วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567

Mycoplasma pneumoniae infection in adult

M. pneumoniae เป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ URI, acute bronchitis, และ CAP ที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่และเด็ก เป็นแบคทีเรียที่ไม่มีผนังเซลล์ ทำให้ย้อม Gram stain ไม่ติดและไม่ตอบสนองต่อ ATB ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง cell wall เช่น penicillin มีระยะฟักตัว 2-3 สัปดาห์ การติดเชื้อแพร่จากคนไปคนผ่านทางละอองฝอย การระบาดมักเกิดในคนที่อาศัยอยู่รวมกัน พบการติดเชื้อสูงถึง 90%

 

อาการ

·      หลังติดเชื้อจะพบการเป็นพาหะได้บ่อย อาจนานหลายสัปดาห์- หลายเดือน โดยเฉลี่ย 7 สัปดาห์

·      ส่วนใหญ่จะเป็น URI และ acute bronchitis อาการเด่นสุด คือ อาการไอ อาจเป็นรุนแรงและเป็นนาน แต่ไม่เหนื่อย โดยปกติจะหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องให้ ATB

·      Pneumonia อาการมักไม่รุนแรง ไม่เฉียบพลัน อาการที่พบบ่อย คือ ไอร่วมกับเจ็บหน้าอกหรือเหนื่อย ตรวจ CXR มักไม่เป็น lobar consolidation แต่ไม่มีลักษณะจำเพาะที่สามารถแยกจากเชื้ออื่นได้ อาจสงสัยเชื้อนี้จากลักษณะบางประการ เช่น อาการที่ไม่เฉียบพลัน มี URI หรือ อาการนอกระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย เช่น subclinical hemolysis, mild hepatic transaminitis หรือตรวจ WBC count ปกติ แต่ในคนส่วนใหญ่มักหายได้เองแม้ไม่ได้ให้ ATB แต่อาจป่วยรวมเวลาประมาณ 1 เดือน

 

อาการนอกระบบทางเดินหายใจ

·      Hemolysis พบได้ 60% มักไม่รุนแรง (Hb ลดลง ร่วมกับ indirected bilirubin, LDH, reticulocyte count เพิ่ม) ยกเว้นเป็น sickle cell disease

·      CNS พบ 0.1% ได้แก่ meningoencephalitis, acute disseminated encephalomyelitis (ADEM), transverse myelitis, cerebellar ataxia, GBS, cerebellar infraction, peripheral neuropathy, CN palsies กลุ่มนี้จะตรวจ CSF พบ lymphocyte เด่น protein สูง และ glucose ปกติ ถ้าเป็น direct bacterial invasion เช่น meningitis ให้ทำ PCR หรือ culture

·      Mucocutaneous disease พบได้ 17% ได้แก่ MP หรือ vesicular rash, urticaria, erythema multiforme, SJS, reactive infectious mucocutaneous eruption (RIME)

·      Cardiac พบน้อย ได้แก่ pericarditis, myocarditis, endocarditis, cardiac thrombi, conduction abnormalities, และมีความสัมพันธ์กับ atherosclerosis

·      อื่นๆได้ เช่น GI symptoms, elevated liver enzyme, arthritis/arthralgia

 

การวินิจฉัย การตรวจยืนยันที่แนะนำคือ การตรวจ PCR จาก respiratory specimen รองมาคือการตรวจ serology (IgM, IgG) ซึ่งจะตรวจเฉพาะในรายที่อาจเปลี่ยนแปลงการรักษา เช่น เพื่อเลือกชนิดของ ATB ที่จำเพาะ

·      มีการศึกษาพบว่า CRP : procalcitonin ratio ถ้าสูงจะช่วยทำนายว่าสาเหตุของ CAP เกิดจาก M. pneumoniae

 

การรักษา

·      Pneumonia ในช่วงที่ยังไม่ทราบผลตรวจ แนะนำให้ ATB ที่ครอบคลุม เช่น กรณี OPD case ให้ macrolide ร่วมกับ amoxicillin-clavulanate หรือ 3rd generation cephalosporin หรือให้ respiratory fluoroquinolone ตัวเดียว

o   Azithromycin 500 mg PO วันแรก ต่อด้วย 250 mg OD x 4 วัน

o   Macrolide resistance พบได้สูงในแถบเอเชีย (ในไทยพบ 24% โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้ ATB มาภายใน 3 เดือน) แนะนำให้ doxycycline 100 mg PO BID หรือ levofloxacin 500 mg OD หรือ moxifloxacin 400 mg OD x 5-7 วัน (หรือ 7-14 วัน ถ้าอาการหนัก)

·      URI ไม่ต้องให้ ATB

 

การป้องกัน

·      ทำ droplet precaution ในระหว่างที่ป่วย ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือ แอลกอฮอล์ ปิดปากเวลาไอหรือจาม

·      ถ้ามีการระบาดเกิดในสถานที่ที่คนอาศัยรวมกัน อาจให้ azithromycin กินป้องกัน ในกลุ่มเสี่ยง (เช่น lung transplant)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น