Asthma
·
ปัจจัยเสี่ยง ก่อนคลอด ได้แก่ แม่มี vitamin D deficiency, smoking (ถ้าได้ vitamin
C 500 mg/d ช่วยได้), ยาอาจมีผล (acetaminophen,
acid suppression, ATB); วัยเด็ก ช่วงเด็กพบผู้ชาย > ผู้หญิง และอายุ > 40 ปีพบผู้หญิง > ผู้ชาย, มี lung function test น้อยกว่า, มี airway hyperresponsiveness,
atopic disease, IgE level, bacteria exposure; วัยผู้ใหญ่ ได้แก่ tobacco
smoke exposure, noxious aerosols, allergic rhinitis, obesity
·
การรู้จัก asthma phenotype บางอย่างจะมียาที่ได้ประโยชน์ เช่น omalizumab
(IgE therapy) ใน atopic severe asthma, หรือ IL-5/IL-5R/IL-4RA
antibodies, leukotriene modifier, aspirin desensitization ใน adult
onset eosinophilic disease
·
Severe asthma อาจเกิดจากโรคอื่น ได้แก่ inducible
laryngeal obstruction (vocal cord dysfunction), COPD, bronchiectasis,
hypersensitivity pneumonitis, hypereosinophilic syndrome, constrictive
bronchiolitis, endobronchial sarcoidosis; แนะนำให้ตรวจ
PFTs (spirometry, expiratory flow loop, lung volume, DLCO) เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
อาจตรวจ CBC (eosinophil), total IgE, alpha-1 antitrypsin, ANCA, CT
chest; ให้ดูเรื่องการใช้ยาสม่ำเสมอหรือไม่ และรักษาโรคร่วม เช่น rhinosinusitis,
obesity, OSA, GERD
·
การรักษา ให้ความรู้ สังเกตอาการ ในคนที่ poor perception อาจวัด PEF หรือ FEV1 ที่บ้าน
มี action plan และจัดการ environmental triggers; การให้ยารักษาอาการ
ในรายที่มีอาการไม่บ่อยและไม่รุนแรง แนะนำให้ SABA แต่ในรายที่มีอาการบ่อยหรือเป็นรุยแรงให้เริ่มด้วย
low-dose ICS + fast-acting beta-agonists (budesonide-formoterol); การให้ยาควบคุม GINA guideline แนะนำ step-up/step-down approach (step 1-3 ให้ budesonide-formoterol
เริ่มจาก as-need เป็น daily เป็น daily + as need และ step 4 เพิ่ม dose เป็น medium-dose ICS, step 5 add
LAMA) โดยประเมินอาการซ้ำทุก 2-6 สัปดาห์เมื่อปรับยาขึ้น
ถ้าอาการดี 3-6 เดือนก็ปรับยาลง
·
Mild intermittent asthma แนะนำ SABA as need (หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจาก
ICS) หรือ SABA + ICS / LABA + ICS (แนะนำในคนที่เสี่ยงหรือเคยมี
serious attack)
·
Mild persistent asthma แนะนำ ICS +/- LABA หรือใช้แบบ
as need ในรายที่ไม่ยอมใช้ยาเป็นประจำ
หรือเป็นแค่บางช่วงของปี หรือจะลองใช้ leukotriene receptor antagonist
(LTRA) + SABA as need ก็ได้
·
Moderate persistent asthma (มีอาการ > 50% ของวันทั้งหมด
กลางคืน > 1 ครั้ง/สัปดาห์) แนะนำ LABA + ICS
·
Severe asthma คือต้องได้ high-dose ICS + ทดลองใช้ controller ทีละตัว (ถ้าไม่ช่วยเลยก็หยุดตัวนั้น) ได้แก่ LABA, antileukotriene, tiotropium, anti-IgE therapy (ดูด้านล่าง), Tezepelumab, glucocorticoid
·
Inhaled medicine delivery มีหลายแบบ ได้แก่ pressurized MDI (pMDI แนะนำให้ใช้กับ spacer), dry powder
inhalers (DPIs), soft mist inhalers (SMIs), และ nebulizer ซึ่งแนะนำใน severe exacerbation ให้หายใจช้าๆและหายใจลึกๆเป็นพักๆ
ผ่าน mouthpieces (ดีกว่า facemask) มีหลายชนิด
