วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567

Rotavirus infection

การติดเชื้อจะทำให้เซลล์ของผนังลำไส้ตาย ทำให้ไม่มีเอนไซม์ในการย่อยอาหารและไม่สามารถดูดซึมได้ (fluid, electrolytes, D-xylose และ lactose) ทำให้เกิด osmotic diarrhea (แต่ยังดูดซึม ORS ได้แสดงว่าไม่ได้เป็นทั้งหมด) และยังมีกลไกการกระตุ้น enteric nervous system (ยา racecadotril ไปออกฤทธิ์ที่กลไกนี้)

 

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของลำไส้อักเสบจากไวรัสในเด็กในประเทศที่ไม่ได้ให้ rotavirus vaccine แบบครอบคลุม การติดต่อเกิดได้ง่ายแบบ fecal-oral route และมีระยะฟักตัว < 48 ชม. มีไวรัสในอุจจาระได้นานเฉลี่ย 10 วัน (1/3 นาน > 21 วัน)

 

อาการ

·      ในเด็กจะมาด้วย อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำแบบไม่มีเลือดปน และไข้ เป็นนานเฉลี่ย 8 วัน (บางรายเป็นแค่ 2-3 วัน) พบภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทได้ 2-3% ได้แก่ seizure และที่พบน้อย คือ acute encephalopathy/encephalitis

·      ในผู้ใหญ่ปกติจะมีอาการน้อย มักมีเด็กในครอบครัวติดเชื้อมาก่อน หรือพบในการเดินทางท่องเที่ยว

·      ในเด็กที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันมีโอกาสเป็นรุนแรง เป็นนาน และมีระยะแพร่เชื้อนานกว่าปกติ

 

Lab test: ตรวจเลือดมักพบ BUN เพิ่มขึ้น มีภาวะ hypochloremia metabolic acidosis และตรวจ CBC จะพบ WBC อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะช่วยแยกกับการติดเชื้อแบคทีเรีย และการตรวจ stool exam จะพบ fecal leukocyte ได้เล็กน้อย-ปานกลาง (ถ้าสูงต้องสงสัย coinfection)

 

การวินิจฉัย การตรวจยืนยันมักไม่จำเป็น แต่สามารถตรวจพบ rotavirus antigen ในอุจจาระ (เด็กทารกที่พึ่งได้วัคซีนก็จะสามารถตรวจพบได้เช่นกัน ซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ)

 

ภาวะที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกับ rotavirus infection ได้แก่ NEC, intussusception, biliary atresia, CNS involvement (seizure), DM type I

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น