วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567

Delirium and acute confusional states

Delirium and acute confusional states

ภาวะเพ้อ เกิดจากโรคทางกายหรือยา ทำให้เกิดอาการสับสน ไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องหนึ่งๆได้นาน เสียการรับรู้เรื่องเวลา สถานที่ บุคคล ไม่สามารถจำเรื่องใหม่ๆได้ อาจมีภาพหลอน อาการสั่น แต่ไม่มี focal neurological deficit มักเป็นมากตอนกลางคืน มักปกติช่วงกลางวัน พบได้ 30% ของคนสูงอายุที่มานอนรพ.

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยง ให้คนไข้รับรู้วันเวลาสถานที่ ครอบครัวมาเยี่ยมสม่ำเสมอ ไม่รบกวนการนอนตอนกลางคืน เริ่มเคลื่อนไหวให้เร็วที่สุด ลดการผูกมัดให้น้อยที่สุด แว่นตาและเครื่องช่วยฟังสำหรับคนที่มีปัญหา หลีกเลี่ยงยาที่อาจกระตุ้น (BZD) รักษาการเจ็บปวด (เลือก nonpharmacologic เช่น nerve block และ nonopioid ก่อน) และโรคทางกาย

  • ยาที่อาจมีผลในการป้องกัน delirium ใน post-operative เช่น dexmedetomidine, gabapentin, melatonin

การรักษา

  • แนะนำให้ Thiamine (100-200 mg IV OD x 3-5 วัน) ใน delirium ทุกราย และหลีกเลี่ยง Physical restraint
  • รักษาโรคทางกาย ได้แก่ metabolic encephalopathy (dehydration, Na, Ca, infection, organ failure [ตับ ไต ปอด], hypoglycemia), drug toxicity, alcohol/sedative withdrawal
  • การรักษาอื่น ได้แก่ การสัมผัส คอยพูดคุยให้สบายใจ ให้รับรู้วันเวลาสถานที่โดยคนที่คุ้นเคย อาจสั่ง haloperidol 0.5-1 mg PO/IM prn for severe agitation (sedation และ hypotension น้อย) หรือถ้ามี parkinsonism แนะนำ atypical antipsychotic (เช่น quetiapine 12.5 mg PO BID, risperidone, ziprasidone, olanzapine)
  • Delirium อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนจึงจะกลับมาเป็นปกติ อาจทำให้ Alzheimer disease เป็นมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น