วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

Acute rheumatic fever

Acute rheumatic fever

ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 5-15 ปี เกิด 2-4 สัปดาห์ตามหลัง group A Streptococcus (GAS) pharyngitis

Major Jones Criteria “(ไข้) ข้อ คอ คา คิว ผิวหนังประกอบด้วย

  • ข้อ (migratory arthritis) เป็นอาการแรกสุด
  • คอ (Sydenham chorea) เป็นอาการที่เกิดภายหลัง 1-8 เดือนหลังติดเชื้อ มาด้วย abrupt, nonrhythmic involuntary movement, muscular weakness, และ emotional disturbance
  • คา (pancarditis) อาการเด่นที่สุดจะเป็น valvulitis คือมาด้วย MR, AR  
  • คิว (subcutaneous nodules) มักเป็นสองข้างตาม bony prominence และ tendon
  • ผิวหนัง (erythema marginatum) มักเป็นที่ลำตัว บางครั้งกระจายไปแขนขา แต่ไม่เป็นที่หน้า

Minor criteria ได้แก่ monoarthralgia, fever (T > 38oC), ESR > 30 mm/h หรือ CRP > 3 mg/dL, prolonged PR interval

 

การวินิจฉัย ประกอบด้วย 2 major หรือ 1 major + 2 minor criteria

DDx ในโรคที่มีด้วย polyarticular joint pain เช่น infection, reactive, autoimmune, malignancy, systemic illness

Late sequelae ที่พบบ่อยที่สุด คือ rheumatic heart disease ซึ่งเกิดตามหลัง 10-20 ปี

 

การรักษา

  • ให้ ATB เพื่อกำจัดเชื้อ GAS และให้ต่อเนื่องเป็น secondary prophylaxis แนะนำให้ penicillin G benzathine IM ทุก 28 วัน (ทุก 21 วัน ในรายที่เป็นซ้ำระหว่างให้ ATB) หรือ penicillin V PO (แนะนำ PO ATB ใน severe, symptomatic VHD, HF, ventricular dysfunction) หรือ macrolide (ในรายที่แพ้ penicillin) โดยถ้ามี carditis ให้ยานาน 10 ปี และจนอายุ 40 ปี (ถ้ามี persistent valvular disease) หรือจนอายุ 21 ปี (ถ้าไม่มี valvular disease) แต่ถ้าไม่มี carditis ให้นาน 5 ปีและจนอายุ 21 ปี
  • Arthritis ให้ NSAID จนอาการและ inflammatory marker ดีขึ้น
  • Carditis รักษา heart failure และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โดยไม่แนะนำให้ IVIG หรือ corticosteroids  
  • Chorea หายได้เอง ไม่ต้องรักษา ในรายที่เป็นรุนแรง (เดินลำบาก) ให้ low-dose high-potency dopamine blocker (risperidone, haloperidol)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น