ได้แก่ jet, mesh, ultrasonic, และชนิดใหม่ๆที่ไม่เสียยาระหว่างหายใจออก
(Pari, Circulaire, AeroEclipse)
·
Antileukotriene (Monteleukast) อาจได้ผลดีมากในบางราย
แต่บางคนอาจไม่ได้ผลเลย ใน mild-moderate persistent asthma อาจห้ทดลองใช้
1-2 เดือน เสริมจาก ICS (อาจใช้แทน ICS ถ้าไม่อยากใช้ inhaler)
·
Theophylline ใช้เสริมจาก moderate-dose ICS มักเริ่มขนาด 300
mg เพิ่มขนาดยาทุก > 3 วัน จนได้ peak
serum concentration 10-20 mg/L (+ ตรวจทุก 6-12
เดือน) + ดูผลข้างเคียง
·
Anti-IgE therapy (omalizumab) ให้เป็นการรักษาเสริมใน
step 5 ในคนอายุ > 6 ปี ที่ total
serum IgE 30-700 IU/mL (30-1300 IU/mL ในเด็ก 6-11 ปี) และมี sensitization ต่อ perennial
aeroallergen จาก skin testing หรือ IgE
testing; นอกจาก asthma ยังได้ผลใน chronic
urticaria; มีโอกาสเกิด anaphylaxis ต้องสังเกตอาการหลังให้ยาทุกครั้ง
·
GC-resistance คือ chronic asthma ที่ใช้ high-dose ICS หรือ oral glucocorticoid แต่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ (persistent
airflow limitation, sputum eosinophilia > 2%)
Acute exacerbation
·
ให้ oxygen supplement ในรายที่ O2 sat <
90% (titrate > 92% หรือ > 95% ในคนท้อง),
ให้ albuterol 2.5 mg (หรือ MDI with
spacer 4-8 puff) NB q 20 min x 3 doses (อาจให้เป็น 10-15
mg NB over 1 hour) then 2.5 mg q 1-4 h as need, และให้ systemic
glucocorticoids ได้แก่ prednisolone 40-60 mg OD x 5-7 วัน (ประสิทธิภาพยากินกับยาฉีดเท่ากัน)
·
ใน severe exacerbation ให้ SABA + ipratropium 500 mcg
NB (แต่ไม่ได้ประโยชน์ในผู้ป่วยใน); ในรายที่ไม่ตอบสนองให้
magnesium sulfate 2 g IV over 20 min
·
หลังรักษาครบชั่วโมง ให้ประเมินซ้ำให้ admit ในรายที่ยังไม่หายสนิท
+ PEF < 80%; และ admit monitored unit ในรายที่ต้องรักษาใน ER > 2-3 ชม. ยังเหนื่อย หรือ PEF < 60%
·
Invasive mechanical ventilation แนะนำ RSI
ใส่ ETT > 8 mm และตั้ง setting
RR 10-12/min, TV 6-8 mL, MV < 115 mL/kg, IF 60-75 L/min, PEEP 5; keep Pplat
< 30 cmH2O (อาจต้องยอม permissive
hypercapnia) และ intrinsic PEEP < 10 cmH2O
(PEEP-extrinsic PEEP); ในรายที่ยังไม่ดีขึ้นอาจใช้ heliox หรือ ECMO
·
Risk for near-fatal asthma exacerbation คือ
คนที่มีประวัติคุม asthma ไม่ดี หรือประวัติ ETT หรืออื่นๆหลายข้อรวมกัน
เช่น systemic glucocorticoid dependence, psychosocial problems, older
age, aspirin/NSAID sensitivity, cigarette exposure, aeroallergen exposure, Hx
admit จาก asthma, รวมถึง poor
perception of dyspnea
Pulmonary function testing in asthma
·
Peak expiratory flow (PEF) ใช้ติดตามอาการได้ แต่ไม่แน่นอนสูง
ต้องใช้ spirometry ยืนยัน ปกติจะใช้จดบันทึก 2-4 ครั้งต่อวัน (เช้า บ่าย เมื่อมีอาการ หลังใช้ bronchodilator)
นาน 2 สัปดาห์ เพื่อหา personal best
PEF value คิดค่าปกติ คือ 80-100% ของ personal
best
·
Spirometry โดย reversibility หมายถึง FEV1 หรือ FVC > 10% ((postbronchodilator-prebronchodilator) x100/predicted
value)
·
Flow-volume loop กรณีทำ spirometry ยังวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจน
