ส่วนมากเกิดจาก norovirus และ rotavirus
ประวัติ
- มาด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว และปวดท้อง พบอาการทางเดินหายใจ
(ไอ
เจ็บคอ น้ำมูก) ร่วมด้วยประมาณ 10%
- ลักษณะที่ช่วยแยกการติดเชื้อไวรัสออกจากแบคทีเรีย ได้แก่ ระยะฟักตัวปานกลาง
(24-60 ชม.) มีอาการอาเจียนเด่น และไม่มีถ่ายเป็นเลือด ส่วนระยะเวลาที่เป็นมีการคาบเกี่ยวกันระหว่างไวรัสและแบคทีเรีย
เช่น norovirus จะเป็นนานประมาณ 2 วัน rotavirus
เป็นประมาณ 3-8 วัน ส่วน Campylobacter
และ Salmonella เป็น 2-7 วัน
ตรวจร่างกาย อาจมี diffuse
abdominal tenderness, พบ fever (38.3-38.9oC)
ประมาณ 50%
สัญญาณเตือนที่ควรตรวจ
Lab หรือรับไว้ในโรงพยาบาล ได้แก่
- กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ อายุ >
65 ปี ตั้งครรภ์ มีโรคประจำตัว (DM, immunocompromised) นอนโรงพยาบาลหรือได้ ATB มาภายใน 3-6 เดือน
- ปวดท้องรุนแรง ขาดน้ำรุนแรง
ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลด เป็นนาน > 1 สัปดาห์
หรือ มีความผิดปกติของ renal หรือ electrolytes
Lab: stool studies (fecal leukocyte, lactoferrin,
C/S); CBC ใช้แยกระหว่างไวรัสกับแบคทีเรียไม่ได้; Cr,
electrolytes ในรายที่มีข้อบ่งชี้
การวินิจฉัยแยกโรค
ถ้ามีท้องเสีย > 1 สัปดาห์ ร่วมกับประวัติท่องเที่ยว ปีนเขา
หรือ oral-anal sex ต้องตรวจหา protozoa (Giardia,
cryptosporidium) หรือในรายที่มีประวัติใช้ ATB หรือ admit ต้องตรวจหา Clostridium difficile
หรือ ถ้ามีระยะฟักฟตัวสั้น (< 8-16 ชั่วโมง)
กว่าไวรัสปกติอาจเกิดจาก S. aureus
การรักษา
- Fluid replacement ให้กิน ORS ยกเว้นในรายที่มี severe hypovolemia, กินไม่ได้, bowel ileus, หรือ ซึม ควรให้ IV NSS หรือ RLS
- Diet ไม่จำกัด ให้พยายามกินเท่าที่ได้
การกินทีละน้อยจะกระตุ้นให้อาเจียนมากกว่ากินทีเดียว
- Probiotics ที่มีงานศึกษา เช่น Lactobacillus
GG ลดระยะเวลาถ่ายเหลวได้ โดยเฉพาะ rotavirus (เฉลี่ย 1 วัน), S.
boulardii ลดถ่ายเหลวได้ 1 วัน
- Zinc แนะนำให้เสริมในเด็กที่ถ่ายเหลว โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่พบอุบัติการณ์
zinc deficiency สูง
- Antimotility อาจให้ในรายที่ถ่ายปริมาณมากหรือมีอาการขาดน้ำ
แต่ต้องไม่มีไข้สูง
- Antiemetic ให้ ondansetron 1-2 วัน ซึ่งได้ผลดีกว่ายาแก้อาเจียนชนิดอื่น
- Antibiotic ไม่แนะนำ แต่ในรายที่รักษาตามอาการแล้วไม่ดีขึ้นใน
7 วันหรืออาการแย่ลงให้ตรวจเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น