วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567

Hypersomnias

Hypersomnias

Excessive daytime sleepiness (EDS)

คือ ง่วงมากในช่วงเวลาส่วนใหญ่ที่ต้องตื่น ต่างจาก fatigue ที่รู้สึกร่างกายหรือจิตใจไม่มีเรี่ยวแรง แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • Insufficient sleep
  • Sleep disorders เช่น sleep-related breathing disorders, circadian rhythm sleep-wake disorders, central disorders of hypersomnolence (narcolepsy)
  • Medical และ psychiatric conditions เช่น chronic pain อาจเป็นสาเหตุโดยไม่สัมพันธ์กับ sleep disorder หรือจากยา
  • Medication เช่น BZD, sedative, antihistamine, opioid, anticonvulsant, antipsychotic

อาจตรวจ home sleep apnea test หรือ polysomnography เพื่อหาสาเหตุ นอกจากนี้ยังควรตรวจ multiple sleep latency test (MSLT) เพื่อประเมินเรื่อง narcolepsy และตรวจ maintenance of wakefulness test (MWT)

 

Narcolepsy

เกิดจากการสูญเสีย orexin-A และ orexin-B neuropeptide (hypocretin-1, hypocretin-2) ที่สร้างจาก lateral hypothalamus ส่วนใหญ่เกิดจาก autoimmune ส่วนน้อยเกิดจาก structural lesions ของ hypothalamus หรือ midbrain

อาการ ปกติพบในวัยรุ่นถึง 20 ต้นๆ (5-40 ปี) มีอาการ 4 แบบ (พบทั้ง 4 อย่างประมาณ 1/3)

  • ง่วงนอนตอนกลางวันมากเกินไป (EDS)
  • สูญเสีย muscle tone อย่างกะทันหันและชั่วคราว (cataplexy) ของกล้ามเนื้อใบหน้า หรือล้มลง (high specificity)
  • ประสาทหลอนขณะกำลังหลับหรือตอนตื่น (hypnagogic hallucination)
  • อัมพาต 1-2 นาทีหลังตื่น (sleep paralysis)

การวินิจฉัย ในรายที่สงสัยให้ตรวจยืนยันด้วย polysomnography และ MSLT จะพบ sleep latency เฉลี่ย < 8 นาที หรือ sleep onset REM period (SOREMPs) อย่างน้อย 2 ครั้ง

การรักษา ไม่หายขาด แต่ช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น หลีกเลี่ยงการอดนอนตอนกลางคืน และให้งีบหลับช่วงบ่าย รักษาโรคร่วม (sleep disorder, depression) และเฝ้าระวังปัญหา obesity, HT

การใช้ยา ถ้าอาการไม่มาก แนะนำ modafinil (รองมา ได้แก่ pitolisant, solriamfetol) แต่ถ้าอาการรุนแรงแนะนำ oxybate (หรือ ถ้าให้ไม่ได้ใช้ solriamfetol, high dose methylphenidate/amphetamine) แต่ถ้าเหลือเฉพาะอาการ cataplexy แนะนำให้ venlafaxine หรือ pitolisant เพิ่ม

 

Idiopathic hypersomnia

  • พบน้อยมากและไม่ทราบสาเหตุ เริ่มเป็นช่วงอายุเฉลี่ย 17 ปี มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมาก งีบหลับนานแต่ก็ไม่สดชื่น กลางคืนนอนนานกว่าปกติ ปลุกตื่นยาก ให้ตรวจยืนยันด้วย polysomnography และ MSLT
  • การรักษา เหมือน narcolepsy


Insufficient sleep

  • คือ นอนไม่พอ (เฉลี่ยอายุ 18-60 ปีควรนอน > 7 ชม.) ทำให้หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ ไม่ตื่นตัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
  • การรักษา แนะนำ sleep hygiene (เช่น หลับตื่นเป็นเวลา ไม่งีบ (โดยเฉพาะถ้า > 1 ชม. ตอนเย็น) งดคาเฟอีนช่วงบ่าย งดแอลกอฮอล์และนิโคตินใกล้เวลานอน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ > 4-6 ชม.ก่อนเวลานอน ปรับห้องนอนให้เงียบและมืด ไม่ดูเวลาตอนนอน ไม่กินอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน)

