วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

Hypertension

Hypertension

·      HT เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อ premature CVD (สำคัญกว่า smoking, DLP, DM) โดยความเสี่ยงจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อ BP > 115/75 พบว่าการลด BP ลง 5, 10 mmHg จะลดความเสี่ยงลงได้ 10, 20 %

 

การวินิจฉัย

·      เกณฑ์ปกติ คือ SBP < 120 mmHg หรือ DBP < 80 mmHg ส่วน HT stage 1 คือ SBP 130-139 mmHg หรือ DBP 80-89 mmHg และ stage 2 คือ SBP > 140 mmHg หรือ DBP > 90 mmHg

·      เกณฑ์ ambulatory BP monitoring (ABPM) ได้แก่ 24-h mean SBP > 125 mmHg หรือ DBP > 75 mmHg; awake mean SBP > 130 mmHg หรือ DBP > 80 mmHg; asleep mean SBP > 110 mmHg หรือ DBP > 65 mmHg

·      การวัด BP ให้ใช้ oscillometric BP device แนะนำให้ผู้ป่วยนั่งพักคนเดียวหรือมีคนอยู่ด้วย และวัดหลายๆครั้งด้วย automated office BP (AOBP) จะช่วยวินิจฉัยได้ดีกว่า และลด white coat effect

·      แนะนำให้ยืนยันการวินิจฉัยด้วย ABPM ที่บ้าน โดยวัดที่ brachial artery ขณะนั่งพักในห้องเงียบๆ มีที่พิงหลังและที่วางแขนและไม่ไขว้ขา วัดเช้า-เย็น > 12-14 ครั้ง ใน 1 สัปดาห์ ถ้าทำ AOBP ไม่ได้ให้นัดมาวัด BP > 3 ครั้งในช่วงหลายสัปดาห์-เดือน แล้วดูค่าเฉลี่ย ยกเว้นในรายที่มาด้วย SBP > 180 mmHg หรือ DBP > 120 mmHg หรือใน SBP > 160 mmHg หรือ DBP > 100 mmHg ที่รู้ว่ามี target-organ damage (LVH, hypertensive retinopathy, ischemic CVD)

·      วัด BP ที่บ้าน เพื่อประเมิน white coat HT ทุกรายที่ BP > 130/80 ที่ลองทำ lifestyle modification x 3 เดือนแล้ว (ยกเว้น BP > 180/120 หรือมี end-organ damage + BP > 160/100), treatment resistant, หรือมีอาการของ hypotension ที่บ้าน; ประเมิน masked HT ในรายที่ BP ต่ำกว่าเป้าหมาย < 10 mmHg, หรือมี elevated ASCVD risk, CKD, DM, end-organ damage; ในรายที่ BP ต่างกันมากในแต่ละครั้ง

·      Pulse pressure ที่สูงในคนสูงอายุแสดงถึง aortic stiffness คือ elasticity น้อยทำให้ aortic blood volume ช่วง diastolic น้อย เพราะเลือดผ่านไปช่วง systolic หมด ด้านหัวใจจะมี systolic pressure สูง ทำให้ myocardial ต้องการ oxygen มากขึ้น และช่วง diastolic pressure น้อยทำให้ coronary perfusion ลดลง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ CHD ในคนอายุ > 50 ปี

·      Labile HT คือ BP ขึ้นชั่วครู่ มักสัมพันธ์กับ sympathetic activity ต่อ stressor ในรายที่เป็นเฉียบพลัน ให้แนะนำว่า BP ขึ้นจากความวิตกกังวล ไม่แนะนำให้วัด BP บ่อยๆ อาจให้ยาในรายที่มีอาการ มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หรือ BP สูงมาก (SBP > 180-200) ให้ BZD (alprazolam) +/- short-acting anti-HT (labetalol, clonidine); ในรายที่ HT + labile HT ให้ยา anti-HT ตามปกติ + add (beta-blocker + alpha blocker)

 

การประเมิน

·      ประเมิน (สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อน โรคร่วม) target-organ damage + secondary cause of HT + ASCVD risk factor ได้แก่ คลำ pulse ฟังท้อง (renal artery bruit) ตรวจ lab (Cr, electrolytes, glucose, lipid profiles, UA, urine albumin/creatinine ratio) + ECG

·      ประเมิน life-style และยาที่ทำให้เกิด HT

 

การรักษา

Non-pharmacologic therapy

·      อาหาร ให้ลด sodium (NaCl < 6 g/d, Na 2.3 g หรือ 100 mEq) และเพิ่ม potassium (K > 120 mEq หรือ 4.7 g/d) แนะนำให้กินผัก ผลไม้ ถั่ว นมไขมันต่ำ ลดเนื้อ ของหวาน ขนมขบเคี้ยว

·      Caffeine ถ้ากิน < 6 ถ้วยต่อวัน ไม่มีผลต่อ CVD อาจลองงดในรายที่มีอาการใจสั่น และมีผลเพิ่ม BP เล็กน้อย

