การรักษาและการป้องกันภาวะ Hyperkalemia ในผู้ใหญ่
ประเมินความเร่งด่วนในการรักษาจาก 1) อาการและอาการแสดง 2) ระดับภาวะโพแทสเซียม และ
3) สาเหตุ
กลุ่มภาวะเร่งด่วน คือ
คนที่มีอาการจากภาวะ hyperkalemia (เช่น muscle
weakness หรือ cardiac conduction abnormalities) หรือ K > 6.5 mEq/L หรือ K > 5.5 mEq/L
ร่วมกับไตวายหรือสาเหตุยังดำเนินต่อไป
·
IV Calcium เพื่อไปต้านฤทธิ์ของ potassium ให้ในรายที่มี
EKG ผิดปกติจาก hyperkalemia และบางครั้งมีการให้ในรายที่
K > 6.5 mEq/L แม้ว่า ECG จะปกติก็ตาม
o 10%
calcium gluconate 10 mL IV over 2-3 min (หรือ 10% calcium
chloride 5-10 mL via deep vein) ให้ซ้ำได้ทุก 5-10 นาที ถ้า ECG กลับมาผิดปกติอีก หลังจากนั้นให้ซ้ำทุก
30-60 นาที ถ้ายังมีภาวะ hyperkalemia emergency และไม่มีภาวะ hypercalcemia
o ในรายที่ใช้ digitalis ร่วมด้วย
สามารถให้ IV calcium ได้ แต่ต้องเจือจางและใหช้า แนะนำให้ 10%
calcium gluconate 10 mL + 5%DW 100 mL IV over 20-30 min ร่วมกับให้
digoxin-specific antibody fragment ถ้ามี digitalis
toxicity
·
IV insulin
เพื่อพา potassium เข้าสู่เซลล์ ออกฤทธิ์ภายใน
10-20 นาที อยู่ได้นาน 4-6 ชม. แนะนำให้ RI 10 unit IV + 50%glucose 50 mL (ถ้า serum
glucose < 250 mg/dL) สามารถลด serum K ได้
0.5-1.2 mEq/L และแนะนำให้ 10%Dextose 50-75 mL/h ต่อ ร่วมกับตรวจ blood glucose ทุก 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง
o ในรายที่การรักษาวิธีอื่นทำได้ล่าช้า สามารถให้ IV
insulin + glucose drip หรือให้ซ้ำทุก 2-4 ชม.
·
ขับ
potassium ออกจากร่างกาย
(มักไม่ทำในรายที่เกิดจาก potassium shift เช่น metabolic acidosis, insulin deficiency + hyperglycemia)
o Loop
diuretic ในรายที่ไม่มี severe
kidney impairment แนะนำให้ furosemide 40 mg IV q 12 h หรือ drip และให้ saline ร่วมด้วยในรายที่
euvolemia หรือ hypovolemia
o Hemodialysis
ในรายที่มี severe kidney
impairment แต่ถ้าทำไมได้ภายใน 6 ชม. ให้ GI cation exchange therapy ร่วมด้วย
o GI
cation exchange therapy แนะนำ sodium
zirconium cyclosilicate (SZC) 10 g TID x 48 ชม. รองมา คือ patiromer 8.4 g ออกฤทธิ์ภายใน 1 ชม. ลด K 0.37 mEq/L หลังให้ 4
ชม. [ไม่แนะนำให้ sodium solystyrene
sulfonate -SPS- เพราะพบผลข้างเคียงบ่อย เช่น bowel necrosis
ถึงแม้ว่าไม่มีการรักษาทางอื่นให้เลือก ก็อาจให้ insulin +
glucose ซ้ำๆหรือ drip ระหว่างรอ hemodialysis
หรือ bicarbonate + high-dose diuretic]
·
การรักษาอื่นๆ
o Beta-2
adrenergic agonist พา K เข้า
cell ให้ albuterol 10-20 mg (4-8 เท่าของขนาดปกติ)
in NSS 4 mL nebulizer over 10 min แต่ควรหลีกเลี่ยงใน CAD สามารถลด K ได้ 0.5-1.5 mEq/L และช่วยไปเสริมฤทธิ์ของ
insulin + glucose
o Bicarbonate
เฉพาะในรายที่มี metabolic acidosis และต้องให้เป็น
isotonic solution คือ 7.5%sodium bicarbonate 150 mL
in 5%DW 1 L IV over 2-4 h
·
การรักษาสาเหตุ เช่น แก้ภาวะขาดน้ำ
หยุดยาที่เป็นสาเหตุ เช่น NSAIDs, RAAS inhibitor
·
ทำ ECG
monitor ร่วมกับตรวจ K ซ้ำในอีก 1-2 ชั่วโมงหลังให้การรักษา ตรวจ glucose ทุก 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 5-6 ชั่วโมงในรายที่ให้อินซูลินรักษา
กลุ่มที่ต้องรักษาแต่ไม่เร่งด่วน คือ ไม่ต้องการ Ca, insulin และต้องการลด K ลงมาในเวลา 6-12 ชั่วโมง
·
ถ้ามีไตวายจะรักษาโดยการทำ hemodialysis
แต่ถ้าต้องรอทำ > 4 ชม.จะให้ GI cation exchanger ร่วมด้วย แต่ให้ระวังการเกิด
rebound ของ K หลัง hemodialysis
(ซึ่งปกติมีอยู่แล้ว) ในรายที่ได้ K
shift therapy ไปก่อน
·
ถ้าไม่มี severe
kidney impairment ให้ GI cation exchanger ร่วมกับรักษาสาเหตุ
กลุ่มไม่เร่งด่วน
·
ปรับอาหาร ในคนที่มีโรคไตเดิม อาจเกิด hyperkalemia ถ้ากินอาหารที่มี K มากๆ หรือ อาจกินไม่มาก
แต่มีปัจจัยอื่นมาเสริม เช่น hypoaldosteronism หรือ RAAS
inhibitor กลุ่มนี้ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มี K สูง
(เช่น มะเดื่อแห้ง กากน้ำตาล สาหร่ายทะเล ผลไม้แห้ง ถั่วเปลือกแข็ง
อะโวคาโด ธัญพืชรำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่วลิมา)
·
Chronic diuretic therapy
และ GI cation exchanger ได้แก่ patiromer
หรือ SZC
·
หยุดยาที่เป็นสาเหตุ เช่น ACEI, ARB, aldosterone antagonist,
potassium sparing diuretic, digitalis, NSAID จนกระทั่งหายจากภาวะ hyperkalemia
การป้องกัน
·
หลีกเลี่ยงอาหารที่มี K
สูง และไม่ให้งดอาหาร เพราะทำให้ไม่มี insulin เช่น ใน ESRD ที่ไม่ได้เป็น DM ถ้าต้อง fasting ควรให้ IV glucose ร่วมด้วยถ้าต้องอดอาหารข้ามคืน
·
ถ้า K
> 5.5 ให้หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ K เพิ่มขึ้น
ได้แก่ ACEI, ARB, direct renin inhibitors, aldosterone antagonist, nonselective
beta blocker (propranolol, labetalol; ถ้าเลือกให้แนะนำ metoprolol,
atenolol)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น