ใช้เพื่อ exclude UAO
·
Bronchoprovocation test ทำในกรณีการวินิจฉัยไม่ชัดเจน และใน OA,
RADS, IIA, และเพิ่มค้นหา asthma ในบางอาชีพ (scuba
divers, military) มีการ challenge หลายวิธี
เช่น methacholine, mannitol, exercise, eucapnic voluntary hyperpnea,
allergen, aspirin, food addictive
·
วัด lung volume และ diffuse capacity (DLCO) ใช้ประเมิน emphysema, ILD, PE, PHT เช่นในกรณี dyspnea
out of proportion ต่อ airflow limitation; การวัดอื่นๆ
เช่น SpO2, six-minute walk test (6MWT), muscle strength test
·
Fractional exhaled NO (FENO) จะวัดได้เพิ่มขึ้นใน airway
eosinophilic inflammation (FENO > 50 ppb หรือ > 35 ppb ในเด็ก) จึงสามารถใช้
monitor ได้
Wheezing in adult
·
Acute setting ให้ oxygen supplement ถ้าสงสัย asthma, COPD ให้ bronchodilator หรือสงสัย anaphylaxis ให้ epinephrine หรือสงสัย central airway obstruction + impending respiratory
failure ให้ใส่ ETT หรือถ้าทำไม่ได้ให้ helium-oxygen
mixture หรือ open ventilating rigid bronchoscope
·
Stable case ทำ PFTs ก่อนและหลังให้
bronchodilator ถ้าไม่เข้าเกณฑ์ของ asthma/COPD ให้ทำ flow volume loop
·
CT neck + chest ใน central airway
obstruction; Direct visualization + biopsy
Subacute/chronic cough in adults
·
Subacute cough (3-8 สัปดาห์) เกิดจาก
post-infectious cough, pertussis, asthma, COPD, chronic rhinitis
·
Chronic cough (> 8 สัปดาห์) เกิดจาก asthma,
GERD, upper airway cough syndrome (UACS, postnasal drip), nonasthmatic
eosinophilic bronchitis (NAEB, มี active airway
inflammation แต่ไม่มี airway hyperresponsiveness), chronic
refractory cough (idiopathic), และอื่นๆ (ACEI, smoking,
URI, cardiopulmonary disease)
Asthma and COPD overlap (ACO)
·
การวินิจฉัย (ไม่ต้องมีทุกข้อ)
ประกอบด้วย อายุ > 40 ปี + airflow
limitation ที่ไม่ fully reversible + FEV1 ดีขึ้น
10% หลังให้ bronchodilator + ประวัติ asthma, atopy, allergies + ประวัติสูบบุหรี่
> 10 pack year + blood eosinophil > 300 cells/microL; การรักษา ให้ SABA as need, ICS +/-
LABA/LAMA, ถ้ายังไม่ดีขึ้นหลัง triple inhale therapy (ICS,
LABA, LAMA) ให้ biologic agents (เช่น omelizumab)
Asthma in adolescents and adults
·
ซักประวัติและตรวจร่างกาย อาจเป็น asthma ตั้งแต่เด็ก
หรือสงสัย AERD; วินิจฉัย
จากประวัติ (ไอ หอบ wheezing โดยมีตัวกระตุ้น) และตรวจ spirometry ก่อน/หลัง
bronchodilator (FEV1 หรือ FVC เพิ่ม >
10%) หรือ serial PEF ที่บ้านพบ variability
> 20%; ตรวจเพื่อหาตัวกระตุ้นหรือโรคอื่นๆ (CBC, total
IgE, allergen-specific immunoassay, skin testing, CXR โดยเฉพาะในคนที่เป็นหลังอายุ
40 ปี)
Asthma in pregnancy
·
ให้ความมั่นใจว่ายา albuterol และ ICS (โดยเฉพาะ
budesonide, beclomethasone, fluticasone) มีผลข้างเคียงต่อการตั้งครรภ์น้อยมาก
ยาที่มีทดลองในสัตว์ เช่น ipratropium, Montelukast
และยาที่มีข้อมูลในมนุษย์ เช่น formoterol, salmeterol
·
ผุ้หญิงตั้งครรภ์ที่มีลูก > 1 คนเป็น asthma แนะนำให้ vitamin D3 2000-4000 IU/d (ตรวจ
