Drug allergy
·
Adverse drug reaction แบ่งเป็น type A (ทำนายได้จากคุณสมบัติของยา เช่น overdose, side effects, indirect
effect, drug interaction) และ type B (ทำนายไม่ได้ เช่น intolerance, pharmacogenetic (G6PD deficiency,
pseudoallergic reaction จาก NSAID), immunologic drug
reaction)
·
Immunologic drug reaction (allergy)
o Type I (IgE, mast cells/basophil) เกิดอาการทันที (IV: วินาที/นาที,
PO: 3-30 นาที, PO with food: 10-60 นาที)
มาด้วย urticaria, angioedema, anaphylaxis อาจมีประวัติเคยได้มาก่อน
หรือได้ครั้งแรก (cross-reactive)
o Type II (IgG จับกับ drug
ที่ cell surface แล้วโดนทำลายโดย macrophage)
มาด้วย hemolytic anemia, thrombocytopenia, neutropenia,
agranulocytosis เกิดอาการอย่างน้อย 5-8 วันหลังได้ยา
(high-dose, prolonged)
o Type III (IgG-drug immune complex
deposition และ complement activation) มาด้วย
serum sickness, vasculitis, Arthus reaction เกิดอาการอย่างน้อย
1 สัปดาห์หลังได้ยา (high-dose, prolonged)
o Type IV (T cell mediated แบ่งเป็น IVa, IVb, IVc, IVd) เกิดอาการหลังได้ยาอย่างน้อย
48-72 ชม. (มักหลายสัปดาห์) ได้แก่ contact dermatitis, MP rash, Symmetrical drug-related intertriginous
and flexural exanthem (SDRIFE), Acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP),
drug fever, SJS/TEN,
Drug-induced hypersensitivity syndrome (DRESS/DiHS), single organ involvement
o อื่นๆ ได้แก่ drug-induced autoimmunity
(lupus-like disease, pemphigus-like disorder, IgA bullous dermatitis), fixed
drug eruption
·
ในรายที่มี immunologic drug reaction มากกว่า 2 โครงสร้างเคมี เรียกว่า “multiple drug allergy syndrome”; ในรายที่เกิด drug allergy หลังจากกินยาหลายตัวพร้อมกัน
ให้พิจารณาจากประวัติการใช้ยาในอดีต และอาการแพ้ในปัจจุบัน การทำ skin
testing ช่วยได้เฉพาะใน type I โดยเฉพาะใน penicillin;
การแพ้สามารถ exclude โดยการทำ graded
challenge
Drug eruption
·
ที่พบบ่อยที่สุด 90% คือ drug-induced exanthems
(morbilliform eruption) ส่วนใหญ่เกิดจาก ATB, sulfonamide
·
ถ้าเป็น localized skin eruption
o + violaceous discoid lesion
(fixed drug eruption)
o + sunburn-like
(phototoxic/photoallergic reaction)
o + rash at drug exposure site
(injection site reaction)
·
ถ้าเป็น generalized skin eruption
o + wheal (drug-induced
urticaria/angioedema หรือ drug-induced anaphylaxis); onset
< 1 ชม.