 

Drowsy driving

  • ถ้าเป็น > 1 ครั้งต่อเดือน เรียกว่า habitual drowsy driving ความง่วงทำให้การคิด การตัดสินใจ สมาธิ การประสานงานกันของกล้ามเนื้อ และปฏิกิริยาตอบสนองช้า
  • กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ วัยรุ่น คนทำงานเป็นกะ คนทำงานขับรถ เป็น sleep disorders (เช่น OSA, narcolepsy) หรือใช้ยา หรือดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะถ้าอดนอนร่วมด้วย
  • การรักษา แก้ไขสาเหตุ แพทย์ต้องแจ้งถึงความเสี่ยงในการขับรถขณะง่วง แนะนำให้หลีกเลี่ยงการขับขณะง่วง การงีบหลับหรือคาเฟอีนไม่สามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ (fall-asleep crashes)

 

EDS due to medical disorders and medications

  • หลายภาวะทำให้เกิด EDS ได้ เช่น neurologic disorders (ที่มี cortex หรือ midline structure involvement และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อ sleep apnea และ periodic limb movement disorder), chronic medical illness (ที่มี inflammatory cytokines, endocrine dysfunction, metabolic encephalopathy, หรือ comorbid sleep disorders), และผลข้างเคียงจากยา
  • การรักษา แก้ไขสาเหตุ นอนหลับให้เพียงพอ ยาที่ง่วงให้กินก่อนนอน ยาที่กระตุ้นให้กินตอนเช้า ส่วนยาที่ช่วยให้ตื่นไม่มีข้อมูลเพียงพอ

 

Sleep-wake disorders in traumatic brain injury

พบได้ 1/3 ของผู้ป่วยที่บาดเจ็บศีรษะ เกิดจากการลดลงของ orexin และ histamine ที่ช่วยให้ตื่น มีอาการ EDS, ต้องการเวลานอนมากกว่าเดิม (pleiosomnia), และนอนไม่หลับ และอาการที่พบน้อย เช่น circadian disturbances, abnormal movement, abnormal behavior (sleep talking, bruxism, dream enactment), sleep-disordered breathing

การรักษา

  • EDS ถ้าไม่มีสาเหตุอื่น แนะนำให้ modafinil หรือรองมา คือ methylphenidate
  • Insomnia รักษาเหมือนคนทั่วไป แต่ให้ระวังสาเหตุจากผลข้างเคียง ซึ่งพบได้มากขึ้นจากการที่มี cognitive impairment และจาก comorbid affective disorders ซึ่งต้องการรักษาเฉพาะ
  • Pleiosomnia ไม่ต้องรักษา บางรายอาจต้องนอน > 12 ชม. ต่อวันในการรักษาตัวเอง

 

Kleine-Levin syndrome (recurrent hypersomnia)

  • พบน้อยมาก ไม่ทราบสาเหตุ อายุเฉลี่ย 16 ปี ผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ มีอาการเป็นๆหายๆ จะเป็นขึ้นในเวลาหลายชั่วโมง-หลายวัน เป็นนานเฉลี่ย 10 วัน ได้แก่ hypersomnia ร่วมกับ cognitive disturbance (derealization, apathy) อาจมี hyperphagia, hypersexuality, mood disturbance, anxiety, hallucinations, delusion, compulsive behaviors
  • การวินิจฉัย ทำ brain PET จะพบ regional hypometabolism ที่ posterior associated cortex หรือ hippocampus
  • การรักษา ไม่แนะนำยาช่วยให้ตื่น ส่วนใหญ่ดีขึ้นถ้าได้นอน ถ้ามีอาการนาน > 30 วัน ให้ลองให้ high-dose glucocorticoid ตอนเริ่มเป็นครั้งหน้า ในรายที่เป็นบ่อย (4-12 ครั้งต่อปี) เป็นรุนแรง หรือเป็นนาน แนะนำให้ lithium
  • KLS บางส่วนจะมี mild cognitive impairment หรือ psychiatric comorbidities ที่ต้องรักษาร่วมด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น