วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2566

Diabetic neuropathy

Diabetic neuropathy

  • พบประมาณ 50% ของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีอาการ แบ่งเป็นหลายชนิด ได้แก่ distal symmetrical polyneuropathy, autonomic neuropathy, thoracic/lumbar nerve root disease (polyradiculopathies), cranial/peripheral nerve disease (focal mononeuropathies โดยเฉพาะ oculomotor nerve, median nerve), asymmetric multiple peripheral nerve (mononeuropathy multiplex)
  • ที่พบบ่อยสุดมาด้วย ปวด ชา รู้สึกซ่า อ่อนแรง เริ่มจากปลายนิ้วเท้า เป็นมากขึ้นตอนกลางคืน ครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ แนะนำคัดกรองใน DM type 1 ที่เป็น > 5 ปี และ DM type 2 ทุกราย; ตรวจหาสาเหตุอื่น ถ้าอาการไม่ตรงไปตรงมา (เช่น asymmetry, rapid onset, motor > sensory)
  • การรักษา แนะนำ SNRI (duloxetine, venlafaxine), TCA (amitriptyline, desipramine, nortriptyline), หรือ gabapentinoid (pregabalin, gabapentin) ลองชนิดใดชนิดหนึ่ง 2-3 เดือน ถ้าไม่ได้ผลลองเปลี่ยนตัวหรือใช้ร่วมกัน ถ้าต้องการใช้ topical แนะนำ capsaicin cream หรือ lidocaine patch

 

Diabetic foot

  • แนะนำดูเท้าทุกครั้งที่มาตรวจ ดูเล็บ รองเท้า แผลกดทับ เชื้อรา หนังด้าน และตรวจ Ipswich touch test (สัมผัสที่ toepad ของนิ้ว 1st, 3rd, 5th) และในรายที่ผิดปกติ หรือสงสัย PAD ให้ตรวจ ABI; แนะนำงดบุหรี่ เดินเท้าเปล่า สวมรองเท้าคับหรือไม่พอดี 

 

Diabetic neuroarthropathy

  • เกิดจากการเสีย proprioceptive ทำให้ ligamentous laxity มาด้วยมีอาการบวม แดง ร้อนที่เท้าหรือข้อเท้าข้างหนึ่ง อาจมีอุบัติเหตุเล็กน้อยนำมาก่อน มักปวดแต่ไม่มาก มี deformity มีการยุบลงของ midfoot arch ทำให้มี bony prominence ที่ฝ่าเท้าเกิดเป็น lateral pressure ulceration
  • ให้สงสัยในผู้ป่วยเบาหวานที่มาด้วยเท้าบวม แยกโรคจาก septic arthritis, cellulitis, gout, CPPD, osteoarthritis, osteomyelitis, idiopathic inflammatory diseases, complex regional pain syndrome
  • การรักษา ในระยะเฉียบพลัน ไม่ให้ลงน้ำหนักลงเท้าข้างนั้น เช่นใช้ non-removable total contact cast จนกว่าจะหายบวมแดง อาจให้ bisphosphonate เสริม และส่งตัวพบ orthopedic foot/ankle surgeon

 

Diabetic amyotrophy

  • หรือ lumbosacral radiculoplexus neuropathy (LRPN) มาด้วย acute, asymmetric, focal lower extremity pain ตามด้วย progressive weakness ที่ proximal leg ร่วมกับมี autonomic failure และ weight loss บางรายอาจมี upper limb และ thoracic symptoms อาการอาจเป็นมากขึ้น > 6 เดือน ก่อนที่จะดีขึ้นในหลายเดือน แนะนำทำ MRI with Gd ของ lumbar spine + lumbosacral plexus และ NCS, EMG; การรักษาเหมือน diabetic neuropathy

 

 

Diabetic autonomic neuropathy (DAN)

  • แนะนำให้คัดกรองใน DM type 1 ที่เป็น > 5 ปี และ DM type 2 ทุกราย มีอาการได้หลายระบบ ได้แก่
  • Cardiovascular autonomic neuropathy (CAN) มี resting tachycardia, exercise intolerance, orthostatic hypotension, และ syncope วินิจฉัยโดยทำ cardiovascular reflex test (เช่น วัด HR variability ให้นอนหายใจ 6 ครั้ง/นาที นาน 6 นาที หรือวัด HR เมื่อเปลี่ยนท่ายืน หรือทำ Valsalva และวัด BP เมื่อ Valsalva หรือ active standing)
  • Peripheral autonomic neuropathy มี skin texture เปลี่ยน, hyperthermia, เมื่อเป็นมากจะมี chronic peripheral edema, neuroarthropathy, skin ulceration
  • GI autonomic neuropathy มี GERD, gastroparesis (ตรวจ gastric emptying scintigraphy), diarrhea
  • GU autonomic neuropathy มี bladder dysfunction, retrograde ejaculation, erectile dysfunction, dyspareunia
  • รักษาโดยการคุมน้ำตาลและลด vascular risk; อัตรารการเสียชีวิต 16-53% มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ atherosclerotic heart disease, CKD, OSA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น