o + MP rash (maculopapular
(exanthematous) drug eruption); onset 7-10 วัน (6-12 ชม.ถ้าได้ซ้ำ)
o + MP rash + blister (SJS/TEN:
onset 4-28 วัน หรือ generalized bullous fixed drug
eruption [ไม่มี mucosa และไม่มี systemic
symptoms]: onset 30 นาที-8 ชม.เมื่อได้ซ้ำ)
o + MP rash + fever,
lymphadenopathy, eosinophilia, abnormal organ function tests (DRESS)); onset
2-8 สัปดาห์
o + generalized erythema with
pinhead-sized pustules (AGEP); onset 1-12 วัน
o + disseminated palpable
purpura +/- petechiae (drug-induced cutaneous vasculitis); onset 7-21 วัน
·
เพิ่มเติมจาก anticancer drug เช่น hand-foot skin
reaction, acneiform eruption จาก EGFR inhibitor, skin
reaction จาก immune checkpoint inhibitor
Drug fever
·
สงสัยเมื่อไม่พบการติดเชื้อ เฉลี่ยเกิด 8 วันหลังได้ยา
(ชม.-เดือน)
ให้ทดลองหยุดยาที่สงสัยที่สุดไปทีละตัว ไข้มักจะลงภายใน 72-96 ชม. ถ้ายังไม่แน่ใจการวินิจฉัยให้ rechallenge
ยาตัวเดิม (ถ้าอาการไม่รุนแรง)
·
อาการร่วมขึ้นกับกลไกการเกิดซึ่งมีหลายอย่าง เช่น hypersensitivity (cutaneous
reaction), idiosyncratic reaction (malignant hyperthermia, NMS, serotonin
syndrome), direct effect จากยา (CMT ทำให้ cell
damage), altered thermoregulation (thyroid hormone, anticholinergic,
sympathomimetic), effect จากการให้ (contamination,
phlebitis)
SJS/TEN
·
SJS คือ epidermal involvement < 10%,
overlap SJS/TEN 10-30%, TEN > 30%; สาเหตุที่พบบ่อย
ได้แก่ allopurinol, lamotrigine, aromatic anticonvulsant, ATB
sulfonamide, ‘oxicam’, COX-2; ในเด็กเกิดจาก Mycoplasma
pneumoniae ได้บ่อย; ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ HIV,
viral infection, autoimmune disease, physical factors, genetic factors
·
มาด้วย เริ่มจากมีไข้ ปวดเมื่อยตัว 1-3 วันก่อนจะมี
mucocutaneous และ skin eruption (coalescing
erythematous macule with atypical target lesions ต่อมาจะเป็น vesicle,
bullae, slough) ทำให้เกิด fluid loss, electrolyte
imbalance, hypovolemic shock, renal failure, bacteremia, insulin resistance,
hypercatabolic state, MOFS
·
การรักษา หยุดยาทันที ประเมินความรุนแรงโดย SCOTEN ถ้าเป็น
> 10% ให้ส่งตัวไป burn center; wound care อาจทำ debridement หรือ “antishear” wound
care ก็ได้; sloughing ของ bulbar
conjunctiva ให้ preservative-free corticosteroid eye drop หรือใช้ cryopreserved amniotic membrane ปิด eye
surface; Infection control ใช้ sterile handling, topical
antiseptic, surveillance culture; monitor respiratory involvement; แนะนำให้ cyclosporin ภายใน 24-48 ชม. แต่ไม่แนะนำให้ routine systemic
corticosteroid หรือ IVIG
Serum sickness
·
Serum sickness เป็น type III reaction เกิดจาก foreign protein (เช่น anti-thymocyte
globulin, monoclonal antibody) มาด้วย fever, rash (urticarial, morbilliform มักเกิดตำแหน่งที่ฉีดยาก่อน),
malaise, polyarthralgia/arthritis เกิดอาการ 1-2 สัปดาห์หลังได้ยา (1-7 วันถ้าได้ซ้ำ) และหายใน 2-3 สัปดาห์หลังหยุดยา
·
Serum sickness-like reaction อาการจะน้อยกว่า
มักเกิดจาก ATB มาด้วย arthralgia, lymphadenopathy,
urticarial rash (เริ่มที่ข้อพับก่อน) เกิดอาการ
5-10 วันหลังได้ยา ถ้าผื่น > 24 ชม.จะเหลือ purpura จางๆโดยเฉพาะที่ท้อง
·
การรักษา หยุดยา ไข้ ปวดท้อง และจะไม่มีผื่นใหม่ใน 48 ชม.อาจให้ antihistamine, NSAID รักษาตามอาการ
