วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Fibromyalgia

Fibromyalgia

กลไกการเกิดโรค เชื่อว่า FM ส่วนหนึ่งมีพื้นฐานจากพันธุกรรม พบว่ามีความผิดปกติของการนอนนำมาก่อนอาการปวด ปัญหาในการนอนและอาการปวดนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง ก่อให้เกิดคลื่นประสาทที่มากกว่าปกติ ซึ่งการตรวจ fMRI ยืนยันว่าประสาทส่วนกลางมีความไวผิดปกติ (central sensitization)

ลักษณะของ FM จะมีอาการปวดเรื้อรัง > 3 เดือน ปวดกระจายหลายตำแหน่ง มีอาการอ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอน การรู้คิด และทางอารมณ์ ตรวจร่างกายพบจุดกดเจ็บหลายตำแหน่ง โดยที่ไม่มีข้อบวมหรืออักเสบให้เห็น ตรวจ lab CBC, ESR/CRP ปกติ (เพื่อแยก rheumatic disorders และอาจตรวจ TSH, CK ถ้าสงสัย hypothyroidism หรือ Inflammatory myopathy)

ตรวจหาโรคร่วม ถ้าสงสัย เช่น sleep disorder (เช่น OSA, RLS) หรือ mood disorder (anxiety, depression)

การรักษา

  • การให้ความรู้ อธิบายกลไกการเกิดโรค ความสำคัญของการนอนและสุขอนามัยการนอนหลับ ความสำคัญในการรักษาโรคร่วม (mood, sleep disorders) แนะนำลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักเกิน รวมถึงการทำ cognitive behavioral therapy
  • การรักษาโรคร่วม เช่น sleep disorders (OSA. RLS), mood disorder (depression), pain conditions อื่นๆ (RA, OA, shoulder pain)
  • ออกกำลังกาย low-impact aerobic เช่น เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ
  • การให้ยารักษาในรายที่มีอาการปานกลางขึ้นไป หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น แนะนำให้ amitriptyline 5-10 mg 1-3 ชม.ก่อนนอน ค่อยๆเพิ่มทีละ 5 mg ไม่เกินทุก 2 สัปดาห์จนตอบสนอง (25-50 mg)
    • ในรายที่ไม่ตอบสนอง ให้ยาหลายกลุ่มร่วมกัน เช่น ถ้ามีอาการอ่อนเพลียเด่นให้เพิ่ม duloxetine, milnacipran หรือถ้ามีปัญหาในการนอนเด่นให้เพิ่ม pregabalin 25-50 mg PO hs (เพิ่มได้ถึง 300-450 mg/d)
  • ในรายที่อาการไม่ดีขึ้น พิจารณาทำ physical therapy และปรึกษา specialist

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น