วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Obsessive-compulsive related disorders

Obsessive-compulsive related disorders

อุบัติการณ์ 1-1.5% มักพบตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น และพบโรคร่วมได้บ่อยกว่าปกติ เช่น anxiety disorders, mood disorders, schizophrenia, eating disorders, tic disorders

มีอาการย้ำคิดที่กินเวลามาก (เช่น > 1 ชม.ต่อวัน) หรือทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน มีอาการย้ำทำบางอย่างเพื่อลดความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น และมีลักษณะอื่นๆ เช่น พฤติกรรมหลีกหนี ความเชื่อที่ผิดไปจากความจริง ความคิดฆ่าตัวตายและความคิดในการทำร้ายคนอื่นสูงกว่าปกติ

การรักษา

  • Cognitive-behavioral therapy ใช้ exposure and response prevention (CBT/ERP) อาจทำสัปดาห์ละสองครั้ง ครั้งละ 90-120 นาที นาน 8 สัปดาห์ โดยจุดสำคัญอยู่ที่การเผชิญหน้ากับสถาณการณ์นั้น แต่ไม่ย้ำทำเพื่อลดความทรมาน ให้เกิดการเรียนรู้ว่าความย้ำคิดที่อยู่ในหัวไม่มีอันตรายจริง และรอจนความทรมานค่อยๆลดลงไปเอง
  • Pharmacotherapy แนะนำให้ยาร่วมด้วย ถ้ามีอาการรุนแรง หรือ มีโรคร่วม เช่น major depression หรือ SAD โดยให้ SSRI โดยให้อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ในขนาดสูงสุดก่อนพิจารณาว่าได้ผลหรือไม่ ถ้าได้ผลบางส่วนอาจเพิ่มขนาดยามากกว่าขนาดรักษาปกติ หรือเพิ่ม second-generation antipsychotic แต่ถ้าไม่ได้ผลอาจเปลี่ยนตัวยา SSRI หรือถ้ายังไม่ได้ผลให้เปลี่ยนเป็น clomipramine, venlafaxine
  • Cognitive therapy ให้เสริมช่วยเปลี่ยนความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการย้ำคิด เพื่อให้ยินยอมทำ CBT/ERP มากขึ้น มีหลายเทคนิค เช่น การตั้งคำถามแบบโซคราติส, การไปสังเกตการสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัว
    • “Pie technique” โดยการพิจารณาว่าใครมีส่วนรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาบ้าง แบ่งร้อยละความรับผิดชอบ โดยสุดท้ายจะพบว่าความรับผิดชอบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง
    • “Cognitive continuum technique” ในคนที่มีความคิด เช่น ดูหมิ่นศาสนา เรื่องทางเพศ ความรุนแรง ให้ประเมินว่ารู้สึกผิดศีลธรรมระดับใด แล้วให้ประเมินของคนอื่นๆที่ทำผิดศีลธรรมในระดับต่างๆกัน เช่น ข่มขืน ทารุณกรรม หลังจากนั้นให้ประเมินตัวเองใหม่
    • การบำบัดไม่ได้ทำการเปลี่ยนความเข้าใจในความถูกต้อง เช่น คนที่หมกมุ่นเรื่องการลวนลามเด็ก จะไม่ใช้การบำบัดเพื่อประเมินว่าจะทำตามความคิดหรือไม่ แต่ประเมินความย้ำคิดไปในทางที่เหมาะสม เช่น เป็นแค่ความคิดที่เข้ามาเป็นปกติ ไม่ได้มีความหมายอะไร
  • Deep brain stimulation มีที่ใช้ในการรักษา treatment-refractory OCD

 

OCD in pregnant and postpartum patients

  • การย้ำคิดเรื่องการทำอันตรายต่อทารก พบว่าไม่ได้ทำนายการเกิดพฤติกรรมอันตรายต่อทารก แต่อาจเกิดอันตรายต่อทารกทางอ้อม เช่น การเพิกเฉยต่อทารก
  • อาจคัดกรองด้วย 1 คำถาม เช่น เป็นปกติที่แม่มือใหม่อาจมีความคิดบางอย่างที่อยากทำอันตรายทารกเข้ามาในหัว ไม่ทราบว่ามีความคิดอย่างนั้นบ้างไหม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น