·      ออกกำลังกาย แนะนำ moderate dynamic aerobic exercise 150 นาที/สัปดาห์ (30 นาที/วัน x 5 วัน) หรือ vigorous (75 นาที/สัปดาห์ x 3 วัน) อาจทำ medical clearance ในบางราย เช่น angina, dyspnea, syncope, arrhythmia, cardiac murmur

·      Smoking ทำให้ BP สูงขึ้นนาน 30 นาที แต่ผลระยะยาวไม่ชัดเจน พบว่า BP ต่ำกว่าคนไม่สูบ แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อ masked HT, renovascular HT, severe hypertensive retinopathy, arterial stiffness; e-cigarette ทำให้ DBP เพิ่มขึ้นชั่วคราว

·      Obesity (ดู ergoldbook) ได้แก่ lifestyle modification (เป้า 5-7% ใน 3-6 เดือน), กินยา (BMI > 30, BMI > 27 + comorbidity; แนะนำ GLP-1 คือ semaglutide และอื่นๆ ได้แก่ phentermine-topiramate, orlistat, bupropion-naltrexone, phentermine), device, และการทำ bariatric surgery (BMI > 35, BMI > 30 + DM); กิน beta-blocker อาจทำให้ลดน้ำหนักยาก ร่างกายจะมี “set-point” ของ adipose tissue mass การพยายามลดนำไปสู่ความล้มเหลวซ้ำๆ การทำ bariatric surgery อาจเปลี่ยน set point ได้ รวมถึงการกินยาระยะยาว

 

เกณฑ์การเริ่มให้เริ่มยารักษา

·      ABPM daytime mean SBP > 135 mmHg หรือ DBP > 85 mmHg (หรือ office mean SBP > 140 mmHg หรือ DBP > 90 mmHg)

·      ABPM daytime mean SBP > 130 mmHg หรือ DBP > 80 mmHg (หรือ office mean SBP > 130 mmHg หรือ DBP > 80 mmHg) ร่วมกับ CVD (เช่น chronic coronary syndrome, heart failure, carotid disease, previous stroke, peripheral artery disease), DM type 2, CKD, อายุ > 65 ปี, 10-y risk of atherosclerotic CVD > 10%

·      ยังไม่ควรเริ่มให้ยาใน HT stage 1 สำหรับคนอายุ > 75 ปี หรือมีความเสี่ยงต่อการรักษา (recurrent fall, dementia, multiple comorbidities, orthostatic hypotension, nursing home, limited life expectancy) ที่ยังไม่มี CVD, DM, CKD

 

เป้าหมาย BP

·      ABPM (หรือ mean office) BP 125-135/<90 mmHg

·      Multiple risk/Established ASCVD, 10-y ASCVD risk > 15%, heart failure, DM, CKD, อายุ > 65 ปี ให้ ABPM SBP 120-125/<80 mmHg ยกเว้น recent stroke (2 สัปดาห์ - 6 เดือน) with significant large artery disease ให้ลดอย่างระมัดระวัง อย่างน้อยลด > 10/5 mmHg

·      Highly variable BP, postural hypotension, side effects จาก multiple antihypertensive medications, หรือ อายุ > 75 ปี + (high burden of comorbidities หรือ DBP < 55 mmHg) ให้ ABPM SBP 130-135 mmHg และ DBP < 85 mmHg; เป้าหมายที่สมเหตุสมผลในคนสูงอายุ คือ SBP เท่าที่ได้หลังจากได้ยา 2-3 ชนิดแล้ว

 

การรักษา

การเริ่มยา anti-HT

·      ถ้า BP < 140/90 mmHg ให้เริ่มยา 1 ตัว (ACEI/ARB หรือ dihydropyridine CCB) แต่ถ้า BP เกินเป้าหมาย > 10 mmHg ให้เริ่มยา 2 ตัว (ACEI/ARB + CCB) โดยเริ่มในขนาดต่ำ ๆ แต่ให้ปรับยาทุก 4 สัปดาห์ เมื่อได้ตามเป้าให้นัดทุก 3-6 เดือน; ติดตาม Cr, electrolytes 1-3 สัปดาห์หลังให้หรือปรับยา ACEI, ARB, mineralocorticoid receptor antagonist, diuretic

·      Thiazide อาจพิจารณาให้เป็น monotherapy หรือให้คู่กับ ACEI/ARB ถ้ามีโรคที่ได้ประโยชน์จาก thiazide เช่น edema, osteoporosis, Ca nephrolithiasis with hypercalciuria) โดยแนะนำ chlorthalidone, indapamide มากกว่า HCTZ

·      Uncontrolled HT (ยืนยันว่ากินยา วัดถูก และไม่ใช่ white coat effect) ถ้าเพิ่มขนาดยาตัวแรกถึงครึ่งหนึ่งแล้วให้เพิ่มยาตัวที่สอง ถ้ายังไม่ดีเพิ่มตัวที่สาม (ACEI/ARB, CCB, thiazide)

 

