คือ การที่มี J-point elevation > 0.1 mV ใน 2 lead ที่ติดกัน ร่วมกับลักษณะ slurred หรือ notched morphology พบ 5-13% ของประชากรทั่วไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ sudden cardiac death 2-3 เท่า (แต่โอกาสเกิด SCD ยังต่ำมากๆอยู่ดี)
From https://litfl.com/j-point-ecg-library/ |
ถ้าพบ ECG ลักษณะนี้จะเรียกว่า ER pattern แต่ถ้ามีประวัติการเกิด ventricular fibrillation และไม่พบ abnormal structural heart จะเรียกว่า ER syndrome
วินิจฉัยแยกโรค
- Brugada syndrome (STE in V1-V2) พบว่ามี ER ร่วมด้วย 12% บางครั้ง ECG ก็อาจคล้ายกัน ต้องไปทำ provocative test (sodium channel blocker กระตุ้น Brugada pattern)
- AMI ช่วงแรกอาจคล้ายกันกับ ER (J-point elevation with concave STE) แต่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็น convex (นอกจากจะแยกจากอาการทางคลินิค)
การรักษา
- ถ้าไม่เคยมี VF ไม่ต้องรักษา
- ถ้าเคยมี VF แนะนำให้ใส่ implantable cardioverter-defibrillator (ICD) และถ้ามี recurrent VF แนะนำให้ quinidine ถ้าไม่ตอบสนองให้ทำ catheter ablation
- Acute treatment ในรายที่กำลังมี VF ซ้ำๆ (VF storm) ซึ่งต้องทำ defibrillation หลายครั้ง แนะนำให้ IV isoproterenol
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น