25-OH[D] เพื่อเป็นแนวทาง)
Asthma with HT
·
Beta-blocker เพิ่ม bronchial obstruction และลดประวิทธิภาพของ beta
agonist; ACEI/ARB ทำให้ไอเพิ่มขึ้น ถ้าใช้ให้เลือก ARB
> ACEI; Diuretics ทำให้เกิด severe hypokalemia ได้ถ้าใช้ร่วมกับ beta-2 agonists (K shift) และ corticosteroid
(K excretion) และทำให้เกิด metabolic alkalosis ไปกด ventilatory drive แต่สามารถให้ HCTZ
12.5-25 mg/d ได้อย่างปลอดภัย; CCB โดยเฉพาะ
nifedipine, nicardipine เป็นยาแนะนำใน asthma เพราะช่วยเสริมให้เกิด bronchodilatation
Occupational asthma (OA)
·
คือ มี asthmatic attack ขณะทำงาน หรือหลังทำงาน
และดีขึ้นช่วงวันหยุด แบ่งเป็น immunologic OA และ non-immunologic
OA
·
Immunologic OA สารกระตุ้นแบ่งเป็น low molecular
weight chemicals และ high molecular weight organic
materials (animal/plant protein, enzyme) โดย LMW จะมีช่วง sensitization สั้นกว่า แต่ HMW จะมีอาการเร็วกว่าเมื่อสัมผัส; ตรวจ skin
test หรือ specific IgE; วินิจฉัย สงสัยใน adult onset asthma + บอกความสัมพันธ์กับงานโดย
monitored PEF ช่วงที่ทำงานและไม่ทำงาน; การรักษา เปลี่ยนงาน (อาการจะค่อยๆดีขึ้นจนคงที่ที่
2 ปี) หรือถ้าหลีกเลี่ยงต่อ allergen
ไม่ได้ (house dust mite, cat/dog allergen) แนะนำให้ทำ
subcutaneous immunotherapy (SCIT)
·
Non-immunologic OA สัมผัสกับ irritant (chlorine,
ammonia, smoke) ถ้าเป็น single-high dose exposure เรียกว่า Reactive airway dysfunction syndrome (RADS) มีอาการแสบร้อนที่คอ จมูก แน่นหน้าอก
เหนื่อย ไอ หอบ ภายในเวลาเป็นชั่วโมง และมี reversible airflow limitation แต่ถ้าเป็น single หรือ multiple exposure เรียกว่า irritant-induced asthma (IIA);
รักษาเหมือน asthma มักต้องใช้ high
dose inhaled glucocorticoid; สามารถกลับไปทำงานได้ + ป้องกันการสัมผัส บางคนอาจมีอาการ > 1 ปี และมี non-specific
bronchial hyperresponsiveness หลายปี
NSAID/aspirin-exacerbated respiratory disease (NERD, AERD)
·
มี triad คือ asthma, chronic rhinosinusitis (CRS) with
nasal polyposis, และ intolerance to aspirin หรือ
NSAID; มาด้วยหลังกิน NSAID ภายใน 30
นาที-3 ชม.แล้วเกิดอาการ
nasal congestion + asthmatic attack; การรักษา หลีกเลี่ยง NSAID
ที่ยับยั้ง COX-1 และรักษา CRS with
nasal polyposis (intranasal corticosteroid), แนะนำให้ Montelukast
เสริมในการรักษา asthma; ในรายที่ยังมีอาการอาจให้
Dupilumab (asthma biologic) หรือทำ aspirin/NSAID
desensitization (ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยา)
โดยจะให้ไปทำ polypectomy ก่อนแล้วให้ aspirin 650 mg
PO BID x 3 เดือน เมื่ออาการดีขึ้นให้ลดขนาดเป็น 325 mg PO
BID
Exercise-induced bronchoconstriction (EIB)
·
คือ มี asthmatic attack เมื่อออกกำลังกาย การรักษา ถ้า fit
มากขึ้นจะใช้ minute ventilation ในการออกกำลังกายจะช่วยลดการเกิด
bronchoconstriction ได้
รวมถึงหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่อากาศเย็นและแห้ง; การรักษา
