วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Nocturia

Nocturia

คือ การที่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ที่มีความสำคัญมักเอาที่ > 2 ครั้ง เพราะเริ่มรบกวนการใช้ชีวิต

ทำ Frequency-volume chart อย่างน้อย 3 วัน จดเวลา ปริมาณ ตั้งแต่หลังเริ่มนอนจนกระทั้งปัสสาวะครั้งแรกตอนเช้าหลังตื่น

การรักษา

  • รักษาสาเหตุ เช่น polydipsia, CHF, poorly controlled DM, GERD/nocturnal cough, OSA, RLS, insomnia, obesity
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา (ได้ถึง 3 เดือน) ได้แก่
    • จำกัดปริมาณน้ำต่อวัน โดยเฉพาะช่วงบ่าย (ถ้าไม่ส่งผลกระทบต่อโรคประจำตัว)
    • ลดเกลือ
    • ลดคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ช่วงเย็น
    • คนที่ใช้ diuretic ตอนเย็น ให้เปลี่ยนเวลามาใช้ช่วงบ่ายๆโดยพิจารณาจากค่าครึ่งชีวิตของยา เช่น furosemide half-life ~1.5 ชั่วโมง, torasemide ~3.5 hours
    • คนที่ขาบวมให้ยกขาสูง 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
    • แก้ไข nocturnal hyperglycemia ใน DM
  • ปัสสาวะ 2 ครั้งก่อนเข้านอน คือ นั่งเอนตัวมาด้านหน้าปัสสาวะ แล้วรอ 20-30 วินาที ปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง
  • เตรียมกระบอกปัสสาวะไว้ข้างเตียง
  • ฝึก pelvic floor exercises (ขมิบค้าง 6-8 วินาที 8-12 ครั้ง 3 รอบ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ > 15-20 สัปดาห์) และ urge-suppression (เมื่อปวดปัสสาวะให้ขมิบเร็วๆ 3-5 ครั้ง)
  • ผู้ชายที่มี BPH ให้ทดลองรักษาด้วย α1-blockers หรือ 5α‐reductase inhibitors
  • Bladder muscle relaxant ในรายที่ไม่มี BPH และปัสสาวะออกครั้งละน้อย ได้แก่ antimuscarinics เช่น oxybutynin ER 10 mg (หลีกเลี่ยงใน cognitive dysfunction เช่น delirium, dementia, confusion) หรือ β3-agonists เช่น mirabegron (ระวังใน tachycardia, poorly controlled HT) และใน postmenopausal women ที่อาการยังไม่ดีขึ้นให้ topical vaginal estrogen เพิ่ม
  • Refractory nocturia ที่อายุ < 65 ปี +  พิจารณาให้ Desmopressin ต้องตรวจ baseline Na ให้ตรวจ serum Na ที่ 4-8 วันและที่ 1 เดือน รวมทั้งสังเกตอาการของ hyponatremia (คลื่นไส้ อาเจียน เซื่องซึม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น