วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

Acute stress disorder, Posttraumatic stress disorder

Acute stress disorder (ASD) 

การวินิจฉัย ถ้ามีอาการเหล่านี้ > 3 วัน (มักรอ > 1 สัปดาห์) แต่ไม่เกิน 1 เดือน

  • ประสบกับเหตุการณ์หวาดกลัว สะเทือนขวัญ สะเทือนใจ ในทางใดทางหนึ่ง
    • ประสบเหตุการณ์นั้นโดยตรง
    • ได้เห็นเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับผู้อื่น
    • ได้รู้ถึงเหตุการณ์นั้นเกิดกับญาติสนิท เพื่อนสนิท
    • ได้รับรู้รายละเอียดของเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ เช่น ตำรวจที่รับรู้รายละเอียดการทารุณกรรมเด็กซ้ำๆ
  • เหตุการณ์นั้นกลับมารบกวนใจ (intrusion)
    • การคิดถึงเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมาเองซ้ำๆ
    • ฝันร้ายซ้ำๆ ที่เนื้อหาหรือความรู้สึกเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น
    • รู้สึกว่ากลับไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีก
    • รู้สึกเครียดอย่างมาก เมื่อต้องเผชิญสิ่งเร้าที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
    • มีปฏิกิริยาทางกายอย่างมาก เมื่อต้องเผชิญสิ่งเร้าที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น
  • พยายามหลีกเลี่ยงต่อสิ่งเร้าที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น (avoidance)
    • หลีกเลี่ยงความจำ ความคิด ความรู้สึก
    • หลีกเลี่ยงคน สถานที่ การพูดถึง กิจกรรม สิ่งของ สถานการณ์
  • มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และการรับรู้ (negative cognition & mood)
    • ไม่สามารถระลึกถึงไม่สามารถระลึกถึงจุดสำคัญของเหตุการณ์ที่ประสบมา
    • เกิดความเชื่อหรือความคาดหวังในแง่ลบกับตนเอง คนอื่น หรือ กับโลก เช่น “ฉันเป็นคนไม่ดี”, “จะเชื่อใครไม่ได้อีก”, “โลกนี้มีแต่สิ่งอันตราย
    • เกิดการรับรู้ที่บิดเบี้ยวไปเกี่ยวกับสาเหตุหรือผลที่ตามมาของเหตุการณ์นั้น นำไปสู่การโทษตนเองหรือโทษคนอื่น
    • มีภาวะอารมณ์ที่ไม่ดีเรื้อรัง เช่น กลัว โกรธ รู้สึกผิด ละอาย
    • ไม่สนใจร่วมกิจกรรมที่สำคัญ
    • มีอารมณ์เฉยชา เหินห่างต่อผู้อื่น
    • ไม่สามารถทำให้อารมณ์ที่ดีกลับมาได้ เช่น ไม่สามารถรู้สึกมีความสุข พอใจ รู้สึกรักได้อีก
  • อาการของความตื่นตัว (arousal symptoms) ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้น
    • หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย
    • พฤติกรรมสะเพร่า หรือ ทำให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
    • จับจ้องระวังภัยมาก (hypervigilance)
    • สะดุ้งตกใจง่าย
    • ขาดสมาธิ
    • มีปัญหาในการนอน (นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย)

อุบัติการณ์ 5-20%

การรักษา

  • Trauma-focused cognitive-behavioral therapy เป็นทางเลือกแรก มักเริ่มอย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังเผชิญอันตราย ซึ่งจะช่วยให้การปรับตัวตามธรรมชาติเกิดขึ้น (เดิมซึ่งถูกขัดขวางจากการพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ทุกข์ทรมาน) ประกอบด้วย
    • Cognitive processing therapy คือ การเปลี่ยนจากการมองโลกในแง่ลบให้เป็นกลาง
    • Exposure therapy ทำโดยให้ผู้ป่วยเล่าเรื่อง การเขียน หรือ การให้เผชิญการเหตุการณ์นั้นในชีวิตจริงอย่างปลอดภัย หรือการใช้ภาพจำลองเหตุการณ์เสมือนจริง
    • Eye movement desensitization and reprocessing therapy (EMDR) คือ การเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระตุ้นพร้อมกับการกลอกตาไปมาอย่างรวดเร็วเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจนกระทั่งความวิตกกังวลหายไป ช่วยให้สมองปรับตัวต่อเหตุการณ์นั้นได้

  • BZD ในรายที่วิตกกังวลมาก กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ให้ระยะสั้นไม่เกิน 4 สัปดาห์
  • Psychological debriefing พบว่าไม่ช่วยในการป้องกัน PTSD

 

 

Posttraumatic stress disorder

  • มีอาการเช่นเดียงกับ acute stress disorder แต่เป็นนาน > 1 เดือน
  • Dissociative subtype คือ มีอาการ dissociative symptoms เด่น ได้แก่ depersonalization, derealization ซึ่งจะมีอาการรุนแรงกว่าคนที่ไม่มี dissociation
  • PTSD มักเป็นร่วมกับโรคจิตเวช (เช่น depression, substance use disorders, somatic symptoms), โรคทางกาย (autoimmune, endocrine disease), และเสี่ยงต่อ CVD, pulmonary, dementia, และ traumatic brain injury
  • PTSD ทำให้มีปัญหาทั้งการศึกษา การทำงาน ชีวิตคู่ และมักมีคนคอยสนับสนุนน้อย และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
  • คัดกรองในกลุ่มเสี่ยง (เช่น ทหารผ่านศึก ผู้ลี้ภัย คนที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรง) และในคนที่มาด้วยอาการวิตกกังวล กลัว นอนไม่หลับ ประกอบด้วย 5 คำถาม ได้แก่ ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา (กลับ เลี่ยง กัน ชา ผิด)
    • ฝันร้ายหรือคิดถึงเหตุการณ์นั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่อยากคิดถึงมัน
    • พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่คิดถึง หรือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้หวนคิดถึงเหตุการณ์นั้น
    • คอยป้องกันตัว ระแวดระวัง ตื่นกลัว ตกใจง่าย
    • ด้านชา ไม่ยินดียินร้าย ไม่ใส่ใจคนรอบข้าง หรือ กิจกรรมรอบตัว
    • รู้สึกผิด หรือ หยุดโทษตัวเองหรือคนอื่นไม่ได้ ที่อาจเป็นสาเหตุของเหตุการณ์นั้น

การรักษา

  • Trauma-focused cognitive-behavioral therapy เป็นทางเลือกแรก
  • SSRI ในรายที่มี depression หรือ anxiety ร่วมด้วย ซึ่งจะไปขัดขวางการทำ psychotherapy เช่น sertraline 25-50 mg/d เพิ่ม 25-50 mg/d ทุก > 2 สัปดาห์ (max 250 mg/d)
  • PTSD ที่มีอาการฝันร้าย แนะนำให้ prazosin (1 g PO 30-60 นาทีก่อนนอน ค่อยๆเพิ่มเป็น 3-15 mg ในหลายเดือน)
  • ถ้ามี psychotic symptoms จะให้ SSRI + second-generation antipsychotic (risperidone 0.5 mg PO hs เพิ่ม 0.5-1 mg/wk (max 4 mg/d) หรือ quetiapine 25 mg PO hs เพิ่ม 50 mg/wk (max 800 mg/d))
  • แนะนำให้ยาที่ได้ผลอย่างน้อย 6 เดือน -1 ปี เพื่อป้องกันกำเริบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น