ถ้ามี asthma attack เฉพาะตอนออกกำลังกายให้ SABA หรือ formoterol 5-20 นาทีก่อนออกกำลังกาย แต่ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันให้
Monteleukast หรือ inhaled glucocorticoid + SABA
Nocturnal asthma
·
วินิจฉัยโดยวัด expiratory peak flow วันละ 2 ครั้ง + ตอนกลางคืน (ถ้าตื่น) รวมถึงควบคุมปัจจัยอื่น ได้แก่ allergen exposure,
rhinosinusitis, GERD, sleep apnea; การรักษา
ในรายที่มีอาการไม่บ่อยให้ใช้ SABA แต่ถ้ามีอาการ >
1 ครั้ง/สัปดาห์ ให้ปรับยา asthma (มักให้ LABA เสริมจาก inhaled
glucocorticoid) ถ้าไม่ดีขึ้นให้เพิ่ม Monteleukast หรือ theophylline วันละครั้งตอน 1-2 ทุ่ม ถ้าไม่ดีขึ้นให้ oral glucocorticoid วันละครั้งช่วง
3-4 ทุ่ม ยาอื่นที่มีการใช้ เช่น tiotropium (LAMA)
Viral-induced wheezing
·
ในเด็กเล็กเกิด wheezing จาก RSV (โดยเฉพาะในอายุ
< 2 ปี) และ rhinovirus (ตัวนี้เกิดในเด็กโตและผู้ใหญ่ที่มี asthma เดิมด้วย);
Humen metapneumovirus (hMPV) พบบ่อยในเด็ก < 5 ปี; การรักษาในเด็ก <
4 ปีที่เป็นซ้ำๆ > 3-4 ครั้งใน 1 ปี ให้ SABA เมื่อมีอาการ (ไม่ได้ผลใน
bronchiolitis) และถ้ามีประวัติ severe หรือ refractory disease แนะนำให้ systemic
glucocorticoid therapy; การป้องกัน
ในรายที่ไม่มีประวัติเป็นรุนแรงให้ high-dose inhaled glucocorticoid เริ่มตอนมี URI ใช้นานได้ถึง 10 วัน (fluticasone propionate 750 mcg inhaled BID, budesonide 1 mg
NB BID) แต่ในรายที่เป็นบ่อย (> 4 ครั้ง/ปี + เป็นนาน > 1 วันและรบกวนการนอน
+ ประวัติ asthma/atopic ในครอบครัว)
หรือประวัติเป็นรุนแรงให้ controller therapy (standard dose
ของ inhaled glucocorticoid) หรือ Montelukast
Allergic bronchopulmonary aspergillosis (ABPA)
·
คือ มี Aspergillus spp. colonized ใน bronchi ทำให้มี asthma + mucoid impaction ใน bronchi
มาด้วยอาการของ asthma และอาจมี bronchial
obstruction, fever, malaise, brownish mucus expectoration, hemoptysis; CT chest
พบ mucus plugging + central bronchiectasis; ตรวจ
skin testing หรือ specific IgE
·
การรักษา ใน acute flare ให้ prednisolone 0.5 mg/kg x
14 วัน แล้วเปลี่ยนเป็นวันเว้นวัน ค่อยๆลดยาลงใน 3-6 เดือน; antifugal (itraconazole, voriconazole) 16 สัปดาห์
(อาจให้ในรายที่ลดขนาด prednisolone ไม่ได้),
ถ้าไม่ดีขึ้นให้ biologic agents (omalizumab)
Acute caffeine poisoning
·
ขนาดเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ > 150-200 mg/kg มี caffeine
toxidrome ได้แก่ vomiting, tachycardia, hypokalemia,
hyperglycemia, และในขนาดที่สูงขึ้นอีกจะมี agitation,
seizure, ventricular dysrhythmia, hypotension, shock; การวินิจฉัย
ตรวจยืนยันพบ serum caffeine concentration > 20 mg/L (ถ้าตรวจไม่ได้
แต่พบ K < 3.3 mEq/L, < 2.9 mEq/L จะสัมพันธ์กับ serum
caffeine > 20, และ > 80 mg/L)
·
การรักษา ถ้ามี tachyarrhythmia ให้ BZD หรือ
beta-1 antagonist (SVT, sinus tachycardia > 150, ventricular
dysrhythmia) เช่น esmolol, metoprolol; seizure ให้ BZD; hypotension ให้ IVF + vasopressor แต่ใน refractory hypotension ให้ beta-adrenergic
antagonist (esmolol) จะเพิ่ม BP จากการไปยับยั้ง
