ประเมินความรุนแรง
วิธีที่ดีที่สุด คือ น้ำหนักที่ลดลง = ปริมาณ fluid loss วิธีรองมา คือ อาการ
ปริมาณปัสสาวะ V/S และการตรวจร่างกาย
ภาพจาก Up-To-Date |
อาการที่ช่วยประเมินได้ดี คือ capillary
refill, skin turgor, และ respiratory pattern
Lab ใน moderate-severe
dehydration ได้แก่ BUN, Cr, electrolytes, glucose; urine
Na, urine osmolarity หรือ sp.gr.
การรักษา
การให้สารน้ำทดแทนแบบเร่งด่วน
- ในรายที่ขาดน้ำรุนแรง (volume
depletion >10%) ให้ NSS 20 mL/kg IV bolus แล้วประเมินซ้ำ สามารถให้ซ้ำจนกว่า perfusion จะดีขึ้น
- ในรายที่ขาดน้ำปานกลาง (volume
depletion > 7%) และไม่สามารถกินได้ ให้ NSS 10 mL/kg IV
drip in 30-60 min แล้วประเมินซ้ำ
สามารถให้ซ้ำจนกว่าจะกลับไปกินเองได้
- สารน้ำแนะนำเป็น NSS
(0.9% saline) เลือกชนิดที่ไม่มี 5% dextrose
เพราะแม้ว่าการให้น้ำตาลจะทำให้ serum ketone ลดลง
แต่ก็ไม่ได้ทำให้ภาวะ metabolic acidosis หายเร็วขึ้น
การรักษาขั้นที่ต่อมา
ในเด็กที่สามารถกินได้ให้กิน ORS ทดแทนต่อ ให้ < 5 mL PO q 1-2 min จนได้ 50-100
mL/kg ใน 3-4 ชม. ส่วนในเด็กที่ยังไม่สามารถกินได้
จำเป็นต้องให้ IVF ต่อ โดยชนิดของน้ำเกลือขึ้นอยู่กับระดับ serum
Na
ถ้า Na ปกติ (130-150 mEq/L) ให้ทดแทนด้วย NSS อาจให้ 20-40 mL/kg IV ใน 2-4 ชม.และต่อด้วย NSS IV maintenance rate
ถ้า Na ต่ำไม่มาก (> 125 mEq/L) ซึ่งเกิดจากการทดแทนด้วยน้ำที่ไม่มีเกลือแร่ หรือจาก ADH ที่หลั่งผ่านการกระตุ้นจากภาวะขาดน้ำ ความเจ็บปวด ความเครียด หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การให้ NSS ก็สามารถทำให้ Na กลับมาเป็นปกติได้ เพราะ isotonic saline มี Na concentration 150 mEq/L ซึ่งสูงกว่าในเลือด และเมื่อแก้ภาวะขาดน้ำก็จะไปยับยั้งการหลั่ง ADH ทำให้ขับน้ำส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้ นอกจากนี้ถ้ามี hypokalemia การให้ K ทดแทนจะช่วยแก้ Na ได้เร็วขึ้น จากการทดแทน K ภายในเซลล์ ทำให้ Na โซเดียมภายในเซลล์ออกมานอกเซลล์ โดยให้ K 40 mEq/L ผสมใน NSS ซึ่งจะเริ่มให้ K เมื่อมีปัสสาวะและไตกลับมาทำงานดีขึ้น
ถ้าเกิดอาการจาก Na ต่ำ เช่น ซึมหรือชัก ต้องให้ 3% NaCl 3-5 mL/kg IV แล้วตรวจระดับ Na ซ้ำ สามารถให้ซ้ำได้ถ้ายังมีอาการชักอยู่ เป้าหมายให้ Na เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 mEq/L ต่อชม. แต่ไม่เกิน 5 mEq/L ในช่วง 3-4 ชม.แรก ภายหลังเมื่ออาการดีขึ้นให้แก้ Na ให้ช้าลงจำกัดไม่ให้ Na เพิ่ม > 12 mEq/L ใน 24 ชม. โดยตรวจ Na ซ้ำทุก 1 ชม.
คำนวณ ประมาณ 3%NaCl
1 mL/kg จะทำให้ Na เพิ่ม 1 mEq/L จากเงื่อนไขข้างต้น ถ้าชักอาจให้ 3%NaCl 4 mL/kg IV over 2 h then
rate 0.36 mL/kg/h
ถ้า Na สูง เกิดจากการเสียน้ำจากไข้ เหงื่อ ปัสสาวะ หรืออุจจาระเหลว
ที่มีความเข้มข้นของ Na และ K น้อยกว่าในเลือด
ในรายที่มี Na > 155 mEq/L การแก้เร็วเกินไปจะทำให้เกิดอาการชัก เป้าหมาย คือ ต้องแก้ <
0.5 mEq/L ต่อชม.และ < 12 mEq/L ต่อ 24 ชม.
คำนวณ
- คิดว่าต้องแก้ Na ในกี่ชม.
เช่น Na 150 mEq/L แก้ 0.5 mEq/L ต่อชม. ก็ต้องแก้ 10 ชม.
- คิดปริมาณสารน้ำทั้งหมดที่จะให้ทดแทนต่อชม.
= Total fluid deficit/จำนวนชม. + maintenance fluid rate +
ongoing loss rate โดย total fluid deficit = % dehydration
x BW หรือ คิดจากน้ำหนักที่ลดลง
- คิดปริมาณ free water ที่ต้องให้ต่อชม.
