วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

Food allergy

Food allergy

·      แบ่งเป็น IgE-mediated (เกิดอาการเป็นนาที มาด้วย anaphylaxis, urticaria, angioedema, oral allergy syndrome (OAS)), non-IgE-mediated (subacute-chronic มาด้วย isolated GI ได้แก่ protein-induced enterocolitis syndrome (FPIES), food protein-induced proctitis/proctocolitis, celiac disease, food-induced pulmonary hemosiderosis), และ mixed food allergy (atopic dermatitis, eosinophilic GI disorders)

·      การวินิจฉัย นอกจากปประวัติ สามารถตรวจเพิ่มเติม ได้แก่ IgE immunoassay มี sensitivity ขึ้นกับชนิด แต่ specificity สูงในอาหารบางชนิด ได้แก่ hen’s egg, cow’s milk, peanut, tree nuts, fish ซึ่งถ้ามากกว่าค่าที่กำหนดและประวัติสงสัยจะถือว่าแพ้แน่นอน; skin prick test (ห้ามทำใน unstable asthma, anaphylaxis, และ dermographism) มี sensitivity สูง แต่ specificity ต่ำ ถ้า positive ต้องตรวจอย่างอื่นเพิ่มหรือทำ oral food challenge เพิ่มเติม (การตรวจเจอ specific IgE จาก blood test หรือ skin prick test = sensitization แต่ไม่เท่ากับ allergy)

·      Cross-reactivity อาหารที่มี cross-reactivity กันและมีอาการทางคลีนิค ได้แก่ tree-nuts, fish, shellfish, animal milk อาจต้องทำ oral food challenge ก่อน แต่อาหารบางอย่างมักไม่มีอาการทางคลินิก ได้แก่ grains, fruits, vegetable, legumes

·      เด็ก พบสูงสุดช่วงปีแรก (6-8%) แล้วค่อยๆลดลงจนคงที่ (3-4%) ช่วงเด็กตอนปลาย กลุ่มที่แพ้อาหารจะเสี่ยงต่อการเป็น allergic rhinitis และ asthma และอาหารบางชนิดโอกาสแพ้จนโตสูง เช่น fish/shellfish, peanut/tree nut โดยปกติ allergist จะติดตามอาการ และตรวจซ้ำ เช่น กินโดยบังเอิญและไม่เกิดอาการ ตรวจ IgE level สูง แล้วจะให้ทำ oral food challenge เพื่อยืนยันว่ามี clinical tolerance

·      Primary prevention ไม่แนะนำให้แม่งดอาหารบางอย่างระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำกินอาหารให้หลากหลาย เพิ่มผักและโยเกิร์ต ให้ลดมันฝรั่ง ข้าว ธัญพืช เนื้อแดง น้ำผลไม้ และ cold cereal ช่วยลดความเสี่ยง allergic disease ในลูกได้ และ vitamin D ช่วยป้องกัน asthma ได้

·      การรักษา การหลีกเลี่ยง อาจเกิดจากการกิน การสัมผัส การหายใจ (การได้กลิ่นไม่กระตุ้น) และต้องมี epinephrine ติดตัวไว้เสมอ

·      Oral immunotherapy (OIT) คือ การให้กินสิ่งที่แพ้ค่อยๆเพิ่มปริมาณจนถึงระดับหนึ่งคงที่ทุกวัน อาจเลือกทำในคนที่ไม่ต้องการหลีกเลี่ยง เพื่อเพิ่ม reaction threshold แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อ anaphylaxis มากขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการหลีกเลี่ยง ไม่แนะนำทำใน peanut

 

Milk allergy

·      Cow’s milk allergy พบ 2.5% ในทารก เกิดจาก Casein และ whey protein โดย IgE มักเป็นจนวัยรุ่น และ non-IgE มักหายตอนเด็กเล็ก อาการ IgE (urticaria, angioedema), non-IgE (delayed GI), mixed (atopic dermatitis, eosinophilic esophagitis); วินิจฉัยจากประวัติ +/- skin prick test/specific IgE ถ้าไม่ชัดอาจยืนยันด้วย OFC; การรักษา หลีกเลี่ยง ส่วนใหญ่ก็จะกินนมแกะ แพะ กวาง ควายไม่ได้ แต่กินนมอูฐ หมู ม้า ลา กวางเรนเดียร์ได้ แนะนำทำ OFC กับนมที่ผ่านการอบ (muffin); ติดตามอาการหายจากประวัติ, IgE test, OFC

