วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

Eosinophil related disorders

Eosinophil related disorders

Unexplained eosinophilia

·      Eosinophilia (> 500/microL), hypereosinophilia (> 1500/microL) ถ้า eosinophilia ไม่มากมักจะเกิดจาก asthma, allergic rhinitis แต่ถ้าสูงมากๆ (> 20,000) อาจเป็น myeloid neoplasm; target organ involvement พบบ่อยที่ skin, airway, GI; ในรายที่มาด้วย acutely ill หรือ extremely high AEC ถ้ามี leukostasis หรือ organ dysfunction อาจต้องให้ high dose steroid, leukapheresis, หรือ cytoreduction

 

Hypereosinophilic syndrome (HES)

·      คือ การที่ผลิต eosinophil มากเกินไป (> 20% in bone marrow; peripheral > 1500 cells/microL) ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะจาก eosinophil infiltration ส่วนใหญ่พบในคนอายุ 20-50 ปี (ยกเว้นมีสาเหตุอื่น เช่น parasite, drug allergy, neoplastic disease) ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ เรียกว่า idiopathic hypereosinophilic syndrome (IHES) และ 20-30% เกิดจาก molecular หรือ immunologic defect ได้แก่ myeloproliferative variants (ให้ตรวจว่ามี FIP1L1::PDGFRA mutation หรือไม่), T cell lymphocyte variants, familial eosinophilia

·      มาด้วยอาการของ eosinophil infiltration ใน skin (eczema, erythroderma, lichenification, dermograpism, urticaria, angioedema), lungs (fibrosis, HF, PE), GI (eosinophilic gastritis, enteritis, colitis), heart (eosinophilic myocarditis), nervous system (cerebral thromboemboli, encephalopathy, peripheral neuropathy)

·      การรักษา หาและรักษา secondary cause (helmint infection, drug hypersensitivity, neoplastic disease); กรณีที่สูงมากเกิด leukostasis หรือ complication ให้ prednisolone 1 mg/kg (หรือ methylprednisolone 1 g) และถ้าเสี่ยงต่อ Strongyloides ให้ ivermectin คู่ไปด้วย; ถ้าโรครุนแรงให้ตรวจ HLA เผื่อทำ transplantation ในอนาคต; ถ้าเป็น myeloproliferative ที่มี FIP1L1::PDGFRA mutation แนะนำให้ imatinib; ถ้าเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ให้ prednisolone 20-60 mg/d x 1-2 สัปดาห์ แล้วดูการตอบสนองและปรับยา

 

Eosinophilic granulomatosis with polyangiitis (Churg-Strauss)

·      EPGA ไม่ทราบสาเหตุ ตรวจพบ ANCA 40-60% มาด้วย allergic rhinitis, asthma, และ peripheral blood eosinophilia; ให้ประเมินว่าเป็น severe EGPA หรือไม่ คือ มี organ threatening เช่น active glomerulonephritis, pulmonary hemorrhage, cerebral vasculitis, progressive peripheral/cranial neuropathy, GIB, pericarditis, myocarditis; การรักษาให้ induction ด้วย prednisolone 0.5-1 mg/kg/d (max 80 mg) + ถ้า severe ให้ add (cyclophosphamide หรือ rituximab) หรือถ้าไม่ severe ให้ add mepolizumab; หลังจากนั้นเลือกให้ยา maintenance ต่อ 12-18 เดือน 

 

Eosinophilic GI disease

·      คือ มี eosinophilic infiltration โดยไม่ทราบสาเหตุ พบช่วงอายุ 30-50+ ปี โดย 50% จะมีประวัติ allergic disease ร่วมด้วย มาด้วย ปวดท้อง คลื่นไส้ อิ่มเร็ว อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลด อาจมีอาการของ bowel obstruction (muscle layer infiltration) หรือ ascites (subserosal EGID); การรักษา เริ่มจาก dietary therapy ให้หยุดอาการที่เป็นสาเหตุของ allergy ที่พบบ่อย 6 ชนิด (six-food elimination diet) ได้แก่ dairy, wheat, soy, eggs, nuts, seafood/shellfish หรือให้กิน elemental diet 4-6 สัปดาห์ แล้วทำ endoscopy เพื่อดูการตอบสนอง ถ้าอาการดีขึ้นและ eosinophilia ลดลง 50% ให้ค่อยกลับมากินอาหารทีละอย่าง แต่ถ้าไม่ดีขึ้นให้ลองใช้ prednisolone 20-40 mg/d อาการมักดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ แล้วค่อยลดยาลงใน 2 สัปดาห์

