Insomnia
การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ
(ICSD-2)
- มีอาการนอนหลับยาก นอนได้ไม่นาน ตื่นเร็วเกินไป หรือ นอนแล้วไม่รู้สึกสดชื่น แม้ว่าจะมีโอกาสได้นอนอย่างเพียงพอ
- ทำให้เกิดอาการผิดปกติในช่วงกลางวัน เช่น อ่อนเพลีย สมาธิหรือความจำไม่ดี อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขาดแรงจูงใจ ความกระตือรือร้น ความริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานผิดพลาดบ่อย เรียนหนังสือแย่ลง ง่วงนอนตอนกลางวัน ปวดศีรษะ หรือมีอาการทางเดินอาหารเวลาอดนอน และวิตกกังวลเกี่ยวกับการนอน
ประเภทของ insomnia
|
การซักประวัติและตรวจร่างกายที่สำคัญได้แก่
- ซักประวัติการนอน ได้แก่
- ลักษณะการนอนไม่หลับ
(หลับยาก ตื่นบ่อย ตื่นแล้วรู้สึกเหมือนไม่ได้นอน)
ระยะเวลาที่เป็น ความถี่ ปัจจัยกระตุ้น การรักษาที่ผ่านมา
- Pre-sleep conditions กิจกรรมก่อนนอน สิ่งแวดล้อมในห้องนอน
- Sleep-wake schedule เวลาเข้านอน ระยะเวลาจนหลับ (> 30 นาที) จำนวนครั้งของการตื่น ระยะเวลาที่กลับไปหลับได้ใหม่ (> 30 นาที) จำนวนเวลาที่หลับ (< 85% หรือ < 6.5 ชม.)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (season, menstrual cycle) ในคนที่มีรูปแบบที่ไม่แน่นอนอาจเกิดจาก
circadian rhythm disorders
- Nocturnal symptoms การหายใจ (กรน หายใจเฮือก ไอ) การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ
(เตะ กระสับกระส่าย) ละเมอ
ความรู้สึกทางกาย/ใจ
- Daytime activities/function อาการในช่วงกลางวัน (ง่วงนอน อ่อนเพลีย งีบหลับ) กิจวัตรประจำวัน การเดินทาง คุณภาพชีวิต อารมณ์ ความจำ โรคร่วมที่แย่ลง
- ซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุจากโรคทางกาย
(เช่น OSA, periodic limb movements, GERD, COPD, pain, stimulants
ต่างๆ) และโรคทางจิตเวช (เช่น anxiety, depression)
- ปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้นชั่วคราวเช่น
ความเครียด ใน adjustment insomnia
- ประเมินความรุนแรงของการงีบหลับในเวลากลางวัน
เช่น Epworth
Sleepiness Scale
- จดบันทึกเกี่ยวกับการนอนหลับ (Sleep
diary) 2 สัปดาห์
การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆจะทำเฉพาะในรายที่สงสัย
เช่น polysomnography (sleep apnea, movement disorders), daytime multiple sleep
latency test (MSLT), actigraphy (circadian rhythm disorders)
การรักษา
- Short-term insomnia (<
3 เดือน) มักเป็นไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ ถ้าอาการไม่หนัก
ให้ทำความรู้ และทำ sleep hygiene
แต่ถ้าเป็นมากแนะนำให้ยารักษาระยะสั้น
- Chronic insomnia (<
3 เดือน) มักเป็นมาหลายเดือน-หลายปี มักเป็นๆหายๆ แนะนำ cognitive behavioral therapy เป็นลำดับแรก แต่ในรายที่เป็นมาก (ทำงานไม่ได้
หรือมี anxiety มาก) แนะนำให้ยาร่วมกับการทำ
CBT
- ในรายที่ต้องใช้ยาระยะยาวให้นัดอย่างน้อยทุก
6
เดือน ถ้าต้องการหยุดยาให้ค่อยๆลดในเวลาหลายเดือน รวมกับการทำ CBT
การทำ CBT หลายๆอย่างร่วมกันจะได้ผลดีมาก
แต่ให้ระวังในบางภาวะเช่น sleep restriction ใน seizure
ที่คุมได้ไม่ดี หรือมีโรคร่วม มักทำ CBT-I 4-8 ครั้ง ประกอบด้วย
- Sleep education
- Sleep restriction therapy บันทึกการนอน
1-2
สัปดาห์ ถ้านอนหลับได้ < 85% ให้เวลานอนตามเวลาที่หลับจริง
แต่ไม่น้อยกว่า 6 ชม. ไม่ให้งีบหลับช่วงกลางวัน