พบว่า free water 4 mL/kg จะลด Na ได้ 1 mEq/L เพราะฉะนั้นถ้าจะลด Na แค่ 0.5 mEq/L ต่อชม. จะเท่ากับ
free water ต่อชม. = 4 mL/kg x 0.5 = 2 mL/kg
- คิดชนิดของสารน้ำที่จะให้
ตัวอย่าง เด็กน้ำหนัก
10 กก. ไม่มี ongoing loss ประเมินมี 10% dehydration และ serum Na 156
mEq/L
- ต้องแก้ Na
ใน (156-140)/0.5 = 32 ชม.
- ปริมาณสารน้ำทั้งหมดที่จะให้ทดแทนต่อชม
= (10%x10)/32 + 40 + 0 = 1000 mL/32 + 40 = 71 mL/h
- ปริมาณ free
water ที่ต้องให้ต่อชม. = 2 mL/kg/h x 10 kg = 20 mL/h
- คิดชนิดของสารน้ำที่จะให้เป็นส่วนของ free water 20 mL/h และเป็น 0.9%saline = 71-20 = 51 mL/h
- ซึ่งถ้าเป็น NSS คือสัดส่วน free water/saline = 0:100 ถ้า NSS/2 คือ 50:50 ถ้า NSS/3 คือ 33:66 และถ้า NSS/4 คือ 25:75 เพราะฉะนั้นในรายนี้ต้องการ free water/saline = 20:51 จะได้ระหว่าง 0.9%NSS กับ 0.45%NSS
- หรือจะคำนวณคิดเทียบสัดส่วน Na ในสารน้ำออกมา [(0.9 x 51)+(0 x 20)]/71 = 0.64%
การให้ maintenance IVF ในเด็ก
องค์ประกอบของสารน้ำ ได้แก่ water,
electrolytes, dextrose
- Water
ปริมาณน้ำที่ต้องการต่อวันขึ้นกับ daily caloric expenditure
คิดดังนี้
- น้ำหนัก 3-10 kg ต้องการ 4
mL/kg/h หรือ 100 mL/kg/d
- ช่วงน้ำหนัก 11-20 kg ต้อง + 2 mL/kg/h หรือ 50 mL/kg/d
- ช่วงน้ำหนัก 21-80 kg ต้อง
+ 1 mL/kg/h หรือ 20 mL/kg/d
- เด็กน้ำหนัก < 3 kg มีวิธีคิดแยกต่างหาก
- Electrolytes
ได้แก่ Na และ chloride ต้องการ
2-3 mEq/100 water per day และ K ต้องการ
1-2 mEq/100 mL water per day
แต่ต้องปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามภาวะของโรค เช่น diarrhea/burn ต้องการเพิ่มขึ้น หรือ oliguric kidney failure ต้องการลดลง
- Dextrose มัก add 5-10% dextrose ในสารน้ำ
โดยเฉพาะในเด็กที่ต้องอดอาหารหรือกังวลเรื่อง hypoglycemia ซึ่งการที่
add dextrose ไม่ทำให้ tonicity ของสารน้ำเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
เพราะ dextrose อยู่ในหลอดเลือดแค่ช่วงสั้นๆ
ปัจจัยที่มีต่อการให้สารน้ำ
- ปัจจัยที่ต้องการน้ำมากขึ้น
เช่น preterm birth, burns, fever, GI loss, sweating, polyuria หรือลดลง เช่น mechanical ventilator, oliguria
- ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุล Na
ในร่างกาย
- SIADH ทำให้ขับ free water ได้น้อย เสี่ยงต่อ hyponatremia มักพบใน postoperative, immobilized, CNS, pulmonary disease, pain, stress, anxiety ควรเลือกสารน้ำชนิด isotonic solution
- Arginine vasopressin deficiency (central DI) จะขาด ADH ทำให้เกิด hypernatremia จาก hypovolemia พบได้ใน CNS tumor/injury, congenital brain abnormalities, genetic disease, anorexia nervosa
- Arginine vasopressin resistance (nephrogenic DI) มี ADH แต่ไตไม่ตอบสนอง จะมี polyuria และ hypernatremia พบใน genetic mutation
โดยสรุป maintenance fluid แนะนำให้
- Isotonic solution (NSS หรือ RLS) เพราะเด็กส่วนใหญ่จะมี SIADH ยกเว้น neonate หรือมี free water loss ปริมาณมาก เช่น DI, severe burns, severe watery diarrhea ที่มี hypernatremia ให้คำนวนประเภทของสารน้ำดังตัวอย่างด้านบน
- Potassium ถ้าต้อง
NPO เป็นเวลานาน และ kidney function ปกติ
ให้ add potassium 10 mEq/L ถ้าน้ำหนัก < 10 kg หรือ add 10-20 mEq/L ถ้าน้ำหนัก >
10 kg
- Dextrose แนะนำให้
add 5% dextrose หรือ 10% dextrose ถ้ามี
hypoglycemia หรือมีความเสี่ยง เช่น infant
- Rate ใน euvolemia ให้ maintenance rate ส่วน hypovolemia อาจต้องปรับชนิดของสารน้ำหรือเพิ่ม IV rate และถ้ามีภาวะ
hypervolemia ให้เป็น isotonic solution แต่ลด IV rate (fluid restriction)
การติดตามอาการ
ได้แก่ ตรวจ serum Na ซ้ำที่ 6-12 ชม.หลังจากเริ่มให้ IVF แล้วตรวจวันละครั้ง (ใน critical care อาจต้องตรวจบ่อย เช่น ทุก 4-6
ชม.), ประเมิน I:O โดยเฉพาะใน
critical care ต้องประเมินบ่อยๆ (3 ครั้งต่อวัน),
ชั่งน้ำหนักทุกวัน โดยเฉพาะช่วง 48 ชม.แรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น