Influenza
- พบการระบาดในช่วงหน้าหนาวในประเทศเขตอากาศอบอุ่น (ต.ค.ถึงมี.ค.ในซีกโลกเหนือ และเม.ย.ถึงก.ย. ในซีกโลกใต้)
ส่วนประเทศเขตร้อนจะพบการติดเชื้อตลอดปี โดยสูงสุดช่วงที่อากาศเย็นลงและช่วงหน้าฝน
- Influenza A แบ่งชนิดตามโปรตีน 2 ชนิดที่ผิว คือ hemagglutinin (HA: H1, H2, H3) และ neuraminidase
(NA: N1, N2) ซึ่งการกลายพันธ์จะเรียกว่า antigenic drift
(minor HA หรือ NA mutation) ซึ่ง antibody
จะจับได้ไม่ค่อยดี และ antigenic shift (major HA หรือ NA mutation) ทำให้เกิด novel influenza
A บางครั้งเกิดจากการติดจากสัตว์มาคน ทำให้เกิด pandemic เพราะคนไม่มีภูมิต้านทานต่อ novel virus
- Influenza B แบ่งเป็น B/Yamagata และ B/Victoria พบเฉพาะในคน มีการเปลี่ยนแปลงช้า
อาการ
- ระยะฟักตัว 1-4 วัน มาด้วยไข้สูงเฉียบพลัน ไอแห้ง
ปวดเมื่อยตัว ส่วนอาการอื่นๆเหมือนกับไข้หวัดทั่วไป แต่ในคนสูงอายุอาจมาด้วยอาการสับสน
ในเด็กอาจเป็น > 1 สัปดาห์
- ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ bacterial pneumonia (เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังเป็น
influenza มักเหมือนว่าไข้ลงแล้วกลับขึ้นมาใหม่ ไอมีเสมหะ
เสมหะเป็นหนอง), cardiac (MI, myocarditis, pericarditis), CNS, myositis,
rhabdomyolysis, concomitant infection
- การวินิจฉัย ตรวจ molecular assay (NAAT) ในรายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
และในรายที่ admit
- กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ < 5 ปี,
> 65 ปี, pregnancy (+ 2 wk. post-partum), nursing home,
asthma, neurologic/neurodevelopmental conditions, chronic lung disease, heart
disease, blood disorders, endocrine disorders, kidney disease, liver disorders,
metabolic disorders, immune disease, obesity BMI > 40 (> 140% of 95th
percentile)
- ในรายที่สงสัย pneumonia (ไข้ > 3-5 วัน ไข้ขึ้นใหม่ อาการแย่ลง abnormal lung sound) แนะนำให้ตรวจ CXR, COVID-19, sputum G/S, C/S, H/C, nasal MRSA PCR, S. pneumoniae urine antigen, Legionella testing
- Second bacterial coinfection (pneumonia, bacteremia) ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจาก S. pneumoniae, S. aureus อาจมีอาการรุนแรงและแย่ลงอย่างรวดเร็วได้
การรักษา
- รักษาตามอาการ ได้แก่ hydration, paracetamol, NSAID
- Antiviral แนะนำ oseltamivir หรือ peramivir (ในรายที่กินไม่ได้) ในรายที่อาการหนัก หรือเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หรืออยู่กับคนที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน หรือไม่มีความเสี่ยงแต่สามารถให้ยาได้ภายใน 48 ชม. (ช่วยลดระยะเวลาของโรคได้ประมาณ 1 วัน)
- Zanamivir และ Boloxavir ไม่ควรให้ใน severe influenza
- Empirical ATB ใน respiratory failure, hemodynamic instability, ไข้กลับขึ้นใหม่ หรืออาการไม่ดีขึ้นใน 3-5 วันหลังให้ antiviral และ supportive care โดยให้ยาที่คลุมเชื้อ S. pneumoniae, S. aureus เช่น ceftriaxone, levofloxacin, หรือถ้ามี necrotizing pneumonia ให้คลุม MRSA (vancomycin, linezolid)
- แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและล้างมือ หยุดงานหรือโรงเรียนอย่างน้อย 24 ชม.หลังไข้ลงและอาการดีขึ้น
Antiviral prophylaxis
- แนะนำให้ในรายที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจาก influenza และยังไม่ได้วัคซีน
หรือให้วัคซีนไม่ได้ หรือวัคซีนอาจจะไม่ได้ผล (mismatch vaccine Ag and
virus strain, immunosuppression) รวมถึงในคนที่ใกล้ชิดกับคนกลุ่มนี้ที่ใช้ยาป้องกันไม่ได้
- ให้ยา oseltamivir 75 mg PO OD x 7 วัน (หรือ zanamivir 10 mg OD x
7 วัน) ภายใน 48 ชม.หลังสัมผัสเชื้อ
Influenza vaccine
- สายพันธุ์ของ influenza virus ที่จะถูกเลือกนำมาทำวัคซีน
เอามาจาก antigen ที่พบในช่วงท้ายของฤดูระบาดครั้งก่อน
ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ตรงกับที่ระบาดจริงในปีถัดไป
- Quadrivalent vaccine ส่วนใหญ่เป็น inactivated
influenza vaccine (IIV4) ซึ่งไม่มีข้อห้ามในคนส่วนใหญ่ (แม้ในรายที่มี egg allergy ยกเว้นในรายที่มีประวัติ allergic
reaction ต่อ influenza vaccine ควรส่งไปพบ allergy
specialist) และชนิดอื่น ได้แก่ live attenuated influenza
vaccine (LAIV4) ซึ่งให้ทาง intranasal spray แต่มีข้อห้าม
เช่น immunocompromised และ recombinant vaccine
(RIV4)
- ควรฉีดวัคซีนปีละครั้ง โดยเริ่มฉีดเร็วที่สุดเมื่อมีวัคซีน
และก่อนฤดูระบาด (ปลายต.ค.ในซีกโลกเหนือ และเม.ย.ในซีกโลกใต้)
- เริ่มฉีดวัคซีน IIV4 ได้ตั้งแต่อายุ > 6 เดือน (ส่วน LAIV4 ต้อง >
2 ปี) โดยถ้าอายุ < 8 ปีและไม่เคยได้ influenza vaccine > 2 dose ห่างกัน > 4 สัปดาห์ก่อน ก.ค. 2565 ต้องให้ 2 dose ในครั้งแรก
ส่วนในคนอายุ > 65 ปี แนะนำเป็น high-dose IIV (หรือ adjuvant IIV4, RIV4)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น