ในรายที่ไข้สูง > 38.5oC, severe arthritis, extensive rash ให้ prednisolone 0.5-1 mg/kg/d (หรือ methylprednisolone 1-2 mg/kg IV) ค่อยลดลงใน 1
สัปดาห์; แนะนำไม่ให้ยาซ้ำ (อาการจะรุนแรงขึ้น) แต่ถ้าจำเป็นอาจให้ยาช้าๆ +
ให้ glucocorticoid
Rapid desensitization
·
คือ การให้ยาที่เกิด immediate reaction (ห้ามทำในการแพ้ type อื่น) ในขนาดต่ำ
ๆ แล้วค่อยๆเพิ่ม จะทำให้สามารถได้ยาได้โดยไม่เกิดอาการแพ้
แต่ถ้าหยุดเว้นช่วงไปจะเกิดอาการแพ้เหมือนเดิม วิธีการมาตรฐานจะมี 12 ขั้นตอน ใช้เวลา 6 ชม. (ถ้าเคยแพ้รุนแรงจะใช้
16 ขั้นตอน)
Beta-lactam antibiotic
·
ยับยั้งการสร้าง cell wall โดยไป inactivated enzyme
(penicillin-binding protein; PBP) ที่ cell membrane ของ bacteria; การดื้อยาเกิดจากการสร้าง penicillinase,
cephalosporinase, หรือทั้ง 2 อย่าง (beta-lactamases)
ทำให้เกิดการดื้อ penicillin, 1st, 2nd-gen
cephalosporin (บางตัว); adverse reaction ได้แก่
IgE reaction, rash, diarrhea, renal toxicity, และ hypersensitivity
อื่นๆ และ penicillin เป็น ATB ที่ทำให้เกิด encephalopathy บ่อยที่สุด และ beta-lactam
ขนาดสูงทำให้ seizure ได้
Penicillin allergy
·
Immediate reaction คือ เกิดภายใน 1-2 ชม.
อาการเหมือน anaphylaxis; IgE reaction จะลดความไวลงเรื่อย
ๆ ตามเวลา คือ ถ้า reaction ครั้งก่อน > 10 ปี โอกาสที่จะแพ้มี 20% ให้ตรวจ skin testing
ถ้าทำไม่ได้และจากประวัติเสี่ยงน้อยและจำเป็นต้องใช้ penicillin
ให้ทำ graded challenge (test dosing)
·
Delayed reaction มักเกิดช้าหลายชั่วโมง (ปกติหลายวัน) มาด้วย cutaneous reaction (MP
exanthems, delayed urticarial eruption) แต่ถ้าเป็น urticaria
หรือ angioedema ถ้าจะให้ซ้ำต้องทำ skin
testing (เพราะอาจเป็น immediate reaction); ในรายที่เป็นไม่รุนแรงสามารถให้
penicillin ซ้ำได้ภายใต้ supervised โดย
allergist; อื่นๆพบน้อย (แต่ห้ามให้ penicillin
ซ้ำ) ได้แก่ fixed drug eruption,
acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP), serum sickness-like
syndrome, drug fever, SJS, DRESS/DiHS, immune cytopenia, หรือ exfoliating
dermatoses อื่นๆ
·
Penicillin, cephalosporin, carbapenem จะมี core
structure ที่เป็นสาเหตุของ reaction เหมือนกัน
(ยกเว้น aztreonam ที่ไม่มี cross-reactivity);
คนที่แพ้ amoxicillin, ampicillin คิดเหมือนว่าแพ้
penicillin ยกเว้นมาจากยุโรปใต้ (เฉพาะ
Spain) พบการแพ้จาก R-side chain คือจะแพ้เฉพาะ R-side chain ที่เหมือนกัน ได้แก่ amoxicillin
(cefadroxil, cefprozil, cefatrizine) หรือ ampicillin
(cefaclor, cephalexin, cephradine, cephaloglycin, loracarbef)
·
Cross-reactivity ปกติคนที่ให้ประวัติแพ้พบว่า skin
testing negative > 90% (diagnosis ผิด
หรือหายเองเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ) และในคนที่ skin
testing positive พบว่าใช้ cephalosporin ได้ 97%
และใช้ carbapenem ได้ 99%
o IgE immediate reaction ให้ test dose procedure ใน 3rd,
4th, 5th-gen cephalosporin หรือ carbapenem;
ในกรณีจำเป็นต้องให้ penicillin, 1st, 2nd-gen
cephalosporin ให้ปรึกษา allergist ทำ desensitization
o มี mild reaction (MP rash, isolated
urticaria (> 10 ปีก่อน) หรือจำ reaction
ไม่ได้) ให้ 3rd, 4th,
5th-gen cephalosporin หรือ carbapenem ได้ หรือ test dose procedure ใน penicillin,
1st, 2nd-gen cephalosporin
o Serious Delayed reaction ให้ aztreonam ได้ หลีกเลี่ยง penicillin,
cephalosporin, carbapenem
Cephalosporin allergy
·
Immediate reaction (หลายนาที – 6 ชม.)