Treatment-resistant HT

·      คือ ใช้ยา 3 อย่างในขนาดค่อนสูงแล้วยังคุม BP ไม่ได้ (มี diuretic) [ถ้าเกิดจากปัจจัยอื่น (ไม่กินยา, วัดไม่ถูก, white coat) เรียกว่า pseudoresistance HT] กลุ่มนี้ต้องประเมิน primary aldosteronism, renal artery stenosis, CKD, OSA, และที่พบน้อย (pheochromocytoma, Cushing’s syndrome, aortic coarctation) ได้แก่ตรวจ BUN, Cr, electrolytes, glucose, UA, morning plasma aldosterone concentration (PAC) + plasma renin activity (PRA); 24-h urine for Na, CCr, aldosterone excretion

·      กรณีใช้ HCTZ อยู่ ถ้า GFR > 30 ให้เปลี่ยนมาเป็น chlorthalidone หรือ indapamide และ add loop diuretic ถ้ามี hypervolumia (edema); แต่ถ้า GFR < 30 ให้เปลี่ยนหรือเพิ่มขนาด loop diuretic (ยกเว้นมี hypovolemia)

·      Add mineralocorticoid receptor antagonist (spironolactone, eplerenone) หรือถ้าให้ไม่ได้ให้ potassium-sparing diuretic (amiloride, triamterene)

·      ยาตัวที่ 5 เลือกยาโดยดูปัจจัยอื่นๆ เช่น beta-blocker (ถ้า HR > 70 bpm), alpha-1 antagonist (doxazosin), direct vasodilator (hydralazine, minoxidil)

 

Isolated systolic HT (SBP > 160 mmHg + DBP < 90 mmHg)

·      ค่อยๆลด BP ใน 2-4 เดือน สิ่งสำคัญ คือ การลดเกลือ ลดน้ำหนัก แนะนำยา 1 ชนิด (ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้อื่นและถ้าสูงไม่มากให้เริ่มด้วย thiazide หรือ long-acting CCB ถ้าสูงกว่าเป้า > 10/5 mmHg ให้เริ่มด้วย long-acting CCB และอาจเพิ่มตัวที่ 2 ภายหลัง คือ long-acting ACEI/ARB) การให้ยามักโดนจำกัดด้วย orthostatic/postprandial hypotension

 

การพิจารณาหยุดยา anti-HT

·      ในรายที่คุมได้ดี > 1 ปี ถ้ายา long half-life เปลี่ยนมากินวันเว้นวัน ถ้ายา short half-life ให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง ติดตาม BP ทุก 2-4 สัปดาห์ (หรือวัด BP ที่บ้าน) ถ้า BP ดีตลอด 1-3 เดือนให้หยุดยา แล้วติดตาม BP อีก 1-3 เดือน; ยาที่ห้ามหยุดทันที (fatal withdrawal syndrome) ได้แก่ short-acting beta blocker, alpha-2 agonist

 

ACEI/ARB/

·      ACEI/ARB เป็นยาที่แนะนำใน HFrEF, proteinuric CKD, post MI และมีการเสริมฤทธิ์กับ diuretic และการลด sodium และช่วยลดการเกิด hypokalemia, hyperuricemia จาก diuretic; Direct renin inhibitor (aliskiren) มีประสิทธิภาพในการลด BP ได้ใกล้เคียงกัน ยาทั้ง 3 ชนิดไม่ควรใช้ร่วมกัน

·      Renal effects ซึ่ง angiotensin II จะทำให้เกิด vasoconstriction ของ efferent > afferent (ทำให้ intraglomerular pressure เพิ่มขึ้น) ซึ่ง ACEI จะไปทำให้ angiotensin II ลดลง จะเกิดปัญหาทำให้ intraglomerular pressure ลดลงในคนที่มี hypovolemia, bilateral renovascular disease (bilateral renal artery stenosis, hypertensive nephrosclerosis), หรือ systemic vasculitis ซึ่งจะสงสัยถ้า Cr เพิ่มขึ้น > 30% ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มยา

·      ACEI side effects เกิดผลข้างเคียงจากการลดลงของ angiotensin II ได้แก่ hypotension, AKI, hyperkalemia, pregnancy problems; โดยต้องหยุดยาถ้า uncontrolled hyperkalemia หรือ CCr เพิ่ม > 30% ภายใน 6-8 สัปดาห์; และผลข้างเคียงจาก kinin เพิ่มขึ้น ได้แก่ cough, angioedema, anaphylatoid reaction

·      ARB side effects พบ cough, angioedema น้อยกว่า แต่ hypotension มากกว่า ถ้า dry cough แก้ไขโดยหยุดยา หรือลดขนาดยาลง

·      ห้ามให้ในคนท้อง โดยเฉพาะ 2nd-3rd trimester (ทำให้เกิด oligohydramnios) เฉพาะฉะนั้น ถ้าช่วงที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือประจำเดือนมาช้าไป 2 วันให้หยุดยา

·      ดูเรื่อง ACEI induced angioedema

 

