วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

หลักจริยธรรม (principlism) ในการดูแลแบบประคับประคอง

หลักจริยธรรม (principlism) ในการดูแลแบบประคับประคอง

ประกอบด้วย หลักการเคารพในบุคคล (Autonomy) หลักการทำในสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ (beneficence) หลักการไม่ทำอันตราย (non-maleficence) และหลักความยุติธรรม (justice)

ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทน (surrogate decision-makers) โดยปกติมีความน่าเชื่อถือมากกว่าให้แพทย์ตัดสินใจเองฝ่ายเดียว แต่บางสถานการณ์ที่การตัดสินใจของผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนอาจไม่ถูกต้อง และไม่สามารถทำได้ เช่น การตัดสินใจที่จะส่งผลเสียร้ายแรง หรือ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมานมากขึ้นโดยไม่จำเป็น

การรักษาที่ไร้ประโยชน์ (futile treatment) คือ การรักษาที่จะไม่เปลี่ยนผลลัพธ์ แต่ไม่ใช่การตัดสินใจเพื่อที่จะรักษาทรัพยากรให้คนที่มีโอกาสดีกว่า ผู้ป่วยต้องมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรต่างๆโดยเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังควรระวังเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้จ่ายเงินที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยมองว่าการรักษาประคับกระคองเป็นการรักษาที่ไร้ประโยชน์

ความขัดแย้งทางค่านิยม (conflicts of value) แพทย์ไม่ถูกผูกมัดให้ทำการรักษา เมื่อพบว่าการตัดสินใจของผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจแทนมีความน่ารังเกียจทางศีลธรรม (morally objectionable)

คำสั่งการงดนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (Do Not Resuscitate orders) ในสถานการณ์ที่ไม่ใช้ภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยกลุ่มที่เปราะบางควรพูดคุยถึงพยากรณ์โรคและเป้าหมายการรักษา ไม่ควรเริ่มจากการถามเรื่องคำสั่ง DNR ตั้งแต่แรก เมื่อเขียนคำสั่งไว้แล้วควรเขียนเหตุผลในการตัดสินใจไว้ด้วย

การยับยั้ง/การถอดถอนการรักษา (withholding/withdrawal treatment) ทั้งสองเรื่องนี้สามารถพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันได้

ครอบครัวร้องขอให้ปกปิดข้อมูล เนื่องจากความหวังดีต่อผู้ป่วย ให้แพทย์คุยเพื่อให้เข้าใจมุมมองของญาติ ถามญาติว่าทราบถึงความต้องการของผู้ป่วยได้อย่างไร พูดคุยถึงสถานการณ์ที่ผู้ป่วยถามแพทย์โดยตรงว่าจำเป็นต้องบอกความจริงแต่บอกแบบค่อยเป็นค่อยไป มีความยืดหยุ่นต่อหลัก autonomy เช่น ให้โอกาสผู้ป่วยสามารถยกหน้าที่การตัดสินใจให้สมาชิกในครอบครัวหรือแพทย์   

 

Ethical consideration

Pain management

การรักษาอาการเจ็บในภาวะสุดท้ายของชีวิตถือเป็นสิทธิผู้ป่วย และเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมและทางกฎหมายของแพทย์

การรักษาอาการเจ็บอย่างเต็มรูปในภาวะสุดท้ายของชีวิตสามารถทำได้ตามกฎหมายและเป็นไปตามหลักจริยธรรม แม้การเสียชีวิตจะถูกเร่งให้เร็วขึ้นก็ตาม แต่เป็นการกระทำด้วยเจตนาดีเพื่อบรรเทาอาการปวดและไม่ได้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ซึ่งเป็นไปตามหลักการของผลลัพธ์สองด้าน (principle of double effect)

การลดระดับความรู้สึกเพื่อการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative sedation) ในผู้ป่วยส่วนน้อยที่ไม่สามารถควบคุมอาการปวดได้ (โดยผู้เชี่ยวชาญเรื่อง pain management)

 

การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ (physician-assisted suicide) มีการปฏิบัติในผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการร้องของจากผู้ป่วย โดยแพทย์มักให้ยากลุ่ม barbiturate ให้ผู้ป่วยกินเอง (ปัจจุบันนิยมให้ D-DMA คือ digitalis 100 mg รอ 30 นาทีแล้วกิน diazepam 1 g + morphine 15 g + amitriptyline 8 g) ต่างจากการุณยฆาต (euthanasia) ที่แพทย์เป็นคนฉีดยาให้

 

การรักษาที่ไม่น่าเกิดประโยชน์ (potentially inappropriate treatment) ในกรณีแพทย์ที่ทำการรรักษาเห็นว่าการรักษานั้นไม่น่าเกิดประโยชน ซึ่งขัดแย้งกับความต้องการของผู้ป่วยหรือผู้ทำหน้ที่ตัดสินใจแทน

  • ถ้าการรักษานั้นไม่มีทางทำให้ถึงเป้าหมายในการรักษาได้ ถือว่าเป็น การรักษาที่ไร้ประโยชน์ (futile treatment) แพทย์ไม่ต้องทำการรักษานั้น แต่ให้อธิบายและดูแลสภาพจิตใจญาติ
  • ควรหาความเห็นจากแพทย์ท่านอื่นเพื่อยืนยันพยากรณ์โรคและการตัดสินใจว่าเป็นการรักษาที่ไม่น่าเกิดประโยชน์
  • อาจทำการทบทวนเคสโดยคณะกรรมการสหสาขาวิชา
  • ถ้าการรักษานั้นอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้และแพทย์ยอมรับได้ ควรที่จะกระทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น