของสารน้ำ ขึ้นกับสาเหตุ เช่น hemorrhagic shock ให้ PRC
โดยที่ให้ NSS IV ระหว่างรอ PRC; ส่วน non-hemorrhagic shock แนะนำ crystalloid
solution เป็นทางเลือกแรก
- การเลือกชนิดของ crystalloid ระหว่าง NSS และ buffered
crystalloid (LRS) ให้พิจารณาจาก blood chemistries, ประมาณปริมาณของ fluid ที่จะต้องให้, และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ถ้ามี hypernatremia, hyperchloremic
acidosis หรือต้องให้ > 2 L ควรเลือกให้ LRS
แต่ถ้ามี hyponatremia, hyperkalemia, หรือ metabolic
alkalosis ควรเลือกให้ NSS
- Hypernatremia มีรายงานการเกิด cerebral edema ถ้าแก้
Na เร็วเกินไปในทารก แต่ไม่มีรายงานในผู้ใหญ่
เพราะฉะนั้นจึงยังไม่แน่ใจว่าควรแก้เร็วแค่ไหน ยกเว้นว่าถ้าประวัติเสียน้ำ <
48 ชม.ก็สามารถแก้ Na ได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนชนิดของสารน้ำสามารถดูการคิดในเรื่อง IVF ในเด็ก
- สามารถ add
K และ bicarbonate ได้ตาม chemistry เช่น
- Mild hypernatremia + mild hypokalemia + HCO3 10 mEq/L อาจให้ 5%DN/4 + KCl 20 mEq + sodium bicarbonate 25 mEq จะได้ cation รวม 83.5 mEq/L ใกล้เคียงกับ 0.45%NSS
- Metabolic acidosis without hypokalemia ให้ 5%DW + sodium bicarbonate 150 mEq จะได้ sodium concentration 130 mEq/L ใกล้เคียงกับ 0.9%NSS
- Add dextrose อาจมีประโยชน์ถ้ามี
hypoglycemia, alcohol/fasting ketoacidosis แต่เกิดโทษใน DM,
hypokalemia และการให้ต้องระวังไม่ให้เร็วกว่าความสามารถของร่างกายในการ
metabolize glucose (แม้ว่าจะให้ insulin max dose คู่ไปด้วย) คือ 4-5 mg/kg/min หรือเท่ากับ
5%dextrose 5.6-7 mL/min ในคนน้ำหนัก 70 กก.
- Colloid
อาจมีเหตุผลให้ใช้ในทางทฤษฎี แต่หลักฐานในทางปฏิบัติไม่พบว่ามีประโยชน์
เช่น ให้ 25% albumin ใน cirrhosis ที่
total body volume overload แต่ intravascular volume
depletion
ปริมาณสารน้ำ นอกจากน้ำหนักที่ลดลง
การตรวจร่างกายและผล lab ไม่สามารถประเมินได้ชัดเจน
ให้ใช้การตรวจติดตาม urine Na ถ้ายัง < 15 mEq/L จะแสดงว่ายังมี volume depletion อยู่
ความเร็วในการให้สารน้ำ ขึ้นกับสาเหตุ ความรุนแรง อัตราเร็วของการเสียน้ำ และความผิดปกติของ electrolytes
แต่ไม่มีคำแนะนำชัดเจนว่าควรเป็นเท่าใด อาจใช้คำแนะนำตาม sepsis
คือให้ 30 mL/kg ใน 3 ชม.แรก แต่ในรายที่เป็นแค่ mild-moderate hypovolemia อาจให้สารน้ำแค่มากกว่าอัตราเร็วในการเสียน้ำ
(maintenance rate + ongoing loss) หรือประมาณ 50-100
mL/h + ongoing loss
ติดตามอาการ ดู HR,
BP, urine output, skin turgor, mucus membrane, mental status แต่ไม่มีเป้าหมายแนะนำชัดเจน
อาจใช้คำแนะนำตาม sepsis คือ MAP 65-70 mmHg, urine
output > 0.5 mL/kg/h และอาจตรวจ F/U lab
chemistries, lactate ภายใน 6 ชม.และ urine Na ภายใน 24 ชม.
Maintenance fluid therapy
ให้ในรายที่ไม่สามารถกลับมากินได้เป็นปกติ (ถ้า > 1 สัปดาห์ควรให้ parenteral/enteral
nutrition แทน) การประเมินภาวะน้ำดีที่สุด คือ
การชั่งน้ำหนักวันละครั้ง และทำการตรวจร่างกาย (edema, skin turgor)
ความต้องการพื้นฐาน
- Water
ปริมาณน้ำในคนที่นอนรพ.ต้องการ < 1
L ต่อวัน โดยมีปัจจัยที่ต้องการเพิ่มขึ้น เช่น ไข้ (100-150
mL/d ต่อ 1oC ที่เพิ่มจาก 37oC),
หายใจเร็ว, ปัสสาวะมาก
และปัจจัยที่ต้องการลดลง เช่น oliguric kidney failure, humidified air,
edematous state, hypothyroidism, SIADH
- Electrolytes ถ้าต้องการ free water < 1 L/d เพราะฉะนั้นควรให้ 5%DN/2 2 L/d จะได้ Na 3.4 g หรือ NaCl 9 g (ใกล้เคียงกับอาหารในโรงพยาบาล) และได้ dextrose 400 Kcal ซึ่งเพียงพอต่อการยับยั้ง catabolism จะภายหลังให้ปรับชนิดของสารน้ำตามผล chemistry เช่น Na เพิ่มขึ้นก็เปลี่ยนเป็น 5%DN/4, Na ลดลงเปลี่ยนเป็น 5%DNSS, K ลดลงให้ add KCl เพิ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น