CCB side effects

·      Dihydropyridine CCB เด่นเรื่อง vasodilator อาจทำให้ headache, lightheadedness, flushing, dose-dependent peripheral edema แก้ไขโดย ลดขนาดยา เปลี่ยนยา หรือให้คู่กับ ACEI/ARB

·      Non-dihydropyridine CCB เด่นเรื่อง chronotropic และ inotropic effect พบผลข้างเคียง ได้แก่ constipation, bradycardia, worsening CO จึงไม่ควรให้คู้กับ beta-blocker, หรือใน HFrEF, SSS, second/third AV block

·      การใช้ CCB ระยะยาวอาจทำให้เกิด gingival hyperplasia; short-acting CCB อาจเพิ่มความเสี่ยงและอัตราตายต่อ AMI และเพิ่มความเสี่ยงต่อ cancer (โดยเฉพาะ CA breast) และ GIB

 

Diuretic

·      ยากลุ่ม thiazide (chlorthalidone, indapamide) จะลด BP ได้ดีกว่า loop diuretic ใน normal renal function และมีประสิทธิภาพเท่ากันใน CKD; ไม่ทราบกลไกแน่นอน แต่จะไม่ได้ผลในคนกิน high-salt diet โดย BP เริ่มลดภายใน 1 สัปดาห์ ค่อยๆลดใน 12 สัปดาห์ แนะนำ chlorthalidone 12-5-25 mg/d หรือ indapamide 1.25-2.5 mg/d (ลด CVD event ซึ่ง HCTZ ไม่ลด และการให้ยาขนาดสูงกว่านี้ไม่ได้ผล เพราะทำให้ fluid loss มากขึ้น จะไปกระตุ้น renin-angiotensin system)

·      ผลข้างเคียง ได้แก่ hypokalemia, hyponatremia, hyperuricemia, hyperglycemia, hyperlipidemia, hypomagnesemia; ลดการเกิด hypokalemia โดยให้ ACEI/ARB, spironolactone, amiloride ร่วมด้วย หรือการกิน low-salt diet; เพิ่มความเสี่ยงต่อ SCC of lip, nonmelanoma skin cancer, sexual dysfunction, sleep disturbance

·      แนะนำให้ตรวจ Na, K, Cr ภายใน 1-2 สัปดาห์ และที่ 6-12 เดือน หรือไม่เพิ่มขนาด หรือมีอาการ

 

Anti-HT and withdrawal syndrome

·      พบได้ใน short-acting clonidine, short-acting beta blocker ถ้าต้องหยุดยาให้ค่อยๆลดลงทุก 2-3 วัน

 

Anti-HT and DM

·      ถ้ามี macroalbuminuria (> 300 mg/d) ให้ ACEI/ARB (รวมถึง microalbulinuria แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่าช่วย) แต่ถ้าไม่มี albuminuria ให้เริ่มด้วย ACEI/ARB หรือ CCB (กลุ่ม diuretic เพิ่ม glucose) ถ้า BP สูงกว่าเป้าหมาย > 20/10 mmHg ให้ ACEI/ARB + long acting dihydropyridine CCB ; ถ้าให้ ACEI/ARB ไม่ได้ ให้ CCB + diuretic ถ้ามี albuminuria ให้เลือก nondihydropyridine CCB (diltiazem, verapamil) เพราะช่วยลด albuminuria

·      ถ้ามี MI ภายใน 3 ปี หรือ HF แนะนำ beta-blocker

 

Anti-HT and HF

·      HFrEF ควรให้ ACEI/ARB + beta-blocker + mineralocorticoid receptor antagonist; ถ้ามี pulmonary/peripheral edema ให้ diuretic; HFpEF ไม่มียาจำเพาะ

 

Anti-HT and asthma/COPD

·      Beta-blocker ทำให้ airway reactivity มากขึ้นและยับยั้งผลของ beta-agonist ใน asthma แต่ไม่มีผลใน COPD

·      ACEI/ARB อาจทำให้ cough จะสับสนการอาการของโรคเดิม

·      Diuretic อาจทำให้เกิด hypokalemia เมื่อใช้ร่วมกับ beta-agonist (K shift) และ corticosteroid (urine K loss) และทำให้เกิด metabolic alkalosis อาจไปกด ventilatory drive; สามารถให้ HCTZ 12.5-25 mg/d ได้อย่างปลอดภัย

·      CCB โดยเฉพาะ dihydropyridine CCB (nifedipine, nicardipine) เป็นยาแนะนำ เพราะช่วยลด bronchoconstriction, ลด mast cell degranulation, และเสริมฤทธิ์ beta-agonist

 

Anti-HT and statin

·      Thiazide, atenolol, metoprolol, propranolol อาจส่งผลให้ lipid level เพิ่มขึ้น แต่ไม่ควรนำมาพิจารณาให้หรือหยุดยา ส่วนยา anti-HT ตัวอื่นไม่มีผลหรือมีผลดีต่อ lipid level; Statin ช่วยลด BP ได้เล็กน้อย

 

