วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567

Parasomnias and sleep-related movement disorders

Parasomnias and sleep-related movement disorders

เราสามารถแบ่งการเคลื่อนไหวผิดปกติตอนหลับออกเป็น simple และ complex movement

  • Simple หรือ periodic movement มักไม่มีสาเหตุอะไรร้ายแรง เช่น hypnic jerks (กระตุกตอนเริ่มหลับ), exploding head syndrome (ได้ยินเสียงระเบิดในหัวตอนเริ่มหลับ), sleep-related bruxism, body rocking, period limb movements of sleep
  • Complex movement อาจสัมพันธ์ sleep, medical, neurologic, หรือ psychiatric disorders ได้แก่ sleepwalking, confusional arousals, sleep terrors, REM sleep behavior disorder

 

Disorders of arousal from NREM sleep in adults

  • ได้แก่ sleepwalking, confusional arousals, sleep terrors มักเป็นในวัยเด็ก แต่อาจเป็นๆหายๆจนโตได้ เป็นกลุ่มของพฤติกรรมที่อยู่นอกสติสัมปชัญญะและจำไม่ได้ เกิดในช่วงที่ NREM เด่น (1/3 แรกของการนอน) ปัจจัยเฉพาะ ได้แก่ การอดนอน ความเครียดต่อร่างกาย/จิตใจ ยาบางชนิด (short-acting hypnotic) หรือการโดนกระตุ้นตอนนอน (โดยเฉพาะจาก OSA)
  • DDx (อาจทำ polysomnography ถ้าไม่ชัดเจน) จาก REM sleep behavior disorder (RBD), sleep-related seizure, dissociative disorders
  • การรักษา แก้ไขสาเหตุ (อดนอน, ยา, OSA) และในรายที่ยังเป็นบ่อยหรือเกิดอันตราย แนะนำให้ clonazepam หรือ dopamine agonist (ถ้ามี RLS ร่วมด้วย)

 

 REM sleep behavior disorder (RBD)

  • มักเกิดขึ้นในช่วงหลังของการนอน เป็นพฤติกรรมที่เกิดขณะฝัน + REM sleep without atonia (RSWA) พบบ่อยขึ้นในคนสูงอายุ คนที่เป็น Parkinson disease, multiple system atrophy, และ dementia with Lewy bodies
  • สาเหตุ alpha-synuclein neurodegeneration, antidepressant, narcolepsy, pontine lesions (stroke, multiple sclerosis)
  • การรักษา แก้ไขสาเหตุที่แก้ได้ (ยา, OSA) ปรับสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย และในรายที่เป็นบ่อยหรือเกิดอันตรายแนะนำให้ยา melatonin 3 mg PO hs (เพิ่มทีละ 3 mg จนดีขึ้น เฉลี่ยได้ 6-18 mg) รองมา คือ clonazepam 0.25-1 mg
  • พยากรณ์โรค พบว่า RBD จะเป็น Parkinson disease ประมาณ 50% ในทุก 10 ปี โดยเฉพาะถ้ามี anosmia, constipation, orthostasis จะเป็นเร็วขึ้น

 

Restless legs syndrome and periodic limb movement disorder in adults

RLS คือ ความรู้สึกไม่สบายขา (อาจเป็นแขน) ตอนที่อยู่นิ่งๆ ทำให้อยากขยับไปมา มักเป็นมากช่วงเย็น พบได้ 5-15% ในผู้ใหญ่ พบบ่อยในชาวยุโรปเหนือ ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ แต่อาจเกิดจาก low iron stores, uremia, neuropathy, spinal cord disease, pregnancy

การรักษา

  • Iron supplement (ferrous sulfate 325 mg PO OD หรือ EOD hs) ในรายที่ serum ferritin < 75 ng/mL อาจจะดีขึ้นช้าๆ (จนดีสุดใช้เวลาหลายเดือน) ตรวจ ferritin ซ้ำหลัง 3-4 เดือน จน ferritin > 100 ng/mL รวมถึงหาสาเหตุในรายที่มี iron deficiency (serum ferritin < 30 ng/mL) โดยเฉพาะในคนอายุ > 40 ปี เช่น GIB
  • ปรับพฤติกรรม ไม่อดนอน หลีกเลี่ยงยาหรือสารบางชนิด (alcohol, caffeine, antipsychotic, antidepressant [ยกเว้น bupropion], dopamine-blocking [metoclopramide], centrally-acting antihistamine) ทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่อ ออกกำลังกายปานกลางสม่ำเสมอ การบรรเทาอาการ เช่น เดิน ปั่นจักรยาน ประคบร้อน หรือ นวด (รวมถึง pneumatic compression); ใน ESRD อาจทำ short daily HD