ให้หลีกเลี่ยง cephalosporin และ penicillin
ก่อนได้รับการประเมินโดย allergist (skin testing) แต่ถ้าจำเป็นต้องให้ให้ทำ graded challenge กับ cephalosporin
ตัวอื่นที่มี side chain ต่างกันหรือ penicillin
(หรือทำ skin testing กับ penicillin)
·
Delayed reaction (หลายชั่วโมง-หลายวัน)
เช่น MP rash, delayed-onset urticaria/angioedema ส่วนใหญ่เมื่อได้ยาอีกจะไม่เกิดอาการแพ้ซ้ำ
แต่ให้หลีกเลี่ยงเฉพาะตัวเดิมที่เคยแพ้ (ถ้าจะให้ตัวเดิมให้ทำ
graded challenge); แต่ถ้า severe delayed reaction
(SJS/TEN, DRESS, AGEP, single organ involvement) ให้ประเมินโดย allergist
ก่อน
·
ถ้าเป็น urticaria หรือ angioedema ถ้าเวลาที่เป็นก้ำกึ่งจะแยก
immediate กับ delayed reaction ไม่ได้
ถ้าจะให้ให้ทำ skin testing หรือ ingestion challenge
·
Aztreonam มี cross-reactivity เฉพาะกับ ceftazidime ต้องทำ skin testing ก่อนให้
Sulfonamide allergy
·
Sulfonamide เกิดจาก Hypersensitivity ต่อ arylamine group ที่มีเฉพาะใน ATB ยกเว้น nonantimicrobial sulfonamide บางตัวอาจมี cross-reactivity ได้แก่ sulfasalazine (เปลี่ยนเป็น sulfapyridine
ATB ในลำไส้) และ sulfonamide-containing
diuretic (furosemide, torasemide) รวมถึง dapsone ที่ไม่ได้เป็น sulfonamide แต่มี hypersensitivity
เหมือนกัน มาด้วย fever, rash เริ่ม 1-2
สัปดาห์หลังได้ยา และอาจมาด้วย SJS, TEN แต่พบน้อย
·
ถ้าเคยเป็น fever + nonblistering rash ถ้าจะให้กลุ่มเดิมให้ทำ
desensitization; ถ้าจะให้คนละกลุ่ม สามารถลองให้ได้เลย
แต่ถ้ามีประวัติแพ้กลุ่มอื่นด้วยแนะนำให้ test dose ก่อน;
ถ้าเคยมี blister dermatitis (SJS/TEN) ให้หลีกเลี่ยงเด็ดขาดทุกกลุ่ม
Vancomycin hypersensitivity
·
เกิดจากการกระตุ้น mast cell (ยาอื่นที่กระตุ้น เช่น opioid,
muscle relaxant, radiocontrast media จะเพิ่มความเสี่ยง) ทำให้เกิดผิวหนังแดงคันที่ลำตัวส่วนบน (red man syndrome) อาจมีเจ็บหน้าอก ปวดหลัง และความดันโลหิตต่ำได้; dการป้องกันโดยให้ rate < 10
mg/min (1 g IV > 100 min) หรือถ้าต้องให้ยาเร็วจะให้ H1
+ H2 antihistamine ก่อน 1 ชม.; การรักษา หยุด infusion ถ้าแค่แดงเฉยๆ
รอหายแล้วให้ต่อช้าลงครึ่งหนึ่ง ถ้ารู้สึกไม่สบายตัวให้ H1 antihistamine แล้วให้ต่อช้าลงครึ่งหนึ่ง ถ้าเป็นมาก (muscle spasm, chest pain,
hypotension) ให้ H1 + H2 antihistamine +/- IVF แล้วให้ dose ต่อไป > 4 ชม.