beta-2-induced vasodilator และ beta-1-induced
tachycardia; vomit ให้ ondansetron (normal QTc interval) หรือ large dose metoclopramide; hypokalemia ให้ replace
เฉพาะใน symptomatic (muscle weakness, ventricular
dysrhythmia, abnormal T wave, prolonged QT interval)
Glucocorticoid
·
Glucocorticoid withdrawal ให้ตรวจว่ามี HPA suppression หรือไม่ โดยตรวจ ACTH stimulation test ในรายที่ไม่สามารถลด
prednisolone ให้ < 5 mg/d
เพราะมีอาการของ adrenal insufficiency
·
Glucocorticoid tapering ในรายที่ใช้ < 3 สัปดาห์ สามารถหยุดได้เลย แต่ถ้าใช้นานกว่านี้ หรือมี Cushingoid
appearance หรือกินยาตอนเย็น ให้ค่อยๆลดยาลง โดยลด 5-10% ทุก 1-4 สัปดาห์
·
Glucocorticoid-induced osteoporosis ในรายที่ใช้ prednisolone
> 2.5-7.5 mg/d เพิ่มความเสี่ยงต่อ vertebral fracture โดยเฉพาะช่วงใช้ยาแรกๆ (bone loss เร็ว) มักเกิดในคนที่มี BMD สูงมากกว่ากลุ่ม postmenopausal
osteoporosis; ให้ประเมิน serum 25-OH[D] และ BMD
ในคนที่อายุ > 40 ปีที่คาดว่าต้องใช้ยา
> 3 เดือน (รวมถึง คนอายุ <
40 ปีที่ใช้ prednisolone > 20 mg/d > 1
เดือน หรือคาดว่าต้องใช้นาน) +/-
vertebral imaging (ในรายที่ก้ำกึ่งในการให้ยาป้องกัน); การป้องกัน ใช้ยาให้น้อยที่สุด
ออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก หยุดบุหรี่และแอลกอฮอล์ปริมาณมาก ให้ element Ca
1200 mg/d + vitamin D 800 IU/d ถ้าคาดว่าใช้ยา >
3 เดือน และให้ bisphosphonate ในชายอายุ >
50 ปีและ postmenopause ที่ T-score
< -1.0 ที่ใช้ prednisolone > 7.5 mg/d >
3 เดือน หรือ FRAX > 3 และ 20%
ตามลำดับ
·
ICS มีผลข้างเคียง ได้แก่ dysphonia/thrush (แก้ได้โดยใช้ large
spacer และบ้วนปาก ขากน้ำลาย), ในเด็กที่ใช้ ICS
จะสูงน้อยลง 1.2 ซม., insignificant
HPA axis suppression, IIOP (มีผลน้อย
แต่ถ้าใช้นานหลายปีแนะนำตรวจตาเป็นระยะๆ), osteoporotic fracture (เพิ่ม โดยเฉพาะ high-dose ICS)
Theophylline poisoning
·
Acute overdose เกิดขึ้นเมื่อได้ขนาด >
7.5 mg/kg ส่วน chronic toxicity เกิดได้แม้ในขนาดปกติ
มาด้วย อาเจียนม, ปวดท้อง, coarse
muscle tremor, seizure, shock, cardiac arrhythmia; acute ingestion ให้ตรวจ theophylline level ทุก 2 ชม. จน peak แล้วตรวจทุก 4
ชม. x 24 ชม.,
glucose, electrolytes, Ca, ECG (มี hypokalemia with
metabolic acidosis)
·
การรักษา ใน acute overdose ให้ AC 1 g/kg (max 50 g)
+ multiple-dose AC (+ via NG + high dose antiemetic) และ hemodialysis
ใน severe poisoning (ควรทำก่อนจะมี seizure
หรือ cardiac arrhythmia); hypokalemia และ metabolic
acidosis มักหายเองหลังกำจัด theophylline อาจให้
supplement (KCl 40 mEq/L IV 1-1.5 x maintenance) ถ้า K
< 3 mEq/L หรือมี ventricular arrhythmia; persistent
vomiting ให้ high-dose ondansetron (0.15 mg/kg up to 16 mg
IV, screen QTc prolongation) + famotidine; hypotension ให้ IVF
resuscitation + norepinephrine ถ้าไม่ดีขึ้นให้ beta-blocker
(propranolol, esmolol) หลังปรึกษา toxicologist แต่ให้หลีกเลี่ยง epinephrine และ dobutamine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น