 

Eosinophilic esophagitis

·      เป็นเด็กชายมาด้วย persistent dysphagia, food impaction, หรือ GERD ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา มีประวัติ allergy; วินิจฉัยจาก upper endoscopy (feline esophagus, stricture) + biopsy; การรักษา ให้ทำ allergy test และรักษาโรคร่วม (asthma, allergic rhinitis), ทำ elimination diet (empiric หรือ testing-directed) มักเริ่มจากการลองหยุดทีละอย่าง ได้แก่  cow’s milk, wheat, soy, hen’s egg, cow’s milk + wheat (two-food elimination diet: 2FED), cow’s milk + hen’s egg + wheat + soy (4FED), 4FED + peanut + fish/shellfish ทำนาน 8 สัปดาห์แล้วประเมินซ้ำ ถ้าไม่ได้ผลให้ทำ elemental diet

 

Pulmonary eosinophilia

·      คือ มี eosinophilia + pulmonary parenchymal disease โดยตรวจพบ lung tissue eosinophilia หรือ BAL มี eosinophil > 10%; สาเหตุจาก helminth infection (Ascaris, hookworms, Strongyloides [Loffler syndrome], Paragonimus, Taenia solium, Wuchereria bancrofti, Brugia malayi),  nonhelminthic infection (coccidiomycosis, M.tuberculosis, COVID-19), toxins (tobacco, rubber), medication (NSAID, amoxicillin, amiodarone, anticonvulsant, ACEI), non-infectious (AEP, CEP, EGPA), allergic bronchopulmonary aspergillosis/mycosis (ABPA/ABPM), หรือเป็นส่วนหนึ่งของ hypereosinophilic syndrome

 

Idiopathic acute eosinophilic pneumonia (AEP)

·      มาด้วย ไข้ (< 1 เดือน แต่มัก < 7 วัน) ไอแห้ง ค่อยๆเหนื่อยมากขึ้น มักสัมพันธ์กับการเริ่มสูบบุหรี่ หรือสัมผัสกับควัน ฝุ่น หรือ ทรายละเอียด ตรวจ CBC มี leukocytosis แต่มักไม่พบ eosinophilia ในช่วงแรก ทำ imaging พบ bilateral random patchy ground-glass หรือ reticular opacities, ทำ BAL พบ eosinophilia > 25%; การรักษา หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ถ้า exclude infection ให้ methylprednisolone IV (ถ้ามี respiratory failure) หรือ prednisolone 40-60 mg PO อาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วใน 1-3 วัน แล้วให้ต่อ 2 สัปดาห์หลังอาการและ chest imaging กลับมาเป็นปกติ (มัก 1-2 เดือน) แล้วค่อยลดยาใน 4 สัปดาห์

 

Eosinophilic meningitis

·      คือ การที่มี eosinophil > 10/mm3 หรือ > 10% ใน CSF; สาเหตุจาก parasite ได้แก่ angiostrongyliasis, gnathostomiasis, baylisasriasis; การรักษา ไม่แนะนำให้ antihelmint เพราะเกิด inflammatory response, ให้ analgesic, corticosteroid

·      สาเหตุอื่น เช่น coccidioidomycosis, hematologic disorder, adverse drug reaction, mechanical shunt malfunction

 

HIV-associated eosinophilic folliculitis

·      มาด้วย intensely pruritic follicular lesion ที่ลำตัวส่วนบน หน้า คอ ศีรษะ ที่ไม่ทราบสาเหตุใน low CD4 counts; การรักษา ให้ ART (อาจมี flare ในช่วง 2-6 เดือน), topical corticosteroid, antihistamine (มักไม่ได้ผล) ถ้าไม่ดีขึ้นให้ UVB phototherapy ถ้าไม่ดีขึ้นให้ add itraconazole, oral isotretinoin

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น