+ monitoring; ถ้ายังเป็นซ้ำแม้จะให้ premedication + slow
infusion ให้ทำ rapid desensitization
·
Reaction อื่นที่พบได้น้อย เช่น DRESS,
linear IgA bullous dermatosis (LABD), immune-mediated hematologic and kidney
disorders
NSAID hypersensitivity
·
Aspirin-exacerbated respiratory disease (ดูเรื่อง
anaphylaxis)
·
NSAID reaction แบ่งเป็น pseudoallergic (เกิดจาก COX-1 พบในคนที่เป็น asthma, nasal polyps,
chronic rhinosinusitis, chronic urticaria; ส่วนใหญ่มีอาการภายใน 30-90
นาที [ยกเว้น type 1 มีอาการ
30 นาที-3 ชม.]) และ
allergic reaction (เกิดอาการภายใน 2-3 ชม. เป็น IgE reaction มาด้วย urticaria,
angioedema, anaphylaxis ต่อยาตัวใดตัวหนึ่งที่โครงสร้างเดียวกัน);
การวินิจฉัยที่แน่นอน คือ การทำ challenge
procedure โดย allergist ในรายที่จำเป็นต้องใช้
NSAID (โดยการให้ aspirin ขนาดน้อย
เพิ่มขนาดเท่าตัวทุก 3 ชม.) และอาจทำ desensitization
ต่อใน pseudoallergy (type 1-4); การรักษา ในรายที่ไม่ได้ทำ challenge procedure ถ้าสงสัย pseudoallergy
ให้กลุ่ม COX-II แทน; ส่วนถ้าสงสัย
allergic reaction (type 5-6; เคยใช้ NSAID โครงสร้างอื่นได้) ให้ NSAID โครงสร้างอื่นแทน
·
Aspirin hypersensitivity ที่จำเป็นต้องให้ aspirin เร่งด่วน
(stenting) สามารถให้ low-dose aspirin
(75-100 mg) ได้ + ให้ antiplatelet
อื่นร่วมด้วย; ในรายที่มี AERD (asthma
+ chronic rhinosinusitis + Hx NSAID reaction) ให้ monteleukast
> 1 ชม. ก่อน + ICS/LABA (ถ้า asthma คุมได้ไม่ดี) +
prednisolone 40 mg > 2 ชม.ก่อน
แล้วให้ aspirin 40.5-50 mg PO รอสังเกตอาการ 1 ชม.แล้วให้ 40.5-50 mg แล้วรอ 1
ชม. ถ้ามีอาการให้อีก 1 dose ถ้าไม่มีอาการให้เริ่ม aspirin 81-100 mg daily ในวันถัดไป
Clopidogrel hypersensitivity
·
ส่วนใหญ่เป็น erythematous macular rash จากลำตัวกระจายไปแขนขา
เริ่มเป็นประมาณ 1 สัปดาห์หลังเริ่มยา มี 3 ทางเลือก ได้แก่ ใช้ยาต่อ (ได้แล้วแพ้ แต่เพิ่งใส่ stent
ให้ methylprednisolone 8 mg PO TID taper 4 mg/d + long
-acting antihistamine + short-acting antihistamine hs), desensitization (ต้องใช้ยาเป็น secondary prevention แต่ให้ glucocorticoid
ไม่ได้), เปลี่ยนยา (เคยแพ้
ต่อมาเป็น ACS ให้เปลี่ยนตัวเป็น ticagrelor แทน)
Radiocontrast media
·
Immediate reaction (< 1 ชม.) ถ้าอาการไม่มาก
(isolated urticaria) สามารถให้ได้โดยให้ premedication
(hydrocortisone 200 mg IV 5 ชม.และ 1 ชม.ก่อน (หรือ prednisolone
50 mg 13, 7, 1 ชม.ก่อน)
และ CPM IV 1 ชม.ก่อน)
และให้ contrast media ชนิดอื่นแทน; ในรายที่เคยมีอาการรุนแรง แนะนำทำ skin testing +/- graded
challenge procedure
·
Delayed reaction (1-10 วัน) มาด้วย MP rash, urticaria, angioedema, DRESS, SJS/TEN; แนะนำให้ทำ skin testing + patch testing (positive 50% ถ้าทำใน 6 เดือน) กับ contrast
