ตัวอย่างเคส ATLS
ผู้ชายอายุ
24 ปี
ขับรถยนต์ชนต้นไม้ สลบ มีแผลที่ศีรษะ ขาซ้ายผิดรูป มีเลือดออก หายใจเสียงครืดคราด BP
80/40 mmHg PR 130 bpm
- Preparation: แนะนำตัว แบ่งหน้าที่ในทีม ให้ทีมทำ universal precaution รับข้อมูล
- 10-second assessment (ชื่ออะไร เกิดอะไรขึ้น)
Airway:
- ประเมิน Look
(ถามมีอาการกระสับกระส่าย ง่วงซึม หายใจลำบาก มี injury หน้า-neck-larynx หรือไม่) => มี multiple facial injury + เลือดเต็มหน้า; Listen (stridor, snoring?) => มี
snoring; Feel (คลำ trachea/larynx); Adjunct (oxygen sat -> 80%)
- Mx:
- High flow oxygen + manual inline immobilization + monitor O2 saturation
- Open
airway ทำ Jaw thrust และเปิดปากดูว่ามีเลือดออก
แผลเปิด ฟันหัก หรือสิ่งแปลกปลอมหรือไม่
- Clear airway โดยการ suction => ได้เลือดเยอะ และ oxygen sat 80%
- Maintain airway อาจใส่ OPA + suction ระหว่างรอใส่ ETT ซึ่งมีข้อบ่งชี้ คือ A ไม่แน่ใจว่าแก้ UAO ได้หรือไม่หลัง suction (โจทย์ไม่ได้บอก) แต่ยังมี potential UAO (facial fracture, blood aspiration, cerebral hypoperfusion) และ B ยังไม่ maintain adequate oxygenation (oxygen sat ยังไม่ขึ้น) และอาจต้องการ assisted ventilation (โจทย์ไม่ได้บอก)
- ใส่
ETT ประเมินว่าน่าจะ difficult airway เพราะมี obstruction
(L-E-M-Obstruction-N) ตัดสินใจทำ awake intubation (เตรียมคน อุปกรณ์ ยา ใช้ video
laryngoscopy เลือก ETT no.8.0)
- โจทย์ให้ว่าใส่
ETT ไม่สำเร็จ (ถ้า 3
ครั้งเป็น failed intubation) ควร call
for help และถ้า failed ventilation (BVM แต่ O2
sat < 90%) ร่วมด้วยให้ทำ surgical cricothyroidotomy
- Step 1: ถ้าถนัดขวา ให้ยืนด้านขวาของคนไข้ คลำ cricothyroid membrane ด้วยมือซ้าย
- Step 2: กรีด horizontal ด้วย scalpel no.20 ประมาณ 1.5 ซม. ผ่าน skin, subcutaneous, และ cricothyroid membrane
- Step 3: จับ cricoid cartilage ด้วย tracheal hook และดึงไปทางปลายเท้า
- Step 4: ใส่ cuffed tracheostomy tube no.4 หรือ cuffed ETT no.6.0 ใส่ลึกประมาณ 5 ซม.หรือ 2 ซม.เลยจาก cuff
Breathing:
- ประเมิน Look
(expose neck/chest, ดู neck vein, chest rising) => asymmetrical
chest movement; Listen (ฟังปอดสองข้างที่ medial
axillar) => equal breath sound; Feel (คลำ trachea,
SQ, chest wall, เคาะปอด) => trachea midline, tender
left chest, SQ emphysema, Adjunct (CXR, eFAST, O2 sat,
capnography)
- Mx:
- สงสัย
pneumothorax left chest แต่โจทย์ว่า CXR,
eFAST ทำไม่ได้ => ใส่ ICD (28-32 Fr) เลยเนื่องจากกำลังให้ PPV อาจเกิด tension pneumothorax ได้
Circulation:
- ประเมิน Shock (ซึม สับสน มือเท้าเย็น pulse เบาเร็ว) => BP 80/40, PR 130 bpm, Bleeding, Adjuncts (NIBP, ECG monitoring, eFAST, NG/OG, Foley, CXR, film pelvis, blood test [VBG, lactate, CBC, chemistries, coagulation studies])
- Mx:
- ประเมินว่า
Shock grade III-IV เปิด IV (16-18-gauge)
ให้ warmed isotonic fluid 1 L IV load, จอง LPRC
+ FFP 4 unit, plan ตาม uncrossed match gr O PRC
ถ้าเป็นกลุ่ม minimal/no responsive, tranexamic acid 1 g IV
(ถ้าภายใน 3 ชม.)