Anti-HT and CKD progression

·      ACEI และ ARB ช่วยลด secondary kidney injury จากการลด intraglomerular pressure (ลด albuminuria) แต่ยามีบางตัวเพิ่ม intraglomerular pressure ได้แก่ hydralazine, dihydropyridine CCB (nifedipine, amlodipine)

 

Anti-HT and stroke prevention

·      TIA ให้เริ่ม anti-HT ทันที; acute ischemic stroke ที่ neurologically stable ให้ anti-HT หลัง 24-48 ชม.; ยาที่แนะนำไม่ต่างจาก HT ทั่วไป อาจให้ ACEI, ARB, CCB, diuretic แนะนำค่อยๆลด BP ลง เช่น 10% ต่อวันจนถึงเป้าหมาย

 

Anti-HT and pregnancy/postpartum

·      ใน pregnancy ปรับเกณฑ์ HT เป็น mild > 140/90, moderate > 150/100, severe > 160/110

·      Severe HT ต้องเริ่มรักษาทันที (ภายใน 30-60 นาที) แนะนำ IV labetalol, IV nicardipine, IV hydralazine รองมาคือ PO nifedipine ลด MAP ไม่เกิน 25% ใน 2 ชม. เป้าหมาย BP 130-150/80-100 mmHg

·      Chronic HT (BP > 140/90 เกิน 2 ครั้งก่อน GA 20 wk) หรือ new-onset HT (หลัง GA 20 wk + BP > 140/90 mmHg ถ้ายังไม่คลอดในหลายวัน) +/- new-onset BP 130-139/80-89 mmHg ที่มีอาการ หรือ baseline BP ต่ำๆ (< 90/75) แนะนำให้ยา labetalol หรือ nifedipine extend-release และ add hydralazine +/- methyldopa (ไม่ค่อยได้ผล) ถ้ายังไม่ถึงเป้าหมาย < 140/90 mmHg

·      Postpartum BP มักสูงสุดที่ 3-6 วันหลังคลอด เริ่มให้ยาถ้า BP > 140/90 mmHg ในวัน D/C ถ้ามี edema อาจให้ furosemide 20 mg PO OD-BID x 5 วัน ให้วัด BP ทุกวัน x 3 วัน และไม่เกิน 7-10 วันหลังคลอด ค่อยๆหยุดยาหลัง 3 สัปดาห์ (ผลจาก pregnancy มีอยู่ 6-12 สัปดาห์) และติดตามว่ามี chronic HT หรือไม่

 

Perioperative management of HT

·      ช่วง induction ของ anesthesia จะทำใหเกิด sympathetic activation ทำให้ BP เพิ่มขึ้น 20-30 mmHg และ HR เพิ่มขึ้น 15-20 bpm (ใน untreated HT เพิ่มได้ถึง 90 mmHg และ 40 bpm) แนะนำให้กินยา HT ต่อจนถึงเช้าวันผ่าตัด ในรายที่หลังผ่าตัดแล้ว SBP > 180 mmHg (โดยที่แก้ไขปัญหาอื่นแล้ว เช่น pain, hypoxia, hypercapnia, hypervolumia, bladder distention) ต้องให้ IV anti-HT แนะนำ labetalol หรือ nicardipine (ในรายที่ไม่ได้เป็น HT เดิม เมื่ออาการคงที่และ BP ได้ตามเป้า > 24 ชม.ให้หยุดยาได้)

 

Etiology

·      Dialysis ให้วัด home BP BID x 4 วัน (วันที่ไม่ได้ทำ dialysis) เดือนละครั้ง หรือ median intradialytic BP > 140/80 mmHg (คือ วัดวันพุธ); การรักษา ให้ลด target dry weight ช้าๆ ถ้าให้ยาแนะนำ atenolol 25 mg (max 100 mg) PO x 3 ครั้ง/สัปดาห์ (ถ้า peritoneal dialysis ให้ OD) หยุดเพิ่มยาถ้า HR < 50/min และลดยาเมื่อมีอาการหรือ HR < 40/min ยาตัวที่ 2, 3, 4 คือ CCB (amlodipine), ACEI/ARB, minoxidil (ให้หา U/D cause ก่อน)

·      Acute glomerular เกิด HT จาก volume expansion รักษาโดยให้ diuretic

·      Acute vascular disease (vasculitis, scleroderma) เกิด HT จาก ischemic-induce RAS รักษาโดยให้ ACEI

·      CKD เกิด HT จาก sodium retention + RAS + sympathetic nervous system; รักษา ยาที่แนะนำตัว 1-2 คือ ACEI/ARB (ถ้ามี proteinuria > 500-1000 mg/d) หรือ loop diuretic (ถ้า edema แต่ไม่มี proteinuria) ตัวที่ 3, 4 คือ non-dihydropyridine CCB (diltiazem, verapamil), mineralocorticoid receptor antagonist (spironolactone, eplerenone); โดนแนะนำให้มียาตัวหนึ่งกินก่อนนอน (ที่ไม่ใช่ diuretic)