ชนิดเดิมและชนิดอื่น (iobitridol มี low-crossed
reactivity)
Fluoroquinolones hypersensitivity
·
มี 2 ชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ delayed-onset MP exanthema ถ้าจำเป็นต้องใช้ fluoroquinolone อีก
ให้เปลี่ยนตัวอื่นโดยทำ graded challenge (cross-reactivity น้อย)
และ immediate reaction (anaphylaxis) ถ้าเป็น
< 5 ปี ไม่ให้ทั้งกลุ่ม แต่ถ้าเป็น > 5 ปี หรือเคยเป็นอาการน้อย ให้ทำ skin test ถ้า negative
ให้แบบ graded challenge ถ้า positive ไม่ให้ทั้งกลุ่มกรณีจำเป็นต้องใช้ยาให้ทำ desensitization protocol
Other ATB hypersensitivity
·
Macrolide พบ delayed-onset MP exanthems 1% (เท่ากลุ่ม placebo)
ถ้าต้องการวินิจฉัยแน่นอนให้ทำ graded challenge; อาจให้ยา macrolide ตัวอื่นได้
·
Aminoglycoside พบ immediate reaction (rare) และโอกาส cross-reactivity สูง
ให้หลีกเลี่ยงทั้งกลุ่ม; topical neomycin พบ allergic
contact dermatitis บ่อย
·
Tetracycline พบจาก minocycline มากที่สุด
เป็น DRESS/DiHS, drug-induced lupus, TEN แต่ถ้าเป็น immediate
reaction ให้ทำ skin testing ยืนยัน ข้อมูล cross-reactivity
น้อย จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงทั้งกลุ่ม
·
Clindamycin พบเป็น MP exanthem บ่อยที่สุด
ไม่มีการตรวจยืนยัน
·
Metronidazole เกิด anaphylaxis, fixed drug eruption,
serum sickness, SJS/TEN ได้
Insulin hypersensitivity
·
พบน้อยมาก ใน immediate reaction เกิดภายใน 1 ชม. ตรวจยืนยันด้วย skin prick หรือ IgE immunoassays (ต่อ insulin และ additive) ทางแก้ อาจใช้ต่อ (กรณีเป็นน้อยและเฉพาะที่ ให้ antihistamine + glucocorticoid), หยุดยา (มียาอื่นให้ใช้), เปลี่ยนชนิด
insulin, หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ตัวเดิมให้ทำ desensitization
·
และ delayed reaction มักเกิดหลายชม.-2 วัน เป็น
eczematous change, induration, nodule ให้ยาต่อได้ ซึ่งจะหายเองในไม่กี่สัปดาห์
ให้ antihistamine ถ้าไม่หายให้ส่งพบ allergist
Systemic glucocorticoid hypersensitivity
·
เกิด immediate reaction ได้ (rare) และข้อมูล cross-reactivity ไม่ชัดเจน แนะนำให้พบ allergist
วินิจฉัยทำ skin testing (ตัวที่เกิดอาการ
และอาจทำตัวที่จะเปลี่ยนให้) แต่ไม่มีมาตรฐานชัดเจน
ถ้าตัวที่จะเปลี่ยน negative สามารถให้แบบ graded
challenge แต่ถ้า positive (หรือไม่ได้ทำ skin
testing) และต้องใช้ยาให้ทำ desensitization
COVID-19 vaccine allergic reaction
·
ดูเรื่อง anaphylaxis
Local anesthesia
·
พบ true hypersensitivity reaction น้อย อาจเป็น immediate
reaction < 1 ชม. (pruritus, urticaria, angioedema
bronchospasm, hypotension) หรือ delayed reaction 3-72 ชม. (localized dermatitis, swelling, mucosal inflammation) ถ้าจำเป็นต้องใช้ LA เร่งด่วน แนะนำให้เลือกใช้ LA