- ตรวจหา
external + internal bleeding จากหัวถึงเท้า
- scalp LW bleeding ทำ direct manual pressure +/- Raney clips
- Open fracture left femur ทำ direct manual pressure + splint (ถอดเสื้อผ้าส่วนที่บาดเจ็บออก ใช้มือจับประคองส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่นิ่ง ตรวจ neurovascular status ก่อนและหลัง splint) พิจารณทำ traction splint (บางตำราว่า open fracture เป็น contraindication) โดยใช้ Hare traction splint หรือ Sager traction splint หรือทำ manual traction ก่อนที่จะ splint (ใช้แรงไม่เกิน 6.8 กก.) ถ้าปวดหรือทำไม่ได้ให้ splint ในท่านั้นๆแทน
Disability: ประเมิน GCS
+ lateralization
Exposure
and environment: Undress,
Log roll (ใช้คนอย่างน้อย 4 คน
ได้แก่ 1 คนทำ head + c-spine
control, 2 คน พลิกลำตัวและแขนขา และ 1 คนตรวจหลัง + PR และเอา spinal
board ออก และอาจใส่ถาดสำหรับฟิล์ม CXR และ pelvis ในช่วงนี้), warm
environment
โจทย์ให้อ่าน
film CXR, pelvis อย่างเป็นระบบ
CXR interpretation (DRSABCDE)
|
โจทย์ถ้าข้อห้ามในการทำหัตถการ
เช่น
- NG tube -> Facial
fracture (cribriform plate injury)
- Foley’s catheter -> สงสัย urethral injury (blood per meatus, high-riding
prostate, penile/scrotal/perineal hematoma; หรือจาก imaging), หรือในรายที่มี severely fracture pelvis หรือ diastasis ของ pubic symphysis ควรทำ urethrography ก่อนใส่ catheter
Consider
need for transfer ติดต่อโดยใช้ SBAR
- Situation: สวัสดีครับ
ผมนายแพทย์……จากรพ…..จะขอประสานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยชื่อ…
อายุ…..
- Background: เป็นอุบัติเหตุ…..
- Assessment:
- A: Maxillofacial injury with failed intubation s/p cricothyroidotomy
- B: Left pneumothorax with rib fracture s/p ICD
- C: Hemorrhagic shock gr III-IV s/p IV NSS 1 L + LPRC; Scalp laceration, Open fracture left femur s/p direct manual pressure + tractional splint
- Recommendation: แนะนำให้ส่งตัวไปทำ CT trauma body, consult
neurosurgeon, ENT, CVT, orthopedist
Secondary
survey + Adjuncts (ยา 3 อย่าง: ATB, analgesic,
tetanus prophylaxis)
Reevaluation
Definite
care
ประเด็นอื่นๆที่จะอยู่ในโจทย์
ได้แก่
Breathing:
- Tension pneumothorax: ทำ needle
decompression (ผู้ใหญ่ใช้ over-the-needle
catheter at 4th-5th ICS anterior to midaxillary
line ยาว 8 ซม.หรือ 5 ซม.ในคนตัวเล็ก; เด็กแทงตำแหน่ง 2nd ICS midclavicular
line) หรือถ้าไม่สำเร็จให้ทำ finger
thoracostomy แล้วจึงใส่ ICD (28-32 F)
- Open pneumothorax: ทำ 3-side dressing แล้วใส่ ICD พยายามให้ห่างจากแผลเท่าที่เป็นไปได้
- Massive hemothorax: ใส่ ICD (28-32 Fr) ที่ 5th ICS
anterior to midaxillary line; ให้ IV fluid
resuscitation + pRBC; ถ้าเลือดออก > 1,500 mL
(30% ของ total blood volume) หรือ 200
mL/h x 2-4 ชั่วโมง หรือต้องการ blood
transfusion อย่างต่อเนื่อง หรือเป็น penetrating
injury ที่ตำแหน่ง medial ต่อ nipple
line หรือ scapula (mediastinal “box”) อาจมีการบาดเจ็บต่อ great vessels, heart, หรือ hilar structure ให้พิจารณาทำ thoracotomy
(qualified surgeon)
- Tracheobronchial tree
injury (hemoptysis, cervical SQ emphysema,
tension pneumothorax, cyanosis): อาจต้องใส่ ICD >
