วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Chronic dyspnea

Chronic dyspnea

ลักษณะการบรรยายความเหนื่อย

  • แน่นหน้าอก หน้าอกเหมือนโดนรัด (chest tightness, constriction) จาก bronchoconstriction, interstitial edema จาก asthma, myocardial ischemia
  • ต้องใช้แรงในการหายใจมากขึ้น (increase work of breathing)
  • หิวอากาศ อยากหายใจ (air hunger, urge to breath)
  • หายใจได้ตื้นๆ หายใจถี่ ๆ (rapid, shallowing breathing) จาก chest wall หรือ pulmonary compliance ต่ำ เป็นลักษณะของ interstitial fibrosis
  • อึดอัด หายใจยาก (suffocating, smothering) เกิดจาก alveolar edema เป็นลักษณะของ pulmonary edema
  • หายใจหนักๆ  

ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่พบบ่อย 5 อย่าง ได้แก่ asthma, COPD, interstitial lung disease, myocardial dysfunction, obesity/deconditioning เมื่อได้โรคที่น่าจะเป็นแล้วก็ทำการตรวจเพิ่มเติม

ถ้าไม่สามารถแยกโรคได้ชัด อาจตรวจเบื้องต้นทั้งหมด ดังนี้

  • CBC, glucose, BUN, Cr, electrolytes, TSH, NT-proBNP
  • Spirometry ก่อนและหลังให้ inhaled bronchodilator
  • SpO2 ระหว่างเดิน 200 เมตร หรือ ขึ้นบันได 2-3 ชั้น
  • CXR, ECG

 

หลังจากตรวจเบื้องต้น ในรายที่การวินิจฉัยยังไม่ชัดเจน จะเลือกการส่งตรวจในขั้นที่สองเพิ่มเติม ได้แก่

  • Pulmonary function tests ทำการตรวจประเมิน lung volume และ diffuse capacity for carbon monoxide (DLCO) เพื่อวินิจฉัยแยกโรค (ดูภาพด้านล่าง)
    • ในรายที่ผลการตรวจ spirometry เป็น restrictive pattern
    • ในรายที่ยังสงสัย asthma แต่ spirometry ผลปกติ ให้ตรวจ bronchoprovocation test
    • ในรายที่สงสัย UAO แต่ไม่มีผล flow-volume loop จาก spirometry

Data from Pellegrino R, Viegi G, Brusasco V, et al. Interpretive strategies for lung function tests. Eur Respir J. 2005;26:948–68; and Al-Ashkar F, Mehra R, Mazzone PJ, et al. Interpreting pulmonary function tests: recognize the pattern and the diagnosis will follow. Cleve Clin J Med. 2003;70(10):866, 868, 871–73.

  • CT chest ช่วยวินิจฉัย ILD, large airway obstruction, หรือทำ CT pulmonary angiogram ช่วยวินิจฉัย pulmonary embolism
  • Echocardiography ช่วยวินิจฉัย LV dysfunction, diastolic dysfunction, pericardial disease, และ pulmonary HT

ในรายที่ให้การวินิจฉัยและการรักษาแล้ว แต่ยังไม่ตอบสนองต่อการรักษา พิจารณาส่งตัวให้แพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำตรวจเพิ่มเติม เช่น bronchoscopy, cardiopulmonary exercise test, pulmonary artery catheterization

ถ้าตรวจไม่พบสาเหตุ แนะนำโปรแกรมฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกาย และนัดติดตามอาการในอีก 6-12 เดือน

ปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเจ็บปวด อาจทำให้หายใจเร็วขึ้นจนไปชนกับ pulmonary reserve ที่น้อยอยู่แล้วจนทำให้เหนื่อยได้ หรือ คนที่เป็น hyperventilation syndrome จะรู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สุด ทั้ง ๆที่ tidal volume มากกว่าปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น