 

Egg allergy

·      มักเป็นตอนเด็ก เมื่อโตขึ้นเป็นวัยรุ่นส่วนใหญ่จะหาย มีอาการได้ทั้ง IgE, non-IgE, หรือ mixed; การวินิจฉัยอาจตรวจ specific IgE หรือ skin prick test (SPT); การรักษา หลีกเลี่ยงทั้งไข่แดงและไข่ขาว อาจทำ oral food challenge กับไข่ที่ผ่านความร้อนแบบอบ เพราะส่วนใหญ่สามารถกินได้ เช่น muffin; ติดตามอาการ อาจทำ serial testing เพราะโตขึ้นมักกินได้

·      Influenza vaccine (IIVs, LAIVs) ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของ egg protein อยู่ แต่ปริมาณน้อยมากๆ ซึ่งไม่เคยมีรายงานการแพ้รุนแรง สามารถให้ได้กับคนที่แพ้ไข่ โดยไม่ต้องถาม หรือทดสอบใดๆ จะทำ skin test เฉพาะกรณีเคยมี reaction ต่อ influenza vaccine

 

Meat allergy

·      ส่วนใหญ่เกิดจากเนื้อวัว อาจเป็น immediate reaction, delayed anaphylaxis (up to 3-6 ชม.), หรือ non-IgE (EE, FPIES); วินิจฉัยจากประวัติ อาจทำ skin testing โดยเฉพาะจาก fresh meat

 

Seafood allergy

·      ส่วนใหญ่เป็น IgE จาก parvalbumin ในปลา และ tropomyosin ใน shellfish; วินิจฉัยจากประวัติ +/- SPT/specific IgE ผลอาจ positive ในอาหารที่เคยกิน ให้ทำ OFC เพื่อยืนยัน พบการ cross-reactivity สูงระหว่างปลาชนิดต่างๆ แต่มี cross-reactivity ระหว่างปลากับ shellfish น้อย (10%) การวินิจฉัยอาจยากเพราะมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น วิธีการปรุง ส่วนของปลาที่กิน ทั้งอาการแพ้อาจเกิดจาก seafood parasite หรือเป็น nonallergic reaction จาก toxin ใน seafood

 

Grain allergy

·      แบ่งเป็น cereal (wheat, barley, rye, oat, rice, teff, corn, millet, sorghum) และ non-cereal (buckwheat, quinoa, amaranth) ที่พบบ่อยสุด คือ wheat; วินิจฉัย จากประวัติและสนับสนุนโดยทำ skin prick test และ specific IgE ในรายที่ไม่ชัดเจนต้องทำ OFC; การรักษา หลีกเลี่ยง กิน cereal ชนิดอื่นหรือ non-cereal แทน

 

Peanut, tree nut, seed allergy

·      มักเป็น IgE-mediated (ยกเว้น peanut เป็น non-IgE หรือ mixed ได้) เป็น primary sensitization หรือ secondary จาก cross-reactivity allergen ได้ (birch pollen) มักเป็นตลอดชีวิต กลุ่มเสี่ยง คือ ทารกที่เป็น severe atopic dermatitis หรือ hen’s egg allergy การที่เด็กทารกได้ peanut ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ทำให้เกิด peanut tolerance ได้; การวินิจฉัย จากประวัติ หรือทำ skin prick test หรือ specific IgE ในรายที่ประวัติไม่ชัดเจน อาจทำ OFC ถ้ายังไม่ชัดเจน; การรักษา หลีกเลี่ยง ติดตามอาการถ้ายังมีอาการแพ้หลัง 6 ขวบมักเป็นตลอดชีวิต

 

Oral allergy syndrome (OAS) หรือ pollen-food allergy syndrome (PFS)