·      NSAID จะเพิ่ม BP (ลด sodium excretion) และลดผลของ anti-HT (แต่ aspirin low dose ไม่มีผลกับ BP) แนะนำให้ลด sodium, monitor BP และ kidney function; Paracetamol อาจเพิ่ม BP

·      Hormone contraceptive พบว่า estrogen เพิ่ม BP ในบางราย (RAS) ส่วน progesterone ไม่มีผล ในคนอายุ > 40 ปี + HT แนะนำ progestin-only contraceptive หรือ non-hormone (เช่น copper IUD)

·      Erythropoiesis-stimulating agents ทำให้ BP เพิ่ม แก้ไข้โดยให้เพิ่ม Hb ช้าๆ แต่ตั้งเป้าหมาย Hb แค่ 10-11.5 g/dL ถ้าต้องให้ยาแนะนำ dialysis หรือ diuretic

·      Kidney transplant ให้วัด BP วันละครั้ง x 3 เดือน เป้าหมาย BP < 130/80 ถ้า BP สูงขึ้น ให้ดูเรื่อง volume status, allograft function, immunosuppressive regimen, และ TRAS (renal artery stenosis) โดยทำ duplex Doppler US, CTA, MRA; การรักษา ทำ life style modification, ยาที่แนะนำ คือ dihydropyridine CCB, ถ้ามี TRAS อาจทำ percutaneous balloon angioplasty

·      ADPKD เกิดจาก cyst ไปกดทำให้เกิด focal ischemia แล้วกระตุ้น RAS แนะนำให้ ACEI/ARB ในการลด BP; ยาที่เป็นตัวเลือกท้ายๆ คือ CCB เพราะทำให้ cyst เพิ่มขึ้น มีเป้าหมายในการลด BP เหมือนคนทั่วไป แต่การตั้งเป้า BP ต่ำๆจะช่วยลด kidney volume และมี cardiovascular benefit

·      Low birth weight เชื่อว่า kidney ยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้เกิด compensatory hypertrophy + intraglomerular HT นำไปสู่ glomerular sclerosis นอกจากนี้การที่หลังคลอดน้ำหนักขึ้นเร็วจาก overfeeding ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ทำให้เกิด obesity, insulin resistance, endothelial dysfunction

 

End-organ dysfunction

·      Hypertensive nephrosclerosis คือ คนที่เป็น chronic HT และตรวจพบ proteinuria โดยที่ normal urine sediment และมี small kidney มักจะมี retinopathy และ LVH ร่วมด้วย; การรักษา HT ช่วยชะลอการดำเนินโรคได้ ให้ ACEI/ARB ใน proteinuric CKD

·      LVH and arrhythmia ยาที่ช่วยให้ LVH regression ได้แก่ enalapril, atenolol, verapamil แต่ HCTZ ไม่ช่วย

 

Hypertensive emergency

·      คือมีการที่ BP สูงขึ้นเฉียบพลัน ร่วมกับมี end-organ damage สงสัยในรายที่มีมาด้วย acute head injury, neurological symptoms (generalized เช่น สับสน ชัก ตามัว หรือ focal); fresh flame hemorrhage, exudate (cotton-wool spots), หรือ papilledema; N/V, chest pain, acute severe back pain, dyspnea, pregnancy, หรือใช้ยาที่กระตุ้น hyperadrenergic state

·      w/u ที่สัมพันธ์กับ S&S ได้แก่ ECG, CXR, UA, UPT, Cr, electrolytes, hs-troponin, CT/MRI brain, CTA/MRA/echocardiography

·      การรักษา ส่วนใหญ่ให้ลด MAP 10-20% ในชั่วโมงแรก หลังจากนั้นค่อยๆลดให้ได้รวม 25% ใน 23 ชม. ยกเว้นacute ischemic stroke (ไม่ลดต่ำกว่า 220/120 mmHg หรือ 185/110 mmHg ในคนที่ให้ reperfusion), acute aortic dissection (ลดให้ได้ SBP 100-120 ใน 20 นาที), และ spontaneous hemorrhagic stroke (ลดอย่างรวดเร็ว)

o   Nitrate: Nitroglycerine ประสิทธิภาพต่ำกว่าตัวอื่น แต่ได้ประโยชน์ใน symptomatic coronary disease และ HT หลัง CABG

o   CCB: Nicardipine ประสิทธิภาพดีเทียบเท่า nitroprusside แต่ปลอดภัยกว่า

o   Dopamine-1 agonist: Fenoldopam ข้อดี คือ ช่วยเพิ่ม kidney perfusion ได้ประโยชน์ใน kidney impairment

o   Adrenergic-blocking agents: Labetalol ออกฤทธิ์เร็ว (< 5 min) แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่า สามารถให้เป็น IV bolus ได้ นิยมใน active coronary disease เพราะไม่เพิ่ม HR แต่ให้หลีกเลี่ยงใน asthma, COPD, HF, bradycardia, heart block, และต้องให้ alpha-blocker ก่อนใน hyperadrenergic state