หลังจากนั้น ถ้ายังนอนหลับได้ < 85% และไม่ง่วงให้ลดเวลานอนทีละ
15 นาที ถ้านอนหลับได้ > 90% และรู้สึกนอนไม่พอให้เพิ่มเวลานอนทีละ
15 นาที
- Sleep compression therapy บันทึกการนอน
1-2
สัปดาห์ ให้เวลานอนเท่ากับเวลานอนเฉลี่ยที่บันทึกไว้
ไม่ให้งีบหลับช่วงกลางวันหรือลดให้มากที่สุด ลดเวลานอนทีละ 30 นาที จนสามารถนอนหลับได้ > 85% และรู้สึกว่านอนเพียงพอ
- Stimulus control therapy เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง
อยู่ที่เตียงและห้องนอนเฉพาะเมื่อจะนอน ถ้านอนไม่หลับ
ให้ลุกขึ้นมาและกลับไปนอนเมื่อง่วง ภายใน 20 นาที ตื่นตอนเช้าเวลาเดิม
ไม่ว่าจะนอนไม่มากแค่ไหน ไม่งีบระหว่างวัน
- Sleep hygiene ได้แก่ หลับตื่นเป็นเวลา ไม่งีบ (โดยเฉพาะถ้า > 1 ชม. ตอนเย็น) งดคาเฟอีนช่วงบ่าย งดแอลกอฮอล์และนิโคตินใกล้เวลานอน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ > 4-6 ชม.ก่อนเวลานอน ปรับห้องนอนให้เงียบและมืด ไม่ดูเวลาตอนนอน ไม่กินอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน)
- Cognitive therapy แก้ไขความเข้าใจผิด ความคิดหรือความเชื่อเกี่ยวกับการนอนจะยิ่งไปทำให้ร่างกายตื่นตัว
- Counter-arousal measure
เช่น
progressive muscle relaxation, mindfulness, diaphragmatic
breathing
การรักษาโดยการใช้ยา
เลือกยาขึ้นกับว่าเป็นกลุ่มหลับยาก คือ
ใช้เวลา >
30 นาทีจึงหลับ (sleep onset insomnia) หรือ ตื่นกลางดึก
> 30 นาที ตื่นเร็วกว่าที่ต้องการ > 30 นาที (sleep maintenance insomnia) ยาที่ได้ผลทั้งสองกลุ่ม
ได้แก่ non-BZD BZDRA (zolpidem 5 mg), DORAs (Lemborexant 5-10 mg); ยาที่ได้ผลเฉพาะ sleep-onset insomnia คือ melatonin
receptor agonist (ramelteon 8 mg) และยาที่ได้ผลเฉพาะ sleep
maintenance insomnia คือ low-dose doxepin (3-10 mg); แนะนำให้หลีกเลี่ยง non-BZD BZRA ในคนสูงอายุ มี cognitive
impairment หรือ SUD
ยาอื่นๆ เช่น
- Gabapentin อาจใช้ในคนที่มี substance use disorder (alcohol use disorder)
- Quetiapine 25-100 mg อาจใช้ในคนที่มี psychiatric disorder (schizophrenia, bipolar disorder)
- Anxiolytic BZD (alprazolam, clonazepam, lorazepam) อาจใช้เสริมในคนที่มี anxiety หรือ depression
Risk factor, comorbidities, and consequence of
insomnia in adults
- Psychiatric disorders พบ 50% ของ chronic insomnia ได้แก่ mood disorders, SUD, PTSD
- Medical conditions ที่เสี่ยงต่อ chronic insomnia ได้แก่ pulmonary disease, HT, DM, cancer, chronic pain, HF
- Neurologic disorders ได้แก่ dementia, Parkinson disease
- Sleep disorders พบร่วมกับได้บ่อย ได้แก่ sleep apnea, RLS, circadian sleep-wake rhythm disorders
- CNS
medication ยากลุ่ม BZD,
non-BZD BZRA, orexin receptor antagonist ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น
ลดการตื่นกลางคืน เพิ่มเวลานอน ลดความง่วงตอนกลางวัน สมาธิและประสิทธิภาพดีขึ้น
- Cardiac
medication ได้แก่ lipophilic
beta-blocker (propranolol, metoprolol) ทำให้เกิด
insomnia, hallucination, nightmare, daytime sleepiness; และ
centrally acting alpha agonist (clonidine) ทำให้ daytime
sleepiness
- Pulmonary
medication ได้แก่ theophylline
ทำให้หลับดีขึ้น ตื่นตัวตอนกลางวัน; glucocorticoid ทำให้ตื่นกลางดึก
Insomnia in palliative care