·      OAS คือ การที่มี contact urticaria ที่ oropharynx หลังกินผลไม้ ถั่ว หรือผัก ในคนที่แพ้ละอองเกสรของพืชที่ cross-reactivity กัน ส่วน PFS คือ OAS + systemic reaction อาการมักเกิดทันทีและมักหายทันทีที่กลืน (โดนกรดในกระเพาะ) หรือผ่านความร้อน; พบ cross-reactivity ระหว่างพืช เช่น latex กับ kiwi, banana, peach เป็นต้น (latex-fruit syndrome); อาจทำ skin testing หรือ IgE ในบางรายอาจทำ oral food challenge เพื่อยืนยัน หรือ ทดสอบว่าผ่านความร้อนแล้วกินได้หรือไม่ หรือ อาหารใกล้เคียงกันจะกินได้หรือไม่

·      การรักษา ให้หลีกเลี่ยง แต่ถ้าไม่มี systemic symptoms อาจหลีกเลี่ยงเฉพาะการกินดิบ ระวังปัจจัยเสี่ยง เช่น การกินปริมาณมากๆ โดยเฉพาะตอนท้องว่าง การใช้ยา PPI, NASID, alcohol, หรือออกกำลังกายหนักๆใกล้กับเวลากิน

 

Eosinophilic esophagitis (EE)

·      ดูเรื่อง eosinophilic related disorders

 

Food protein-induced enterocolitis syndrome (FPIES)

·      มักพบในเด็กทารก ส่วนใหญ่เกิดจาก cow’s milk, soy formulas มาด้วย อาเจียนพุ่งซ้ำๆทุก 10-15 นาที 1-3 ชม.หลังกิน ถ่ายเหลวประมาณ 5 ชม.หลังกิน อ่อนเพลีย เมื่อหยุด protein ชนิดนั้นแล้วอาการดีขึ้น อาจทำ oral food challenge ส่วนใหญ่จะหายเองเมื่ออายุ 3-5 ปี แนะนำให้ทำ OFC ทุก 18-24 เดือน

 

Food protein-induced allergic proctocolitis of infancy (FPIAP)

·      เป็นการอักเสบที่ distal colon มักเกิดจาก cow’s milk ส่วนน้อยจาก soy หรือ food protein อื่นที่กินผ่าน breast milk; เด็กจะดีสุขภาพดีเป็นปกติ (ต่างจาก FPIES ที่ดูซึม) มาด้วยถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นมูกในทารก เมื่อหยุดอาหารนั้นแล้วอาการดีขึ้น ในรายที่อาการไม่ตรงไปตรงอาจทำ sigmoidoscopy + biopsy; การรักษา ให้หยุด cow’s milk ในรายที่ดื่มนมแม่ ให้แม่หยุดดื่มนมวัว ในทารกที่ดื่มนมผง ให้ใช้เป็น hydrolyzed formula; มักหายเองเมื่ออายุ 1 ปี

 

Allergic and asthmatic reaction to food additive

·      มาด้วยอาการแพ้ (urticaria, angioedema, asthmatic reaction, anaphylaxis) เกิดภายใน 2-3 ชม. กับอาหารหลายอย่างคนละชนิดกันที่ทำขาย แต่กินอาหารแบบเดียวกันที่ทำเองแล้วไม่เกิดอาการ ที่สำคัญ เช่น ในคนเป็น asthma พบว่า sulfite ทำให้เกิด serious asthmatic reaction 5%, และมี case report ใน sodium benzoate (E211), spearmint, peppermint, menthol; รายงานการเกิด anaphylaxis ใน annatto (E160b), carmine (E120), saffron, erythritol (ERT), guar gum (E412), psyllium, carrageenan, lupine flour, gelatin, pectin; การวินิจฉัยให้ทำ skin prick test แบบ single-blind, placebo-controlled challenge ใส่ใน opaque capsule ในขนาดที่มีการทดสอบไว้ หรือในขนาดที่สูงกว่าในการกินอาหารแต่ละครั้ง สังเกตอาการ > 2 ชม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น