·      หลังจากคุม BP ได้ตามเป้าหมาย 8-24 ชม. ให้เริ่มยากิน anti-HT และค่อยๆหยุดยา IV anti-HT และกลุ่มนี้มักมี secondary HT

Hypertensive retinopathy and Hypertensive encephalopathy

·      มักพบใน longstanding, uncontrolled HT, และมักเพิ่งหยุดยามาไม่นาน โดย Hypertensive retinopathy มักไม่มีอาการ ตรวจพบ retinal hemorrhage, exudate, papilledema; Hypertensive encephalopathy มีอาการจาก cerebral edema มาด้วยปวดศีรษะแบบค่อยเป็นค่อยไป คลื่นไส้ ตามด้วยกระสับกระส่าย สับสน ถ้าไม่ได้รักษาอาจมี seizure, coma ได้ อาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังลด MAP 10-15%; ทั้งสองภาวะนี้มักจะมี acute hypertensive nephrosclerosis (AKI, hematuria, proteinuria)

·      ควรทำ imaging ในรายที่มี severe HT + neurologic symptoms ซึ่งถ้าทำ MRI with T2 อาจพบ white matter edema ที่ parieto-occipital region (reversible posterior leukoencephalopathy syndrome) หรือ pontine abnormalities (hypertensive brainstem encephalopathy)

·      การรักษา ลด MAP อย่างรวดเร็ว 10-15% ใน 1 ชม. แต่ไม่เกิน 25% ในวันแรก หลังจากให้ IV anti-HT 8-24 ชม.ให้เริ่ม PO anti-HT แล้วจึง taper IV anti-HT ลง

Spontaneous ICH (ดู ergoldbook)

·      ถ้า SBP 150-220 ให้ลด SBP < 140 mmHg ทันที แต่ถ้า SBP > 220 ให้ลดลง < 220 ทันที หลังจากนั้นค่อยๆลดมาที่ SBP 140-160 mmHg ในหลายชั่วโมง

Acute aortic dissection (ดู ergoldbook)

·      อาจคัดกรองในรายที่มีอาการ chest pain ด้วย D-dimer (less likely ถ้า < 500 ng/mL) หรือ CT angiography ในรายที่สงสัย (TEE ในรายที่ unstable); การรักษาใน type B มีเป้าหมายให้ HR < 60/min + BP < 120/80 mmHg และพิจารณาทำ endovascular intervention โดยเฉพาะใน complicated case; ทำ MRI ที่ 3, 6, 12 เดือนและปีละครั้ง หา genetic disorder ในรายที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน (severe HT, trauma, pregnancy)

 

Severe asymptomatic HT (hypertensive urgencies)

·      คือ severe HT (BP > 180/120 mmHg) โดยที่ไม่มีอาการผิดปกติ อาจมีปวดศีรษะเล็กน้อย ให้ลด BP ลงในหลายชั่วโมง-หลายวัน เป้าหมายระยะสั้น คือ < 160/100 หรือไม่เกิน 25-30% เริ่มจากการให้พักอยู่ห้องเงียบๆ ในรายที่ต้องการลดเร็วเป็นหลักชั่วโมงให้ clonidine หรือ captopril ในรายที่มีความเสี่ยงต่อ CVD (DM, CAD, prior stroke) อาจ admit สังเกตอาการ หรืออย่างน้อยสังเกตอาการ 2-3 ชม.ว่า BP stable

 

 

Metabolic syndrome

·      คือ การที่มี metabolic risk factor (abdominal obesity, hyperglycemia, DLP, HT) ร่วมกับ DM type 2 และ CVD; การรักษาที่สำคัญ คือ การลดน้ำหนัก และเพิ่มการออกกำลัง ได้แก่ กิน Mediterranean หรือ low-fat diet และทำ aerobic + resistance training

 

Secondary HT

·      ได้แก่ renovascular HT, primary kidney disease, primary aldosteronism, OCP, pheochromocytoma, Cushing’s syndrome, sleep apnea syndrome, coarctation of the aorta

·      ควรตรวจหา secondary HT ใน severe/resistant HT, acute rise BP ในคนที่ BP stable มาก่อน, อายุ < 30 ปี (ไม่มีประวัติครอบครัว ไม่อ้วน), hypertensive emergency

Renovascular HT

·      สงสัยในรายที่ Cr rising > 50% ภายใน 1 สัปดาห์หลังให้ ACEI/ARB/direct renin inhibitor, atrophic/asymmetry kidney size, recurrent flash pulmonary edema with impaired kidney function, abdominal bruit แต่จะตรวจเพิ่มเติมในบางราย ได้แก่ failure of optimal medical therapy, progressive kidney impairment, recurrent flash pulmonary edema, หรือในคนอายุน้อยที่ไม่ต้องการกินยาไปตลอด

·      ตรวจ duplex Doppler US, CTA, MRA แต่โอกาส false negative โดยเฉพาะใน intrarenal renal artery stenosis ซึ่งพบบ่อยใน fibromuscular dysplasia ในรายที่ผลไม่ชัดเจน หรือ negative แต่ยังสงสัยมากให้ทำ renal arteriography

