Erythema nodosum
EN เป็น delayed-type hypersensitivity ที่ยังไม่ทราบกลไกการเกิดชัดเจน มักพบในผู้หญิงวัยกลางคน ซึ่งเกิดการอักเสบในชั้น
subcutaneous fat โดยมีสิ่งกระตุ้นที่พบ เช่น infection
(bacteria เช่น streptococcal infection [พบบ่อยที่สุด],
TB, fungus, virus), drug (เช่น OCP), IBD, malignancy (เช่น lymphoma, AML), sarcoidosis, pregnancy เป็นต้น
- อาจมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดข้อ หรือ URI นำมาก่อน 1-3 สัปดาห์
แล้วมี tender erythematous nodule ที่หน้าแข้งสองข้าง
ซึ่งจะหายเองภายใน 8 สัปดาห์ อาจเหลือเป็นรอยช้ำ (erythema
contusiformis) หรือเป็น hyperpigmentation
- ให้ซักประวัติ การติดเชื้อ (constitutional symptoms, URI, diarrhea) และยา และตรวจร่างกายหาสาเหตุ โดยเฉพาะที่พบบ่อยสุด คือ streptococcal
pharyngitis
- วินิจฉัยได้จากอาการทางคลินิก แต่บางรายที่ไม่ตรงไปตรงมา ควรทำ biopsy เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
เช่น เป็นตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่หน้าขา มี purpura, ulceration, หรือ nodule > 5 ซม. หรือมีภาวะ
immunosuppression
Ix: CBC (infection, malignancy), ESR/CRP, ASO titers,
CXR (sarcoidosis, TB, pneumonia, lymphoma), tuberculin skin test หรือ
interferon-gamma release assay
Tx:
- รักษาสาเหตุที่พบ ปกติโรคมักหายเองในเวลา 2-3 สัปดาห์
ให้ยกขาสูง พัก และใส่ stocking 15-20 mmHg
- ในรายที่มีอาการมาก ปวด ลงน้ำหนักไม่ได้ เป็นบริเวณกว้าง
หรือเป็นเรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ แนะนำให้ยาขนานแรก คือ NSAID (ระวังในรายที่มี
IBD) และ potassium iodide (ยกเว้นในรายที่เป็น
TB) ซึ่งอาการปวดจะดีขึ้นใน 24 ชม.
ให้ SSKI 300 mg PO TID นาน 2-3 สัปดาห์ หลังอาการหาย (ถ้าให้นาน > 4 สัปดาห์ ควรตรวจ TSH)
- ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อยาขนานแรก หรือมีอาการรุนแรง ให้ prednisolone 20 mg PO OD x
7-10 วัน (ห้ามให้ใน TB) หรือให้ triamcinolone acetonide 10-20 mg intralesional injection
- ในรายที่ไม่ดีขึ้น หรือเป็นเรื้อรัง พิจารณาให้ยา เช่น dapsone, colchicine,
hydroxychloroquine เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น