วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Dysmenorrhea

Dysmenorrhea

การรักษาพื้นฐาน ได้แก่  การออกกำลังกาย และการประคบร้อน ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการกิน NSAID

การรักษาขั้นที่ 1

  • NSAID แนะนำ ibuprofen ขนาดค่อนสูง (400-600 mg PO q 6 h) ให้เมื่อเริ่มมีอาการและให้ต่อเนื่อง 2-3 วัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 เดือนให้เปลี่ยนมาเป็น mefenamic acid (500 mg loading then 250 mg q 6 h x 2-3 d) แต่ในรายที่มี GI toxicity อาจใช้ celecoxib
  • Hormone contraception ในรายที่ต้องการคุมกำเนิดร่วมด้วย แนะนำ estrogen-progestin hormonal contraceptive (OCP, transdermal patch, vaginal rings) หรือ levonorgestrel releasing IUD
    • เปรียบเทียบ OCP ถ้ามีช่วง hormone-free interval สั้นจะดีกว่า (24/4 ดีกว่า 21/7) ส่วนปริมาณ estrogen มีผลไม่ต่างกัน

การรักษาขั้นที่ 2 ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อ NSAID + hormone contraception 3-6 เดือน ได้แก่ TENS (percutaneous tibial nerve stimulation สัปดาห์ละครั้ง x 12 สัปดาห์), GnRH agonists/antagonists (ปกติมักทำ laparoscopy ก่อนเพื่อยืนยัน endometriosis)

Refractory dysmenorrhea ได้แก่ endometrial ablation (ในรายที่มี heavy menstrual bleeding ร่วมด้วย), hysterectomy

 

การรักษาเสริมอื่นๆ

  • Behavioral counseling ได้แก่ การเปลี่ยนการรับรู้ความเจ็บปวด (desensitization-based procedures, hypnotherapy, imagery, coping strategies) และการเปลี่ยนการตอบสนองต่อความเจ็บปวด (biofeedback, electromyographic training, Lamaze exercises, relaxation training)
  • Physiotherapy เช่น isometric exercises, massage therapy, yoga, electrotherapy, connective tissue manipulation, stretching, kinesio tape, progressive relaxation exercises, aerobic dance
  • Alternative medicine เช่น acupuncture/acupressure (กดตำแหน่ง SP6 (Sanyinjiao), LI4 (Hegu), LR3 (Taichong) นาน 1 นาทีวันละครั้ง 5 วันก่อนประจำเดือนมา)




  • Diet/vitamins ได้แก่ low-fat vegetarian diet, dairy intake, vitamin E, vitamin B1, vitamin B6, fish oil, vitamin D3, ginger, omega-3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น