- พบได้ถึง 70% ในผู้ป่วยที่รักษาแบบประคับประคอง
ให้ผู้ป่วยบรรยายปัญหาการนอนไม่หลับของตนเอง
นอกจากจะช่วยประเมินแล้วยังช่วยรักษาไปในตัวอีกด้วย (highly distress
negative anxious rumination) แนะนำการทำ sleep hygiene และ cognitive behavioral therapy แบบลำดับแรก
ถ้าไม่สำเร็จให้ยารักษา โดยใช้ในขนาดน้อยที่สุดที่ได้ผล และเฝ้าระวังผลข้างเคียง
Insomnia in substance use disorder
- ช่วงหยุดยาอาจมีปัญหานอนไม่หลับ
แนะนำการทำ sleep hygiene และ cognitive behavioral therapy แบบลำดับแรก
การใช้ยาให้หลีกเลี่ยงกลุ่ม BZD แนะนำ trazodone,
mirtazapine, gabapentin, melatonin agonist; modafinil แนะนำใน cocaine
use disorder
Insomnia in hospitalized adult
- คุณภาพการนอนในรพ.มักไม่ดี สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ เสียง
แสง การดูแลผู้ป่วย ตัวโรคเอง หรือจากการรักษา
- การรักษา แก้ไขสาเหตุ (เช่น ลดเสียง ลดการรบกวนตอนกลางคืน ลดยาที่รบกวน
ใช้เพลงผ่อนคลาย) ในรายที่ต้องใช้ยา แนะนำ melatonin เป็นลำดับแรก รองมา คือ ralmelteon
Sleep disorders in hospitalized adult
- OSA ถ้าสงสัยจากประวัติและตรวจร่างกาย ให้ทำ PSG หรือ HSAT ยืนยัน รักษาโดยให้ PAP
- Central sleep apnea พบบ่อยใน post-stroke, decompensated HF, chronically use opioid
Sleep disorders in Parkinson disease
- Insomnia พบได้ถึง 80% ในผู้ป่วย
Parkinson disease มักเป็น sleep-maintenance
insomnia เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ nocturnal motor symptoms
(“wearing off”), neuropsychiatric symptoms, nocturia, nocturnal leg cramps,
pain, sleep disorders อื่นๆ หรือผลข้างเคียงจากยา
การรักษา แก้ไขสาเหตุ เริ่มจาก CBT การให้ยา แนะนำ melatonin
รองมา คือ low-dose doxepin, และให้ด้วยความระมัดระวังใน
eszopiclone หรือ zolpidem; ไม่แนะนำให้
DORAs
- REM sleep
behavior disorder (RBD) มักเป็นอาการนำของ PD การรักษา ทำสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
และให้ melatonin หรือ clonazepam
- RLS ต้องแยกจากอาการ wearing off
- Sleep-related
breathing disorders พบ OSA มากกว่าปกติ ให้ตรวจ PSG
- EDS มักเกิดจาก dopamine
agonists ให้ลดหรือหยุดยา ในรายที่ยังไม่ดีขึ้น แนะนำ bright
light therapy ถ้าไม่ดีขึ้นอาจให้ caffeine, modafinil,
methylphenidate
Sleep disorders in dementia
- ปัญหาที่พบ ได้แก่ insomnia
(ทั้ง sleep onset และ maintenance),
EDS, sundown syndrome (agitation ตอนเย็น), abnormal movement
- Insomnia มักเกิดจากสิ่งแวดล้อม เน้นที่การปรับสิ่งแวดล้อม และทำ behavioral therapy
- Sleep apnea ให้ CPAP
Sleep disorders in ESRD
- ที่พบได้แก่ insomnia, excessive
sleepiness, sleep apnea, RLS
- Insomnia สาเหตุ
ได้แก่ RLS, PLM, sleep apnea, metabolic, bone pain, pruritus, anxiety,
depression, circadian rhythm disorders, medication, poor sleep hygiene การรักษาแนะนำการรักษาแบบไม่ใช้ยาก่อน
- Excessive sleepiness มักสัมพันธ์กับ BUN ที่สูง, PLM disorders, และ sleep apnea
- Sleep apnea ใน ESRD เกิดจากหายสาเหตุ (ventilatory
control ไม่มั่นคง, chronic uremia) การรักษาเหมือนคนทั่วไป
การทำ nocturnal hemodialysis หรือ nocturnal
peritoneal dialysis อาจทำให้อาการดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น