วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

Musculoskeletal chest pain

Musculoskeletal chest pain

สาเหตุ

  • Isolated MSK chest pain ที่พบบ่อย คือ costosternal syndrome (costochondritis), lower rib pain syndrome (กดเจ็บตาม costal margin) และที่พบน้อยกว่า เช่น intercostal muscle strain (มีจุดกดเจ็บ หายใจลึกๆแล้วเจ็บ), sternalis syndrome (กดเจ็บที่ sternum), Tietze’s syndrome, xiphoidalgia (เจ็บที่ xyphoid process), spontaneous sternoclavicular subluxation, posterior chest wall syndromes (band-like chest pain อาจเกิดจาก herniated thoracic disc), OA of sternoclavicular joint 
  • Rheumatic disorder ได้แก่ fibromyalgia (พบบ่อยสุด), rheumatoid arthritis, ankylosing spondylitis, psoriatic arthritis, SAPHO syndrome (synovitis, acne, pustulosis, hyperostosis, sterile osteomyelitis), SLE, septic arthritis, relapsing polychondritis
  • Nonrheumatic disorders ได้แก่ osteoporotic fracture, pathologic fracture, rib infarction (sickle cell disease), หรือ stress fracture ในนักกีฬาที่ออกแรงกล้ามเนื้อลำตัวส่วนบนอย่างหนัก

 

ประวัติ

  • ประวัติที่สงสัย visceral cause เช่น อายุมาก, มีปัจจัยเสี่ยงต่อ CAD, เจ็บเมื่อออกแรง, ไข้, ไอ, เหนื่อย
  • ประวัติที่สงสัย MSK เช่น ปวดเป็นจุด ไม่ได้ปวดบีบหรือปวดหนักๆ ไม่สัมพันธ์กับการออกแรง สัมพันธ์กับท่าทางหรือการเคลื่อนไหว กดเจ็บ
  • ประวัติอาการร่วม เช่น
    • ปวดคอ ปวดไหล่ (ปวดร้าวมาที่หน้าอก)
    • อายุน้อย ปวดหลังเรื้อรัง (ankylosing spondylitis)
    • ตาอักเสบ (ankylosing spondylitis)
    • ปวดกระจายหลายตำแหน่ง นอนไม่หลับ (fibromyalgia)
    • ข้อส่วนปลายปวดบวม (rheumatoid arthritis)
    • ผื่นผิวหนัง (psoriasis)
 
ตรวจร่างกาย
  • ตรวจ visceral cause คือ heart, lung, abdomen และตรวจ skin (เช่น psoriasis, SCCH, uveitis, conjunctivitis)
  • ตรวจ MSK ได้แก่ neck, shoulder, back, chest, และลักษณะของ fibromyalgia
  • ตรวจ chest wall คลำตั้งแต่ AC joint, clavicle, sternoclavicular joint, manubriosternal joint, sternum, costochondral junction, xiphoid process และอาจทำ maneuver เช่น crowing rooster, horizontal arm flexion, hooking maneuver

 

Lab ตามสาเหตุที่สงสัย

 

การรักษา

  • ให้สงสัยโรคร้ายแรงก่อน (AMI, PE, aortic dissection, pneumothorax, systemic illness) แม้จะตรวจพบ chest wall tenderness เพราะพบร่วมกันได้
  • Mild-moderate pain ให้คำแนะนำ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ประคบร้อนหรือเย็น ถ้าปวดน้อยให้ paracetamol หรือ low-dose NSAID (ibuprofen 200 mg PO BID-TID) ถ้าปวดปานกลางให้ moderate-high dose NSAID (ibuprofen 600-800 mg PO TID) และอาจทำ stretching exercise ร่วมด้วย (doorway stretch, foam roller stretch, stability ball stretch,  sphinx pose, lateral flexion)
  • รักษาโรคจำเพาะที่พบ เช่น fibromyalgia หรือ refer พบ specialist ใน severe pain หรือรักษาแล้วไม่ดีขึ้นใน 4-6 สัปดาห์ หรือเป็นโรคที่การทำ local nerve block หรือ glucocorticoid injection ได้ประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น