Circadian sleep-wake rhythm disorder
ความผิดปกติของวงจรการนอนหลับเกิดได้จากปัจจัยภายนอก
เช่น การทำงานเป็นกะ การเดินทางข้ามเขตเวลา และปัจจัยภายใน ได้แก่
- Delayed sleep-wake phase disorder (DSWPD) คือ
นอนดึกกว่าเวลาปกติ > 2 ชม. มักพบในวัยรุ่น
ซึ่งต้องตื่นเช้ามาทำงาน ทำให้อดนอนเรื้อรัง แนะนำให้งดกาแฟ บุหรี่ แอลกอฮอล์
งดงีบหลับตอนกลางวัน หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นก่อนนอน วันหยุดไม่นอนตื่นสาย >
30 นาที ให้ค่อยๆนอนให้เร็วขึ้น แล้วพยายามนอนหลับให้ตรงตามเวลา
อาจใช้ light therapy ร่วมด้วย โดยให้โดนแสงหลังตื่นนอน 1000
lux นาน > 30 นาที แล้วค่อยๆให้เร็วขึ้น
30 นาทีจนกระทั่งถึง 6.00 น. แล้วจึงหยุดยา โดยแนะนำให้ตื่น 6.30-7.30 น. ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้กิน melatonin 3-5 mg ก่อนเวลานอน
1.5 ชม.
- Advanced sleep-wake phase disorder (ASWPD) คือ
ง่วงนอนเร็วและตื่นเร็วกว่าที่ต้องการ แม้ว่าช่วงเย็นจะพยายามตื่น แต่ก็ตื่นเช้ากว่าปกติอยู่ดี
ทำให้นอนไม่พอ ให้ทำ light therapy โดยให้โดนแสงสว่าง
2500-10000 lux แนะนำให้อยู่ห่างไฟ 1-2 ฟุต
เริ่มเวลาช่วงเย็นที่มักจะรู้สึกง่วงนาน 1-3 ชม. ให้หลีกเลี่ยงยานอนหลับ
- Non-24-hour sleep-wake phase disorder มักเป็นในคนตาบอด
ร่างกายไม่ได้สัญญานจากแสงภายนอก มักสลับไปมาระหว่างการนอนได้ใกล้เคียงปกติ กับ
กลางคืนนอนไม่หลับและง่วงกลางวัน แนะนำให้ melatonin 0.5 mg หรือ Tasimelteon
20 mg ก่อนเวลาที่ต้องการนอน 1 ชม.
- Irregular sleep-wake rhythm disorder (ISWRD) จังหวะการหลับตื่นไม่สัมพันธ์กับ
circadian
system อาจพบในผู้ป่วย dementia มาด้วยนอนไม่หลับหรือหลับๆตื่นๆ
มักหลับรอบละ 1-4 ชม. วันละ >
3 รอบ (ดูเรื่อง dementia ด้านล่าง)
- Shift work disorder หลังจากลงเวรดึกควรนอนให้เพียงพอ
7-9 ชม. ต่อวัน ให้แบ่งเป็นเวลานอนประจำตอนกลางวัน 3-4
ชม.
ที่เหลือให้ปรับตามหน้าที่ความรับผิดชอบอื่นๆ อาจใช้ short acting BZD
(zolpidem) หรือ melatonin; วิธีแก้อาการง่วงช่วงอยู่เวรดึก
ให้นอนงีบ < 1 ชม.ก่อนหรือระหว่างอยู่เวรดึก
ดื่มกาแฟ หรือถ้าง่วงมากอาจใช้ยา armodafil หรือ modafinil
- Jet lag disorder เกิดเมื่อเดินทางข้าม > 2 เขตเวลา
- ไปทางตะวันออกข้าม < 7 เขตเวลา
ก่อนเดินทางให้ bright light therapy 1-3 วัน
โดยตื่นเร็วขึ้น 1 ชม.แล้วโดนแสงจ้า >
1 ชม. ร่วมกับนอนเร็วขึ้น 1 ชม. เมื่อเดินทางไปถึงให้หลีกเลี่ยงแสงแดดตอนเช้า
แต่ให้ถูกแดดช่วงสาย (3-5 เขตเวลา)
หรือช่วงบ่าย (6-7 เขตเวลา)
หรือให้ดูว่าอุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำที่สุดกี่โมง (CBTmin) ซึ่งปกติ
คือ 3 ชม.ก่อนตื่น (ประมาณ 4.00 am) เมื่อเดินทางไปที่ใหม่ให้ดูว่า CBTmin
เลื่อนไปอยู่กี่โมง เช่น เวลาที่ใหม่เร็วกว่า 5 ชม.แสดงว่า CBTmin คือ
9.00 am ให้หลีกเลี่ยงแสงจ้าก่อน 9.00 am และให้โดนแสงจ้าหลัง
9.00 am แล้วให้เลื่อนเวลาถูกแดดให้เช้าขึ้นในวันต่อมา
สามารถใช้ melatonin 3 mg กินก่อนนอน 1-5 วัน
- ไปทางตะวันออกข้าม > 8 เขตเวลา ให้โดนแดดตอนเช้า
และหลีกเลี่ยงแสงจ้าช่วงบ่ายแก่และตอนเย็น 2-3 วัน
- ไปทางตะวันตกข้าม < 12 เขตเวลา
ให้ดูว่าอุณหภูมิแกนของร่างกายต่ำที่สุดกี่โมง (CBTmin) ซึ่งปกติ
คือ 3 ชม.ก่อนตื่น (ประมาณ 4.00 am) ให้ดูว่าหลังเดินทางไปที่ใหม่ CBTmin
อยู่ที่กี่โมง เช่น ถ้าเวลาที่ใหม่ช้ากว่า 5 ชม. แสดงว่า CBTmin จะอยู่ที่ 11.00 pm เมื่อไปถึงให้โดนแสงจ้าตั้งแต่เย็นถึง 11.00 pm หลังจากนั้นให้หลีกเลี่ยงแสงจ้า
- Dementia with sleep-wake disturbance แนะนำให้ปรับสิ่งแวดล้อม
(กลางคืนให้มืด เงียบ ไม่ถูกรบกวน กลางวันแสงสว่าง) ให้นอนตื่นเป็นเวลา โดนแสงแดดหรือแสงสว่าง 10,000 lux >
30 นาทีช่วงเช้า ดูยาที่อาจเป็นสาเหตุ หยุดยาที่เป็น stimulant
หรือเปลี่ยนไปกินตอนเช้า รวมถึง diuretic และ
รักษาโรคร่วม เช่น OSA, restless leg syndrome, periodic limb movement
disorder
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น