ตัวอื่น แต่ถ้าไม่ทราบยาชาที่แพ้ ให้ใช้ lidocaine (แม้เคยแพ้ lidocaine พบว่าเกิด tolerance ได้); กรณีไม่เร่งด่วน ให้ส่งตัวพบ allergist
เพื่อทำ skin testing + subcutaneous challenge (type I) หรือทำ patch testing (type IV)
Vaccine
·
พบ anaphylaxis น้อย (พบจาก MMR,
yellow fever มากกว่าตัวอื่น)
มักเกิดอาการภายใน 30 นาที; ส่งตัวหา allergist
ทำ skin testing กับ vaccine และ component ซึ่งถ้า positive ยังสามารถให้ vaccine ได้แบบ graded manner (เทียบ risk-benefit)
Acute interstitial nephritis
·
ดูเรื่อง tubulointerstitial disease
CMT infusion reaction
·
การรักษา ถ้ามีอาการให้หยุดยาชั่วครู่ ประเมินความรุนแรง (ABC)
ถ้าเป็นน้อยให้ IV CPM เมื่ออาการหายให้ยาต่อช้าลง
ถ้าเป็นมาก (มีอาการของ anaphylaxis) ให้นอนราบยกขาสูง
เรียก RRT ให้ยา IM epinephrine, IV CPM, PO
famotidine, IV glucocorticoid
·
Rechallenge ถ้าอาการไม่มากให้ซ้ำได้โดยให้ premedication
(glucocorticoid + antihistamine) ยกเว้นเป็น platinum agent
ให้ทำ skin testing ถ้า negative ให้แบบ graded challenge; กรณีอาการรุนแรง (anaphylaxis)
ให้ส่งตัวพบ allergist หรือ oncology
center เพื่อทำ desensitization ในแต่ละครั้งที่ได้ยา
Perioperative anaphylaxis
·
สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ATB, NMBA, chlorhexidine, blue dye (LN mapping) อาการมักจะรุนแรง มาด้วย sudden cardiovascular collapse, increase
ventilatory pressure (bronchospasm), decrease SpO2; การรักษาให้
epinephrine (IV) และส่งตรวจ total serum tryptase ภายใน 3 ชม. (ส่งเลือดก่อนเกิดอาการตรวจเปรียบเทียบ
โดยยืนยันถ้าเพิ่มขึ้น 1.2 x baseline tryptase + 2 ng/mL)
·
การป้องกัน เมื่อหายเป็นปกติส่งตรวจ total tryptase ซ้ำ ถ้ายังสูงอยู่ให้สงสัย mast cell disorders; ทำ skin
testing ในแต่ละตัวที่ได้รับ; ถ้าต้องทำ anesthetic
ครั้งหน้า ให้คุม asthma ให้ดี ให้ ATB
ช้าๆ หลีกเลี่ยง (ถ้าทำได้) beta-blocker, ACEI, และยาที่ทำให้ histamine
release หรือทำ spinal/epidural anesthesia แทน
Progestogen hypersensitivity
·
มักพบในผู้หญิงอายุน้อย มาด้วยอาการแพ้สัมพันธ์กับระดับ progesterone (วันที่
14-28 ของรอบเดือน) มักเริ่มมีอาการ 3-10
วันก่อนประจำเดือนมาและหายหลังมีประจำเดือนภายใน 2-3 วัน (หรือตอนใช้ exogenous progesterone) มาด้วย type I, III, IV ก็ได้; การวินิจฉัย อาจทำ skin testing ใน immediate reaction หรือให้ GnRH agonist แล้วอาการหาย หรือให้ progesterone challenge; การรักษา อาจให้ antiallergy, progesterone desensitization, omalizumab, GnRH
agonist, tamoxifen, หรือทำ oophorectomy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น