1 อันเพราะมี air leak มาก; อาจต้องทำ fiber-optically assisted ETT ใส่ผ่านจุด injury หรือ one-lung intubation ในกลุ่มนี้ (unstable) ต้องทำ immediate operative intervention
Circulation:
- Traumatic circulatory
arrest: standard CPR -> no ROSC -> bilateral finger thoracostomy -> no
ROSC -> needle pericardiocentesis (ถ้าสงสัย) หรือ thoracotomy + pericardiotomy (qualified surgeon) -> declare
death ที่ 30 นาที + temp > 330C
- Pericardiocentesis: ดูวิธีทำ
- Intraabdominal
hemorrhage: ทำ controlled resuscitation (SBP 80-90
mmHg) ใน noncompressible hemorrhage ซึ่งจะให้ fluid resuscitation เมื่อ SBP
< 80 mmHg หรือมี decreasing mental status
- Pelvic fracture: สงสัยจาก High energy mechanism + ดู (abdominal
pain, perineal ecchymosis, leg length discrepancy, rotational deformity) / FAST
(fluid ใน pelvis) / PCT**ห้ามทำถ้า shock
หรือ obvious fracture (lateral to medial ที่ iliac crest และที่ greater
trochanters; anterior to posterior ที่ pubic
symphysis และที่ iliac crests)
- วิธีใส่
pelvic binder: ให้ internal
rotate ขาทั้งสองข้าง สอด SAM sling ใต้เข่าแล้วค่อยๆสไลด์ขึ้นไปจนถึงระดับ greater
trochanter หรืออาจสอดช่วงทำ log-roll ก็ได้ ใส่พันรอบ greater
trochanter (ระดับ buttocks) จะมีสายสีดำคล้องกับหัวเข็มขัดสีส้ม
ดึงสายสีดำและสีส้มไปคนละด้านกันจนได้ยินเสียง “กริ๊ก” แปลว่ารัดแน่นพอแล้วก็นำสายสีดำมาติดกับตีนตุ๊กแกด้านข้าง
Disability:
- ให้ tranexamic
acid (1 g IV over 10 min then 1 g over 8 h) ในผู้ป่วย moderate
TBI ที่มาภายใน 3 ชั่วโมง
- Head injury ให้ keep SBP > 100 mmHg ในคนอายุ 50-69 ปี และ SBP > 110 mmHg ในคนอายุ 15-49 ปี + >
70 ปี
Thermal
burn ร่วมกับ multiple trauma:
- Stop burning process
- Inhalation injury ต้องทำ early intubation (ใส่ ETT เบอร์ใหญ่ no. > 7.5) แม้ว่าจะยังไม่มี UAO
ข้อบ่งชี้ในการทำ early intubation ได้แก่ หน้า (ลึก), ปาก (ไหม้), (รอบ) คอ, อุด, มาก, บวม, ซึม, กลืน, หอบ, ไป
|
- CO poisoning, cyanide
poisoning (ยังไม่เจอว่าออกสอบ)
- Burn resuscitation ถ้า deep partial-full thickness > 20% BSA ให้ RLS
resuscitation คำนวณ IV volume ใน 24 ชั่วโมงแรก (แบ่งให้ 1/2 ใน 8 ชั่วโมงแรกนับจากตั้งแต่เวลาที่เกิด
และอีก 1/2 ในอีก 16 ชั่วโมงต่อมา) ปรับ rate IV ตาม UO
- ผู้ใหญ่ และเด็ก > 14 ปี: LRS 2 mL/kg/% BSA, keep U.O. 0.5 mL/kg/h หรือ 30-50 mL/h
- เด็ก < 14 ปี: LRS 3 mL/kg/% BSA, keep U.O. 1 mL/kg/h
- ทารก หรือ เด็ก < 30 kg: LRS 3 mL/kg/% BSA + D5LR at Maintenance rate, keep U.O. 1 mL/kg/h
- Electrical burn: LRS 4 mL/kg/%BSA, keep U.O. 1-1.5 mL/kg/h จนปัสสาวะใสแล้วลด IV ลงให้ U.O 0.5 mL/kg/h
Pregnancy:
- ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
เป็น difficult airway; ให้ oxygen
supplement เพราะ reserve น้อย +
oxygen consumption มาก; ใส่ ICD สูงกว่าปกติ 1 ช่อง; pelvic tilt 15-30
degree หรือ left uterine displacement ตั้งแต่
GA 20 wk, fetal cardiotocodynamometry ถ้า GA >
20 wk; abruptio placenta (ท้องแข็ง + เลือดออก);
uterine rupture (shock + ปวดท้อง + คลำ fetal
part ได้ง่าย หรืออยู่ใน axis ที่ผิดปกติ
และคลำ fundus ไม่ได้)