·      Ischemic nephropathy เกิดเมื่อมี vascular occlusion 70-80% ทำให้เกิด cortical hypoxia ปกติจะมาด้วย progressive GFR reduction + (normal UA, no proteinuria) + atherosclerotic risk + ประวัติที่สงสัย renovascular HT (ด้านบน) แล้วส่งตรวจ imaging; การรักษา นอกจากให้ยา anti-HT ยังเน้นป้องกัน ASCVD ส่วนน้อยที่ไปทำ PTA (occlusion > 60% + potential to restore kidney function [เช่นดู renal resistive index])

 

Fibromuscular dysplasia

·      FMD ส่วนใหญ่พบที่ renal artery, internal carotid, และ vertebral artery รองมาคือ visceral, external iliac artery; โดย 90% เป็นเพศหญิง แบ่งเป็น multifocal FMD (common) และ focal FMD มาด้วย HT, headache, pulsatile tinnitus, neck pain, cervical bruit

·      สงสัยใน HT + ผู้หญิงอายุ < 60 ปี, carotid bruit ในคนอายุ < 60 ปีที่ไม่มี atherosclerosis risk, severe/persistent headache, pulsatile tinnitus, TIA/stroke ในคนอายุ < 60 ปีที่ไม่มี atherosclerosis risk, peripheral/coronary dissection, visceral/carotid/vertebral/intracranial artery aneurysm, aortic aneurysm ในคนอายุ < 60 ปี

·      w/u head-to-pelvic CTA/MRA; DDx กับ atherosclerosis (อายุมาก, มี risk), vasculitis (มี anemia, thrombocytopenia, elevated ESR/CRP)

·      แนะนำยาแรก คือ ACEI/ARB และทำ revascularization ในคนอายุน้อย, resistant HT, failure of medical control, bilateral FMD, unexplained progressive kidney impairment (ischemic nephropathy) โดยทำ percutaneous transluminal angioplasty (PTA) หลังจากนั้นติดตาม Cr q  6 เดือน x 2 ปี แล้วทุก 1 ปี (ถ้าไม่ได้ทำ F/U Duplex q 12 เดือน)

 

 

Primary aldosteronism

·      สาเหตุ ได้แก่ aldosterone-producing adenomas (APAs), bilateral idiopathic hyperaldosteronism (IHA), และที่พบน้อย เช่น familial hyperaldosteronism (FH) เนื่องจากเป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อย มีเกณฑ์ที่แนะนำให้ตรวจหา ถ้ามี HT ร่วมกับ hypokalemia (spontaneous, diuretic-induced), SBP > 150 mmHg หรือ DBP > 100 mmHg หรือ drug-resistant HT, adrenal incidentaloma, sleep apnea, atrial fibrillation, FHx (early-onset HT/stroke < 40 ปี, first degree relative with primary aldosteronism); ตรวจ (plasma renin activity [PAC] หรือ plasma renin concentration [PRC]) + plasma aldosterone concentration [PAC] บางกรณีต้องยืนยันด้วย aldosterone suppression test หลังจากนั้นทำ adrenal CT

 

Pheochromocytoma

·      อาการ triad ได้แก่ episodic headache, sweating, tachycardia ร่วมกับมี HT; มี syndrome หลายอย่างที่สัมพันธ์กับ pheochromocytoma ได้แก่ Von Hippel-Lindau (10-20%), MEN2 (50%), NF1 (3%), familial paraganglioma

·      การรักษา ผ่าตัด (laparoscopic adrenalectomy) ก่อนผ่าให้ alpha-blocker แนะนำ phenoxybenzamine หลังจากนั้นให้ beta-blocker เริ่มขนาดต่ำๆ วันแรกให้ propranolol 10 mg PO q 6 h หรือ metoprolol 12.5 mg PO BID วันต่อมาเปลี่ยยเป็น long-acting ให้เป้าหมาย HR 60-80/min

 

Paroxysmal HT (pseudopheochromocytoma)

·      คือ คนที่มี abrupt severe elevation ของ BP ร่วมกับมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ มึนศีรษะ เหงื่อแตก โดยไม่มี emotional distress นำมาก่อน (แยกจาก labile HT) แต่อาจทำให้มี panic ตามมา และตรวจไม่พบ pheochromocytoma มักพบลักษณะนิสัยแบบ repressive coping style

·      การรักษา ถ้าอาการไม่มากและ BP  < 230/110 และไม่มี comorbidity สามารถรักษาที่ OPD หรือกลับบ้านได้ (clonidine หรือ alprazolam PRN); ที่ ER มักให้ IV alpha + beta-blocker (labetalol) + short-acting anxiolytic (alprazolam) หรือให้ PO clonidine + PO alprazolam

·      ใน recurrent paroxysms ที่มี severe BP elevation หรือมีอาการ หรือมี comorbidity แนะนำให้ antidepressant ในการป้องกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น