อาการและอาการแสดง ได้แก่ เบื่ออาหาร ปวดท้องกลางสะดือ ต่อมาย้ายมาปวดที่ RLQ ปวดเวลาขยับตัว อาเจียน ไข้ (24-48 ชม.หลังเริ่มปวดท้อง) กดเจ็บที่ RLQ และตรวจพบ sign ของ peritoneal irritation (pain on percussion, tenderness with coughing/hopping, rebound, guarding)
อาการเหล่านี้พบในเด็กวัยเรียน แต่ในเด็ก < 5 ปี อาการอาจไม่ชัดเจน
การตรวจร่างกาย (อาจต้องให้ opioid ก่อนเพื่อให้ตรวจได้ชัดเจนมากขึ้น) ที่น่าเชื่อถือมากที่สุด คือ มี local tenderness + some abdominal wall rigidity
Lab test ช่วยสนับสนุนหรือคัดค้าน (แต่ใช้ยืนยันไม่ได้) ได้แก่ CBC พบ WBC > 10,000; ANC > 7,500; CRP > 10 mg/L; UA, UPT
การวินิจฉัย
ประเมินโอกาสเป็นโดยใช้ The Pediatric Appendicitis Score
- Low risk ไม่ต้องทำ imaging ในรายที่สงสัยน้อย (PAS < 2) หรือมีโรคอื่นที่อธิบายอาการปวดได้ (เช่น streptococcal pharyngitis, pneumonia, PID) แต่ถ้ามี RLQ pain/tenderness อาจนัดประเมินซ้ำที่ 12-24 ชม. หรือ admit ทำ serial examination
- Moderate risk (PAS 3-6) แนะนำให้ทำ US
- High risk (PAS > 7) แนะนำให้ consult surgeon ได้เลย หรือถ้าต้องทำ imaging ก่อน แนะนำให้ทำ US
- กรณีทำ US แล้วแต่ผลไม่ชัดเจน (indertiminate: equivocal หรือ appendix not seen) อาจ consult surgeon, admit ทำ serial examination และทำ US ซ้ำ, หรือทำ MRI (หรือ CT with IV contrast)
การรักษา
Uncomplicated appendicitis แนะนำ appenedectomy แต่ในรายที่ไม่มีความเสี่ยงต่อ perforation (ได้แก่ ปวดท้อง > 48 ชม., WBC > 18,000; elevated CRP, appendicolith, appendix diameter > 1.1 cm, clinical suspected perforation) และมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัด อาจพิจารณา nonoperative treatment
- Preoperative ATB แนะนำ ((cefoxitin หรือ ceftriaxone) + metronidazole) หรือ piperacillin/tazobactam หรือถ้าแพ้ penicillin ให้ ciprofloxacin + metronidazole ให้ได้ทันที และให้ซ้ำก่อนผ่าตัด 1 ชม.ถ้าได้ ATB ล่าสุดเกิน 6 ชม. (หรือ cefoxitin เกิน 1-2 ชม.)
- หลังผ่าตัดเมื่อตื่นสามารถให้กินได้เลย ให้ยาแก้ปวดแบบกิน และส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน
Complicated appendicitis
- Perforated appendicitis ทำ laparoscopic appendectomy และให้ preop + postoperative ATB จนกระทั่งไม่มีไข้และกินได้ปกติ ถ้ายังมีไข้หรือกินไม่ได้หลัง 7-10 วันต้องทำ imaging ซ้ำ (r/o abscess); รักษาตามอาการอื่นๆ เช่น pain control (scheduled paracetamol + ketorolac/brufen +/- opioid), parenteral nutrition (ถ้า malnutrition หรือกินไม่ได้ > 5-7 วัน), intestinal dysfunction (NG ใน persistent vomiting, abdominal distention)
- Abscess/phlegmon ถ้า ill-apperance ให้ทำ appendectomy แต่ถ้า well-appearing ที่เป็นมา > 7 วัน ให้ IV ATB และทำ interval appendectomy 10-12 สัปดาห์ (อาจไม่ทำถ้าไม่มี appendicolith)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น