วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Pertussis infection

Pertussis infection

เกิดจากเชื้อ Bordetella pertussis เป็น fastidious gram-negative coccobacillus ต้องใช้ special media ในการ culture พบเฉพาะในมนุษย์ ระยะฟักตัวประมาณ 7-10 วัน (6-20 วัน) แพร่กระจายทางละอองฝอย (droplets) อาการรุนแรงสุดในเด็ก ในทารก < 1 ปี ในเด็กที่ได้ vaccine หรือเด็กโตอาจมีอาการสั้นกว่าและไม่รุนแรง

อาการมี 3 ระยะ คือ catarrhal stage 1-2 สัปดาห์ มีอาการแบบไข้หวัด ระยะนี้แพร่กระจายเชื้อมากที่สุด, paroxysmal stage 2-8 สัปดาห์ จะไอติดๆกัน แล้วตามด้วยหายใจเข้าเสียง วูฟ และอาเจียน, convalescent stage อาการไอทุเลาลงในหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน

Lab ไม่จำเพาะ พบ lymphocytosis ถ้ามี WBC > 30,000 สัมพันธ์กับโรคที่รุนแรงต้องนอน ICU อาจตรวจยืนยันด้วย nasopharyngeal secretion C/S + PCR, หรือ serology (เฉพาะในเด็ก > 4 เดือนที่ไอ > 3 สัปดาห์)

สงสัย pertussis ในเด็กที่ไอ แต่ไม่มีไข้

  • ในเด็ก < 4 เดือน อาการไอไม่ดีขึ้น มีน้ำมูกใส มี apnea, seizure, cyanosis, vomiting, poor weight gain ตรวจ CBC พบ WBC > 20,000 + > 50% lymphocyte หรือ มี pneumonia
  • ในเด็ก > 4 เดือน มีไอติดๆกัน เป็น > 7 วัน น้ำมูกใส มี วูฟ apnea, posttussive vomiting, subconjunctival hemorrhage, cyanosis, เหงื่อแตกระหว่างไอ หรือรบกวนการนอน

การรักษา

  • Admit ในเด็ก < 4 เดือน หรือ มีอาการรุนแรง เหนื่อย กินไม่ได้
  • รักษาตามอาการ (hydration, nutrition) หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้ไอ เช่น การออกแรง อากาศเย็น การดูดเสมหะ ยาทีไม่ช่วยได้แก่ bronchodilator, corticosteroids, antihistamine, antitussive
  • ATB ให้ azithromycin 10 mg/kg/d x 5 d (เด็ก > 6 เดือน ลดเหลือ 5 mg/kg/d ใน d2-5) ในรายที่สงสัยที่เป็นมา < 21 วัน หรือในรายที่ตรวจพบเชื้อ
  • สงสัย infantile hypertrophic pyloric stenosis ในเด็กทารกที่มีด้วยอาเจียนภายใน 1 เดือนหลังได้ macrolide ในช่วงอายุ < 1 เดือน
  • ให้ ATB prophylaxis ในคนที่ใกล้ชิด และในคนที่เสี่ยงจะเป็นรุนแรง
  • แนะนำให้ DTaP หรือ Tdap
  • เด็กสามารถกลับไปเรียนได้หลังได้ ATB ครบ 5 วัน หรือครบ 21 วันหลังเริ่มมีอาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น