การรักษาด้วยยา

  • ในรายที่เป็นไม่บ่อย (< 2 ครั้ง/สัปดาห์) แนะนำให้ใช้ carbidopa-levodopa (25/100) 0.5-1 tab PO PRN; รองมา คือ clonazepam 0.5-1 mg PO hs, zolpidem
  • ในรายที่เป็นเรื้อรัง แนะนำให้ gabapentinoid (pregabalin 50-75 mg PO 1-3 ชม.ก่อนนอน, gabapentin 100-300 mg PO ก่อนนอน 2 ชม. รอประเมินซ้ำใน 5-7 วัน) ถ้าไม่ดีขึ้นอาจให้กลุ่ม dopamine agonist (pramipexole, ropinirole, rotigotine) ร่วมด้วย หรือลอง low-dose opioid (oxycodone, methadone)

 

RLS during pregnancy and lactation

  • พบได้ 20% มักเป็นมากสุดช่วงไตรมาสที่สาม และดีขึ้นมากหลังคลอด
  • การรักษา เริ่มจากการให้ iron supplement และการรักษาแบบไม่ใช้ยา ในรายที่ไม่ดีขึ้นให้ low-dose clonazepam หรือ low-dose carbidopa-levodopa แต่ถ้าเป็นช่วง lactation ให้ gabapentin หรือ low-dose clonazepam
  • โรคซึมเศร้าพบร่วมได้บ่อย แนะนำให้ bupropion

 

Restless sleep disorder in children

  • พบช่วงอายุ 6-18 ปี มีอาการขยับร่างกายไปมาตอนนอน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพช่วงกลางวัน ให้ตรวจ polysomnography (เพื่อแยกโรค sleep apnea, RLS, PLMD)
  • การรักษา ปรับพฤติกรรมการนอนให้ถูกสุขลักษณะ ให้ iron supplement ถ้า serum ferritin < 50 mcg/L (ตรวจซ้ำทุก 2-3 เดือนจน ferritin level ได้ 50-100 mcg/L)

 

Sleep-related epilepsy syndromes

  • มักเกิดในช่วง NREM sleep อาจคล้ายกับ parasomnia ถ้าแยกไม่ได้ให้ทำ video polysomnography + EEG
  • Self-limited epilepsy with centrotemporal spikes (SeLECTS) หรือ benign (childhood) epilepsy with centrotemporal spikes หรือ benign rolandic epilepsy ให้ดูเรื่อง epilepsy ในเด็ก
  • Sleep-related focal epilepsies ที่พบบ่อยสุด คือ sleep-related hypermotor epilepsy (SHE) หรือ nocturnal frontal lobe epilepsy (อาจเป็น temporal, parietal, occipital ก็ได้ แต่พบน้อยกว่าและอาการคล้ายกัน) การรักษาให้ carbamazepine (หรือในกลุ่มนี้) โรคกลุ่มนี้มักไม่หายไปเอง ต้องกินยาตลอดชีวิต

 

Sleep-related bruxism

  • กัดฟันหรือขยี้ฟันตอนนอน  พบได้ถึง 1/3 ของเด็กก่อนวัยเรียน พบ 8% ในผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ปัญหาการนอน วิตกกังวล โรคทางระบบประสาทหรือจิตเวช และอาจเกิดจากยา (SSRI, antipsychotic, amphetamine) ทำให้ฟันสึก ปวดกราม ปวดขมับ และอ่อนเพลียได้
  • การรักษา แก้ไขปัจจัยเสี่ยง (ยา, OSA) อาจใส่อุปกรณ์กันกัด ในรายที่ไม่หายอาจลองให้ clonidine หรือ clonazepam และมีการฉีด botulism toxin เพื่อบรรเทาอาการ

 

Nightmares

  • พบบ่อยในเด็ก ลดลงตามอายุ เพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย มักเกิดจาก acute stress disorder, PTSD, depression, anxiety, หรือยา
  • DDx แยกจาก parasomnia อื่นๆ ได้แก่ sleep terrors, RBD, nocturnal panic attack
  • การรักษา แก้ไขสาเหตุ สุขอนามัยการนอน ในรายที่เป็นรุนแรงและเรื้อรัง แนะนำให้ทำ psychotherapy (แนะนำ imagery rehearsal therapy-IRT) รองมา คือ ให้ยา prazosin (มีการศึกษาใน PTSD-associated nightmares)

 

Sleep disorders in ESRD

  • ที่พบได้แก่ insomnia, excessive sleepiness, sleep apnea, RLS
  • Insomnia สาเหตุ ได้แก่ RLS, PLM, sleep apnea, metabolic, bone pain, pruritus, anxiety, depression, circadian rhythm disorders, medication, poor sleep hygiene การรักษาแนะนำการรักษาแบบไม่ใช้ยาก่อน
  • Excessive sleepiness มักสัมพันธ์กับ BUN ที่สูง, PLM disorders, และ sleep apnea
  • Sleep apnea ใน ESRD เกิดจากหายสาเหตุ (ventilatory control ไม่มั่นคง, chronic uremia) การรักษาเหมือนคนทั่วไป การทำ nocturnal hemodialysis หรือ nocturnal peritoneal dialysis อาจทำให้อาการดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น